Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องเล่าที่สนใจ
•
ติดตาม
27 มี.ค. 2022 เวลา 15:12 • สุขภาพ
ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรับประทานอาหารอย่างไร ?
โรคเบาหวาน(Diabetes Mellitus : DM)อยู่ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง( NCDs)
ปัจจุบันมีจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลก 463 ล้านคน และยังคงพุ่งสูงอยู่ โดยการคาดการณ์ว่าปี 2588 มีจำนวน 629 ล้านคน
โรคเบาหวานเป็นได้จากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และกรรมพันธุ์
แบ่งประเภทของโรคดังนี้
1. เบาหวานประเภทที่ 1 : เป็นโรคเบาหวานตั้งแต่กำเนิด จากที่ beta cell ในตับออ่อน ทำงานผิดปกติ ไม่สามรถสร้างฮอร์โมน insulin มาดึงน้ำตาลเข้าสู่ในเซลล์ได้ ทำให้เมื่อรับประทานอาหารเข้าไป น้ำตาลยังคงอยู่ในกระแสเลือด
2. เบาหวานประเภทที่ 2 : เป็นโรคเบาหวานจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะของทอด ของมัน ขนมหวาน เครื่องดื่มที่น้ำตาลสูง
3. เบาหวานขณะตั้งครรภ์ (GDM) เกิดในขณะตั้งครรภ์มีฮอร์โมนที่ให้ insulin ทำงานไม่เพียงพอ หรือกินของหวานเยอะ แต่เมื่อคลอดลูกแล้วจะสามารถหายได้เอง หากควบคุมการรัยประทานอย่างเหมาะ แต่ถ้าไม่เด็กทารกที่คลอดออกมาตัวใหญ่ มีแนวโน้มอาจเป็นเบาหวานประเภทที่ 2 เมื่อโตขึ้นมา
4. เบาหวานจากสาเหตุอื่น : โรคกรรมพันธุ์, ยาต้านเชื้อ HIV, AID
การรักษาโรคเบาหวาน มีการใช้ยา ฉีด insulin ในการควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย
นอกจากนี้ยังต้องควบคุมการรับประทานอาหารควบคู่การรักษาจากแพทย์อีกด้วย
ค่าน้ำตาลในเลือด HbA1C < 5.7%
Fasting Plasma Glucose < 100 mg/dL
OGTT < 140 mg/dL
random plasma glucose < 140 mg/dL
1 unit insulin ต่อ 15 กรัมคาร์โยไฮเดรต( 1 คาร์บ)
ถ้าแบ่งตามหมวดหมู่อาหารดังนี้
1.
หมวดหมู่ ข้าว-แป้ง : เน้นการรับประทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ที่ให้น้ำตาลไม่สูงเกินไป เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท
2.
หมวดหมู่ เนื้อสัตว์ : เน้นรับประทานเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลา เนื้อหมูไม่ติดมัน เนื้อไก่ไม่เอาหนัง
3.
หมวดหมู่ ผัก : รับประทานผักไม่จำกัด ระวังผักที่มีแป้งมาก เช่น แครอท มะละกอ ถั่วฝักยาว
4.
หมวดหมู่ ผลไม้ : รับประทานผลไม้ที่สะอาด ที่มี GI* และ GL** ต่ำและปานกลาง มื้อละ 6-8 คำ เช่น มะม่วง กล้วย ฝรั่ง ส้ม
5.
หมวดหมู่ ไขมัน : เลือกใช้น้ำมันพืช
6.
หมวดนม : เน้นประรับทานนมสด นมจืดพร่องมันเนย หรือไขมันต่ำ เลี่ยงนมหวาน
* GI =Glycemic index ค่าดัชนีน้ำตาล
** GL = glycemic load ปริมาณอาหารที่รับประทานเข้าไปแล้วทำให้น้ำตาลขึ้นเท่ากับการรับประทานกลูโคส 1 กรัม
reference :
https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=21692&deptcode=brc
https://www.diabetes.co.uk/food/which-foods-help-diabetes.html
เบาหวาน
อาหาร
โภชนาการ
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย