31 มี.ค. 2022 เวลา 03:37 • หุ้น & เศรษฐกิจ
บทเรียน ‘ศรีลังกา’ ประเทศที่ใกล้ “ล้มละลาย”
รัฐบาลตัดไฟวันละ 10 ชั่วโมงเพราะพลังงานขาดแคลน
ประเทศติดหนี้ต่างชาติสูงกว่าขนาด GDP กว่า 6 เท่า
11
ศรีลังกากำลังเผชิญกับวิกฤตด้านความมั่นคงอย่างรุนแรงนับตั้งแต่ที่ประเทศได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 1948 หลังล่าสุดรัฐบาลมีคำสั่งงดการจ่ายกระแสไฟฟ้าทั่วประเทศวันละ 10 ชั่วโมง เพิ่มขึ้นจากเดิมที่เคยประกาศไว้ที่ 7 ชั่วโมง เนื่องจากกระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอเพราะขาดแคลนพลังงานอย่างรุนแรง
8
ตามสัดส่วนการผลิตกระแสไฟฟ้าในศรีลังกา 40% ของทั้งระบบมาจากพลังงานน้ำ แต่ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาประเทศแห่งนี้เผชิญกับภาวะแห้งแล้งอย่างรุนแรง ปริมาณน้ำฝนไม่ตกลงมาเพื่อเติมน้ำในเขื่อนให้เพียงพอ และตอนนี้ระดับน้ำก็อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำจนอันตราย
6
ส่วนการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานน้ำมันและถ่านหินก็ประสบปัญหาราคาพลังงานพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ โดย ซึ่งศรีลังกาก็เจอผลกระทบจากการที่ประเทศขาดสภาพคล่องทางการคลังมานานหลายปี เงินตราต่างประเทศที่ต้องใช้แลกเปลี่ยนเพื่อชำระสินค้านำเข้าแทบไม่เหลือ ทำให้ไม่มีเงินมากเพียงพอที่จะจัดซื้อวัตถุดิบเพื่อผลิตพลังงาน
8
ผลกระทบที่เกิดขึ้นครั้งนี้ทำให้โรงพยาบาลต้องขาดแคลนกระแสไฟฟ้า การรักษาที่ต้องใช้เครื่องมือ เช่น การผ่าตัดไม่สามารถทำได้ ส่วนซูเปอร์มาร์เก็ตถูกบังคับให้จำกัดการจำหน่ายจำนวนสินค้าหลัก ซึ่งรวมถึงข้าว น้ำตาล และนมผง
11
รัฐวิสาหกิจด้านพลังงาน Ceylon Petroleum Corporation (CPC) ของรัฐบาลศรีลังกากล่าวว่า จะไม่มีน้ำมันดีเซลในประเทศเป็นเวลาอย่างน้อย 2 วัน และเวลานี้ราคาน้ำมันทั้งเบนซินและดีเซลในศรีลังกาปรับตัวสูงขึ้น 92% และ 76% นับตั้งแต่ต้นปี
5
ส่วนที่กรุงโคลัมโบ เมืองหลวงของประเทศก็มีการออกมาตรการห้ามนำเข้าสินค้า ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2020 เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เพื่อชำระหนี้ต่างประเทศมูลค่า 51,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1.69 ล้านล้านบาท
4
ศรีลังกามีความพยายามที่จะกู้เงินอีกครั้งจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF หลังทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงเหลือไม่ถึง 30% ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาสู่ระดับ 2,310 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 76,900 ล้านบาท ซึ่งถือว่าต่ำอย่างมากสำหรับการบริหารจัดการประเทศที่มีประชากรถึง 22 ล้านคน
10
นอกจากนี้จะมีการเจรจากับจีนและอินเดียเพื่อขอสินเชื่อเพื่อกู้เงินเพิ่ม ทั้งๆ ที่ประเทศก็มีหนี้ต่างประเทศมหาศาลนับล้านล้านบาท และรอบการชำระหนี้รอบต่อไปมูลค่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 33,300 ล้านบาทจะมาถึงในเดือนกรกฎาคม
3
ก่อนหน้านี้หนังสือพิมพ์หัวใหญ่ 2 แห่งของศรีลังกา ต้องประกาศระงับการพิมพ์ เนื่องจากประสบปัญหาขาดแคลนกระดาษ โดยบริษัทหนังสือพิมพ์ Upali ประกาศว่า The Island หนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษของทางบริษัท และหนังสือพิมพ์ Divaina สื่อในเครือภาษาสิงหล จะไม่มีกระดาษสำหรับการพิมพ์หนังสือพิมพ์ เนื่องจากต้นทุนการผลิตพุ่งขึ้นถึง 1 ใน 3 และไม่มีกระดาษมากเพียงพอ
2
ไม่เพียงเท่านั้นการสอบของเด็กนักเรียนทั่งประเทศกว่า 4.5 ล้านคนต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากไม่มีกระดาษข้อสอบและหมึกสำหรับการพิมพ์ ท่ามกลางอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นถึง 17% ในเดือนมีนาคม
11
🔵 เกิดอะไรขึ้นกับศรีลังกา ทำไมถึงพาประเทศมาถึงจุดล่มสลาย
2
นับตั้งแต่ได้รับเอกราชจากอังกฤษเมื่อ 73 ปีก่อน ประเทศก็ลุ่มๆ ดอนๆ มาอย่างต่อเนื่อง เกิดปัญหามากมายทั้งด้านสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ประเทศเกาะทางตอนใต้ของอินเดียที่อุดมไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติที่ขึ้นชื่อเรื่องการปลูกชาชั้นเลิศและอาหารทะเล ซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจราว 80,710 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 268,683 ล้านบาท กำลังอยู่ในภาวะเสี่ยงล่มสลาย
