Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
31 มี.ค. 2022 เวลา 01:08 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ความแข็งแรงของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (MAI) ปี 2564
บริษัทจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ MAI เป็นธุรกิจขนาดเล็ก มีความแตกต่างกับ SET โดย MAI มีทุน หลังระดมทุน IPO 50 ล้านบาทขึ้นไป ในขณะที่ SET มีทุนหลังระดมทุน IPO 300 ล้านบาทขึ้นไป และในปี 2564 รายได้ กำไรสุทธิ และ Leverage โดยรวมของตลาดเพิ่มขึ้น บทความนี้เราจะพาทุกท่านไปดูรายละเอียดในแต่ละส่วนกันค่ะ
📌 รายได้รวมเพิ่มขึ้นจากช่วงก่อนโควิด-19 และอุตสาหกรรมทรัพยากร และ เทคโนโลยีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ตารางที่ 1 ภาพรวมรายได้ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (MAI)
บริษัทจดทะเบียนล่าสุดมีจำนวน 180 บริษัท โดยมีสินทรัพย์รวมอยู่ที่ 2.87 แสนล้านบาท รายได้ของบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ก่อนช่วงโควิด-19 (ปี 2560-2562) เฉลี่ยอยู่ที่ 1.87 แสนล้านบาท ต่อมาปี 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดการระบาดของไวรัสอย่างรุนแรง ทำให้รายได้ลดลงเหลือ 1.79 แสนล้านบาท เทียบเป็น 96% ของช่วงก่อนหน้า
ปี 2564 แม้จะมีการเติบโตของการส่งออก ส่งผลถึงดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมและการดำเนินงานของแต่ละบริษัทจดทะเบียนในไทย แต่ภาพรวมรายได้ของบริษัทจดทะเบียนกลับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 1.78 แสนล้านบาท เทียบเป็น 95% ของค่าเฉลี่ย 3 ปีก่อนช่วงโควิด-19 (ปี 2560-2562) โดยอุตสาหกรรมที่มีรายได้ดีมาอย่างต่อเนื่อง คือทรัพยากร และ เทคโนโลยี ส่วนอุตสาหกรรมที่มีความโดดเด่นของรายได้มากเนื่องจากเพิ่มสูงขึ้นกว่าปี 2563 สูง คืออุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภค (ตารางที่ 1)
📌 กำไรสุทธิปี 2564 เพิ่มขึ้นเป็น 8.7 พันล้านบาท และอุตสาหกรรมบริการได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
ตารางที่ 2 ภาพรวมกำไรสุทธิของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (MAI)
สำหรับผลประกอบการด้านกำไรสุทธิหลังปรับเพิ่ม IPO ช่วง 3 ปีก่อนเกิดโควิด-10 (ปี 2560-2562) เฉลี่ยอยู่ที่ 6.6 พันล้านบาท
ช่วงโควิด-19 ในปี 2563 กำไรสุทธิลดลงมาเหลือ 3.4 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 52% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 3 ปี โดยอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบน้อยสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ เทคโนโลยี บริการ และ สินค้าอุตสาหกรรม ในขณะที่อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ทรัพยากร และ ธุรกิจการเงิน ซึ่งจะเห็นได้ว่าผลกำไรของอุตสาหกรรมเทคโนโลยี และ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างในตลาด MAI ตรงข้ามกับตลาด SET โดยสิ้นเชิง
