30 มี.ค. 2022 เวลา 17:05 • การเมือง
"Social media มีส่วนร่วมในการทำให้การเคลื่อนไหวแข็งแกร่งอย่างมาก โดยเฉพาะการ mobilize (เคลื่อนพล)" -คุณเกด
คิดว่าการแสดงออก นัดหมาย etc. ผ่าน social ก็ยังคงเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพสูงในการต่อสู้การเมืองของภาคประชาชนอยู่ดี 🤔 ดังนั้นการสร้างกระแส ทำเครือข่าย รวมกลุ่ม หรืออำนวยความสะดวก 'ม็อบหน้าคอม' ควรเป็นหนึ่งในแผนสำคัญถ้าเราต้องการเพิ่มกำลังและเพิ่มแรงกดดันภาครัฐ
สิ่งที่รัฐทำคือการ DDOS เว็บอย่างประชาไท การ takedown เนื้อหาด้วยอำนาจกฎหมาย #พรบคอม การปล่อย IO ออกมาปั่นด้วย fake news หรือคุกคามด้วยการด่าทอเฉย ๆ เลยก็มี ล่าสุดมี Pegasus spyware ที่ฝังตัวอยู่ในมือถือของนักกิจกรรมหลาย ๆ คน ที่ทาง Apple iOS ได้ตรวจพบและแจ้งเตือนไปกว่า 20 คน
ซึ่งถ้าใครยังจำ #รู้ทันIO ได้อยู่ จะทราบว่า กอ.รมน. ทุกวันนี้ยังใช้งบจากภาษีประชาชนจำนวนมากในการทำปฏิบัติการสร้างความแตกแยกและยุยงปลุกปั่นภายในประเทศอยู่ ไม่ได้หายไปไหน รัฐเห็นความสำคัญของ social มาตลอด และต้องการตัดไฟตรงนี้เพื่อไม่ให้เกิดการต่อต้าน
การบังคับใช้ กม. นั้นใช้ทรัพยากรที่รัฐมีจำกัด และตอนนี้ที่ทำได้คือฟ้องเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มเล็ก ๆ ไม่สามารถจัดการทุกคนได้ รัฐจึงต้องเจาะจงไปที่คนเด่น ๆ หรือ influencer ยอดติดตามสูง ๆ เพื่อสร้าง 'Chilling effect' หรือให้ประชาชนส่วนใหญ่กลัวจนปิดปากตัวเองไป aka เชือดไก่ให้ลิงดู
ซึ่งแน่นอนว่าประชาธิปไตยจะไม่สามารถดำรงอยู่ได้หากยังมีการแทรกแซงและปิดกั้นการแสดงออกในวงกว้างแบบนี้อยู่ ทหารไทยและเครือข่ายในวังอย่าง 904 เป็นปฏิปักษ์กับประชาชนไทยโดยตรง ทั้งในโลกดิจิตัลและชีวิตจริง จนกว่าอำนาจเผด็จการตรงนี้จะถูกทำลาย เราไม่มีวันเป็นอิสระ
ตอนนี้ #พรบจริยธรรมสื่อ ก็ยังจ่อสื่อมวลชนอยู่ด้วยข้ออ้างอย่าง 'ไม่ขัดความมั่นคง-ก่อความไม่สงบ' และ 'ต้องไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี' ซึ่งจะใช้ความกว้างขวางของตัวบทในการอนุญาต จนท. รัฐให้ปิดกั้น รังแก ข่มขู่คนทำงานสื่อเพื่อตัดไฟการเคลื่อนไหวของประชาชนอีกเช่นเคย
หนึ่งในไอเดียที่น่าสนใจตอนนี้คือการรวมกลุ่มคนทำงานสื่อ (คล้าย DEMALL) เพื่อสร้างอำนาจต่อรองและส่งเสียงเวลามีการละเมิดสิทธิสื่อ เช่น การยิงด้วยแก๊ส/กระสุนยาง หรือออก กม. ปิดกั้นสื่อ เนื่องจากทุกวันนี้ต้องพึ่งสมาคมวิชาชีพไปคุยให้ซึ่งมักจะมีความใกล้ชิดกับภาครัฐมากกว่าประชาชน
โฆษณา