3
นับตั้งแต่ที่เกิดการระบาดครั้งใหญ่เมื่อปี 2020 ศรีลังกาดูเหมือนว่าจะได้รับผลกระทบหนักที่สุดประเทศหนึ่ง เนื่องจากมีสัดส่วนการพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวสูงถึง 1 ใน 3 อีกทั้งประเทศมียังจัดอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ต่ำ และพึ่งพาภาคการเกษตรเป็นหลัก
5
การก้าวเข้ามาดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี โคฐาภยะ ราชปักษา ถือเป็นช่วงดวงซวยสุดๆ เลยก็ว่าได้ เพราะเมื่อเข้ามาเป็นรัฐบาลก็ต้องเผชิญกับวิกฤตครั้งใหญ่ของประเทศพอดี ซึ่งเงินทุนสำรองระหว่างประเทศก็อยู่ในระดับต่ำที่สุดจาก 7,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 249,675 ล้านบาท ลงมาเหลือ 3,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 103,199 ล้านบาท และปัจจุบันเหลือเพียง 2,310 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 76,900 ล้านบาท ซึ่งตัวเลขดังกล่าวจะสามารถใช้เป็นทุนสำหรับการนำเข้าสินค้าจำเป็นได้น้อยกว่า 2 เดือน
8
มีประเด็นที่น่าสนใจคือ ในช่วงที่มีความพยายามรักษาฐานเสียงของรัฐบาลนี้ ศรีลังกาได้มีการประกาศลดภาษีหลายชนิดลง เพื่อให้ภาคประชาชนมีการใช้จ่ายที่ถูกลง แต่ผลที่ตามมาคือรัฐบาลเก็บรายได้เข้าสู่คลังได้น้อยลง และไม่เพียงพอแม้กระทั่งใช้จ่ายในประเทศ ไม่ต้องพูดถึงการชำระหนี้ต่างประเทศเลย เพราะไม่อาจที่จะชำระได้ตามรอบการเรียกเก็บหนี้เสียด้วยซ้ำ
4
นอกจากนี้ศรีลังกายังต้องกู้ยืมเงินจากประเทศต่างๆ เพื่อมาหมุนสภาพคล่องทางการเงิน และลงทุนด้านต่างๆ โดยประเทศที่เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดคือจีน มูลค่าหนี้สินคือ 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นเงินไทย 165,000 ล้านบาท แถมปีที่แล้วก็กู้เพิ่มอีก 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 33,300 ล้านบาท
6
หากใครจำกันได้หรือติดตามข่าวอย่างต่อเนื่องจะทราบว่า รัฐบาลศรีลังกาได้กู้เงินมาเพื่อสร้างท่าเรือน้ำลึก และสร้างเมืองท่าโคลัมโบที่หมายมั่นปั้นมือว่าจะเป็นเมืองใหม่เพื่อการลงทุน ที่คาดว่าจะมีคนอาศัยอยู่ในเมืองใหม่นี้ราว 80,000 คน โดยจะมีการยกเว้นภาษีให้กับนักลงทุนและทำธุรกิจในเมืองนี้ ธุรกรรมทุกอย่างในเขตเศรษฐกิจพิเศษนี้จะเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ
9
โดยท่าเรือน้ำลึกดังกล่าวเป็นการตกลงพัฒนาร่วมกับจีน มูลค่ากว่า 1,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 33,300 ล้านบาท โดยให้จีนควบคุมและพัฒนาท่าเรือน้ำลึกเป็นเวลา 99 ปี
9
แต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ บวกกับหนีสิ้นอีกมากมายทำให้ศรีลังกาต้องการที่จะฉีกสัญญาดังกล่าวในปี 2019 แต่มันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะฉีกสัญญา จีนจึงจำเป็นต้องเข้ามาควบคุมท่าเรือแห่งนี้ หรือจะเรียกว่ายึดก็ไม่ผิดนัก เพราะศรีลังกาไม่มีปัญญาจ่ายหนี้ก้อนนี้บวกกับดอกเบี้ยตามข้อตกลง
4
ไม่เพียงแค่จีนเท่านั้น ศรีลังกายังเป็นหนี้ต่างประเทศกับอีกหลายชาติทั้้ง ญี่ปุ่น และอินเดีย ในจำนวนที่สูงมาก รวม ๆ แล้วจนถึงปัจจุบันรวมทั้งสิ้น 6,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 229,701 ล้านบาท บวกกับหนี้สะสมที่ผ่านมาอีกหลายสิบปีที่รอการชำระ รวมแล้วมูลค่า 51,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1.69 ล้านล้านบาท ซึ่งมากกว่ามูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศถึง 6 เท่า
6
จะเรียกว่าศรีลังกาเป็นประเทศที่ล้มละลายแล้วก็คงจะไม่ผิดนัก เพราะเวลานี้ไม่อาจที่จะยืนได้ด้วยตัวเอง และต้องกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อมาหมุนสภาพคล่อง กู้มาใช้จ่าย แล้วใช้หนี้บวกดอกเบี้ยวนไปไม่หมดสิ้น ซึ่งไม่มีทางรู้เลยว่าประเทศที่ได้ชื่อว่าไข่มุกแห่งมหาสมุทรอินเดียนั้นจะหลุดพ้นจากวงจรนี้ได้เมื่อไหร่
11
╔═══════════╗
ไม่พลาดบทความสาระดีๆ ที่ Reporter Journey ตั้งใจสร้างสรรเพื่อผู้ติดตามทุกท่าน อย่าลืมกดติดตามเพจ ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
╚═══════════╝
.
ติดตาม Reporter Journey ได้ทุกช่องทางที่
Line : @reporterjourney
1
โฆษณา