ในขณะที่สิ้นปี 2564 กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 8.7 พันล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 115% ของค่าเฉลี่ย 3 ปี โดยสินค้าอุปโภคบริโภค (311%) เป็นอุตสาหกรรมที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากอย่างชัดเจน ในขณะที่บริการ (393%) และ เทคโนโลยี (198%) ยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบน้อยเป็นอันดับ 2 เช่นเดียวกับปี 2563 (ตารางที่ 2)
📌 บริษัทที่กำไรสุทธิติดลบปี 2564 ลดลงมาเหลือ 27% ของจำนวนบริษัททั้งหมด ลดจากปี 2563 ถึง 5%
ตารางที่ 3 จำนวนบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (MAI) ที่มีกำไรสุทธิติดลบ
ปี 2562 มีจำนวนบริษัทที่กำไรสุทธิติดลบอยู่ทั้งหมด 49 บริษัท คิดเป็น 27% ของจำนวนบริษัททั้งหมดในปัจจุบัน และบริษัทที่กำไรติดลบมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในปี 2563 มาอยู่ที่ 58 บริษัท (32%) เพิ่มขึ้นมา 9 บริษัท โดยจำนวนบริษัทที่ติดลบมากที่สุดอยู่ในอุตสาหกรรมบริการ และ อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง แม้ว่ากำไรสุทธิของบริการจะเพิ่มขึ้นมากกว่าค่าเฉลี่ยปี 2560-2562 ก็ตาม
ปี 2564 จำนวนบริษัทที่มีกำไรสุทธิติดลบลดลงมาอยู่ที่ 48 บริษัท (27%) ซึ่งลดลงมากกว่าปี 2562 โดยจำนวนบริษัทที่จัดอยู่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีมีกำไรสุทธิติดลบน้อยที่สุด เนื่องจากหลายบริษัทได้นำเทคโนโลยีอัจฉริยะเข้ามาใช้พัฒนาความมั่นคงและประสิทธิภาพของการดำเนินงานภายใน และยังเพิ่มประสบการณ์ให้ลูกค้าสัมผัสกับความแปลกใหม่ของธุรกิจ ซึ่งเป็นผลให้ทิศทางกำไรเป็นบวกขึ้นมา (ตารางที่ 3)
📌 Leverage เฉลี่ยในปี 2564 เพิ่มขึ้นจากช่วง 3 ปีก่อนหน้าโควิด-19 (2560-2562)
ตารางที่ 4 ภาพรวม Leverage (D/E) ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (MAI)
ด้าน Leverage พบว่า ในปี 2563 ค่าเฉลี่ย Leverage เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าหลายอุตสาหกรรม ยกเว้น ทรัพยากร บริการ และ เทคโนโลยี
ในขณะที่ปี 2564 ภาพรวม D/E ของทั้งตลาดหลักทรัพย์ เพิ่มขึ้นจาก 1.29 ในปี 2562 มาเป็น 1.62 และอุตสาหกรรมที่มี Leverage เพิ่มขึ้นมากที่สุด คือเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ส่วนอุตสาหกรรมที่ Leverage ลดลงจากปี 2562 ยังคงเป็น 3 กลุ่มเดิมกับปี 2563 (ทรัพยากร บริการ และ เทคโนโลยี) (ตารางที่ 4)
สำหรับความแข็งแรงของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ MAI ส่วนที่เป็นรายละเอียดของแต่ละหมวดธุรกิจ (หน่วยย่อยที่แบ่งจากกลุ่มอุตสาหกรรม) ถูกนำเสนอผลการวิเคราะห์ด้วยวิธีการเปรียบเทียบรายได้และอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) โดยแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ดังตารางที่ 5
ตารางที่ 5 เกณฑ์ในการจัดกลุ่มความแข็งแรงของบริษัทจดทะเบียนตามรายได้และ Net Profit Margin
📌 ความแข็งแรงของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แยกรายหมวดธุรกิจทั้ง 6 กลุ่ม
ตารางที่ 6 ความแข็งแรงของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (MAI) กลุ่มที่ 1-6
จากตารางที่ 6 พบว่า ในปี 2564 หมวดธุรกิจเทคโนโลยี สินค้าอุปโภคบริโภค และ เกษตรอุตสาหกรรม เป็นอุตสาหกรรมที่โดดเด่นทั้งด้านรายได้และอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin : NPM) โดยบริษัทที่ทำกำไรสุทธิได้มากที่สุดใน 3 หมวดธุรกิจดังกล่าว ได้แก่ DITTO (201 ลบ.) EFORL (812 ลบ.) XO (462 ลบ.) [1] ตามลำดับ
