30 มี.ค. 2022 เวลา 02:15 • ประวัติศาสตร์
การเดินทาง 40,000 ชั่วโมงสู่ความสำเร็จของ “ลุดวิก แวน บีโธเฟน (Ludwig Van Beethoven)”
“ลุดวิก แวน บีโธเฟน (Ludwig Van Beethoven)” คือนักดนตรีอัจฉริยะ ผู้ที่ยังคงมีชื่อเสียงจนถึงทุกวันนี้ แม้เวลาจะผ่านมานานแล้วก็ตาม
และเรื่องราวชีวิต การฝึกฝนของบีโธเฟน ยังเป็นบทเรียนที่อาจนำพาไปสู่ความสำเร็จ หากว่าเรามีความพยายามมากพอ
เรื่องราวความทุ่มเทของเขาเป็นอย่างไร ลองมาดูกันครับ
ลุดวิก แวน บีโธเฟน (Ludwig Van Beethoven)
บีโธเฟน เกิดที่เมืองบอนน์ ประเทศเยอรมนี ในปีค.ศ.1770 (พ.ศ.2313) โดยปู่ของบีโธเฟน เป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียงในชุมชน
บีโธเฟนนั้นชื่นชมและยึดถือผู้เป็นปู่เป็นแบบอย่าง และมักจะมองดูรูปของปู่อย่างชื่นชม หากแต่ผู้ที่เป็นครูคนแรกของบีโธเฟน ก็คือ “พ่อ”
พ่อนั้นต้องการให้บีโธเฟนดำเนินรอยตามครอบครัว เป็นนักดนตรี และให้บีโธเฟนเรียนดนตรีและไวโอลินตั้งแต่ยังเด็ก ซึ่งนอกเหนือจากการเรียนปกติ บีโธเฟนยังต้องมาเรียนดนตรีอีกอย่างน้อยวันละแปดชั่วโมง
2
ผู้เป็นพ่อนั้นก็ชื่นชมปู่ของบีโธเฟน และต้องการให้บีโธเฟนประสบความสำเร็จเช่นกัน พ่อต้องการให้บีโธเฟนเป็นอัจฉริยะ
แต่ในความเป็นจริง บีโธเฟนในวัยเด็กนั้นไม่เก่งดนตรีเลย เข้าขั้นแย่
การที่ลูกชายดูเหมือนจะไม่มีพรสวรรค์ ทำให้ผู้เป็นพ่อยิ่งเข้มงวดต่อบีโธเฟน และบางครั้งก็ลงโทษด้วยการเฆี่ยนตี กดดันบีโธเฟนอย่างหนัก
ต่อมาเมื่อขึ้นชั้นประถมศึกษาปีที่ห้า พ่อของบีโธเฟนก็พาบีโธเฟนไปฝากฝังกับเพื่อน ผู้ซึ่งทำงานสอนเปียโน
เพื่อนของพ่อก็เข้มงวดไม่แพ้พ่อ และอาจจะเข้มงวดยิ่งกว่าด้วย เข้มงวดจนถึงขนาดทำให้บีโธเฟนต้องเสียน้ำตาอยู่บ่อยครั้ง
ที่แย่ยิ่งกว่าก็คือ เพื่อนของพ่อนั้นเป็นโรคนอนไม่หลับ และมักจะลากบีโธเฟนออกจากที่นอน บังคับให้ซ้อมเปียโนเป็นชั่วโมงๆ กลางดึก
แต่การฝึกที่แสนทรมานและหนักหนาเกินเด็ก ก็เป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จของบีโธเฟนในเวลาต่อมา
จะเห็นได้ว่าแม้บีโธเฟน จะไม่ได้เริ่มต้นจากการที่เป็นเด็กที่มีพรสวรรค์ด้านดนตรี แต่การถูกฝึกอย่างหนัก ก็ทำให้เขาประสบความสำเร็จ
อัจฉริยะอย่างบีโธเฟน ถูกสร้างขึ้นจากประสบการณ์การฝึกกว่า 40,000 ชั่วโมง
ตัวเลข 40,000 ชั่วโมงนี้ นับตั้งแต่บีโธเฟนเริ่มฝึกฝนดนตรีตั้งแต่อายุเจ็ดขวบ และฝึกซ้อมอย่างน้อยวันละแปดชั่วโมง
การที่ต้องฝึกฝนสิ่งใดสิ่งหนึ่งซ้ำๆ เป็นเวลาทุกวัน วันละหลายชั่วโมง อาจจะดูน่าเบื่อและเสียเวลา แต่หากสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่เรารัก ย่อมไม่ใช่เรื่องเสียเวลาแน่นอน
1
แต่นอกจากการฝึกฝนอย่างหนักตั้งแต่เด็ก การเดินทางของบีโธเฟนก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เนื่องจากในเวลาต่อมา บีโธเฟนเริ่มสูญเสียการได้ยิน และหูหนวกสนิทเมื่ออายุได้ 26 ปี หากแต่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการสร้างสรรค์งานดนตรีของเขา
หลายคนชื่นชมบีโธเฟน เนื่องจากตลอดระยะเวลา 56 ปีที่มีชีวิต บีโธเฟนสร้างสรรค์ผลงานมากมาย
นักปรัชญาในอดีต เช่น “เพลโต (Plato)” ก็ได้ข้อสรุปว่า เราไม่สามารถจะได้ทุกอย่างที่ต้องการ หากไม่คิดจะเสียสละบางอย่าง การจะได้มาซึ่งอะไรซักอย่าง ก็ต้องยอมสละบางอย่างเช่นกัน
ในกรณีของบีโธเฟน ก็คือการสละเวลาส่วนตัว เพื่อมาฝึกซ้อมดนตรี และนำพาเขาไปสู่ความสำเร็จในที่สุด
ความสำเร็จย่อมต้องมาพร้อมกับการสละบางอย่าง หากเราต้องการจะประสบความสำเร็จ ก็ต้องยอมสละอะไรบางอย่าง เพียงแต่เราต้องค้นให้เจอ ว่าเราต้องการสำเร็จเรื่องอะไร และอะไรที่เราต้องยอมสละ
โฆษณา