ในขณะที่หมวดธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง เป็นหมวดธุรกิจที่รายได้และกำไรติดลบมากขึ้นอย่างต่อเนื่องหากเทียบกับช่วงก่อนโควิด-19 (ปี 2562) โดยบริษัทที่อยู่ในหมวดธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างที่มีผลประกอบการน้อยที่สุด ได้แก่ PROUD (NPM: -2687.70%) TITLE (NPM: -150.01%) PSG (NPM: -141.60%) [2]
ทั้งนี้ แม้ว่าหมวดธุรกิจสินค้าอุตสาหกรรมจะมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นในปี 2564 แต่รายได้ของธุรกิจกลับลดลง ทำให้การกลุ่มความแข็งแกร่งถูกลดลำดับลงมาอยู่กลุ่ม 5 จากไตรมาส 3 ที่อยู่กลุ่ม 3 โดยบริษัทที่กำไรได้ดีที่สุด ได้แก่ FPI (329 ลบ.) ZIGA (204 ลบ.) RWI (180 ลบ.) [3] ส่วนบริษัทที่มีรายได้น้อย ได้แก่ UREKA (159 ลบ.) TRV (179 ลบ.) TMC (304 ลบ.) [4]
●
[1] DITTO คือ บริษัท ดิทโต้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), EFORL คือ บริษัท อี ฟอร์ แอล เอม จำกัด (มหาชน), XO คือ บริษัท เอ็กโซติค ฟู้ด จำกัด (มหาชน)
●
[2] PROUD คือ บริษัท พราว เรียล เอสเตท จำกัด (มหาชน), TITLE คือ บริษัท ร่มโพธิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน), PSG คือ บริษัท พีเอสจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
●
[3] FPI คือ บริษัท ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ จำกัด (มหาชน), ZIGA 8nv บริษัท ซิก้า อินโนเวชั่น จำกัด (มหาชน), RWI คือ บริษัท ระยองไวร์ อินดัสตรีส์ จำกัด (มหาชน)
●
[4] UREKA คือ บริษัท ยูเรกา ดีไซน์ จำกัด (มหาชน), TRV คือ บริษัท ที.อาร์.วี. รับเบอร์ โปรดักส์ จำกัด (มหาชน), TMC คือ บริษัท ที.เอ็ม.ซี. อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)
📌 สรุปความแข็งแรงในแต่ละหมวดธุรกิจจากการแบ่งเป็น 6 กลุ่ม
ตารางที่ 7 สรุปความแข็งแกร่งของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (MAI) ตามหมวดธุรกิจ
โดยสรุป จากตารางที่ 7 แสดงให้เห็นถึงการแบ่งกลุ่มและจัดหมวดธุรกิจได้ตามความสามารถในการสร้างรายได้และกำไรสุทธิ 6 กลุ่ม ดังนี้
1.
กลุ่มที่ 1 มีกำไรสุทธิดี ทั้งปี 2563 และปี 2564 ทั้งหมวดธุรกิจ ได้แก่ เกษตรและอุตสาหกรรม และ สินค้าอุปโภคบริโภค
2.
กลุ่มที่ 2 มีกำไรสุทธิดี ทั้งปี 2563 และปี 2564 บางบริษัทในหมวดธุรกิจ และมี Leverage (D/E) ลดลง ได้แก่ ทรัพยากร
3.
กลุ่มที่ 3 มีกำไรสุทธิดี ปี 2564 ทั้งหมวดธุรกิจ ได้แก่ สินค้าอุตสาหกรรม
4.
กลุ่มที่ 4 มีกำไรสุทธิดี ปี 2564 ทั้งหมวดธุรกิจ บางบริษัทในหมวดธุรกิจ ได้แก่ ธุรกิจการเงิน
5.
กลุ่มที่ 5 กำไรสุทธิไม่ดี ทั้งปี 2563 และปี 2564 ทั้งหมวดธุรกิจ
6.
และ กลุ่มที่ 6 กำไรสุทธิไม่ดี ทั้งปี 2563 และครึ่งปี 2564 บางบริษัทในหมวดธุรกิจ ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง
ผู้เขียน : ธนัชญา ปิยวรไพบูลย์ Economics Data Analytics, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
mai
หุ้นไทย
การเงิน
1 บันทึก
9
7
1
9
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย