Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Timeless History (ประวัติศาสตร์ไร้กาลเวลา)
•
ติดตาม
31 มี.ค. 2022 เวลา 06:07 • ประวัติศาสตร์
สาเหตุที่นักการเมืองนั้นชั่วร้าย ตามทัศนะของ “เพลโต (Plato)”
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า “นักการเมือง” คือหนึ่งในอาชีพที่ถูกโจมตีจากสาธารณชนมากที่สุดอาชีพหนึ่ง และผู้คนก็มักจะเลือกนักการเมืองจากคนที่ตนเองนั้นชื่นชมหรือเชื่อถือ มากกว่าจะเลือกคนที่เกลียด
“เพลโต (Plato)” ซึ่งเป็นนักปรัชญาโบราณชื่อดัง ก็ได้เคยแสดงทัศนะถึงข้อบกพร่องของนักการเมืองไว้ได้น่าสนใจ ซึ่งถึงแม้ความคิดเห็นของเพลโตจะผ่านมานานกว่า 2,000 ปีแล้ว หากแต่ก็ยังน่าสนใจและทำให้เห็นอะไรได้หลายๆ อย่าง
2
ต้องย้ำก่อนนะครับว่านี่คือทัศนะของเพลโต ไม่ใช่ทัศนะของผม ผมแค่เอามุมมองของเพลโตมาให้ดูเฉยๆ
เพลโต (Plato)
เพลโตได้แสดงทัศนะว่า ผู้ที่เหมาะจะเป็นผู้ปกครองที่สุดคือ “นักปรัชญา”
2
นักปรัชญานั้นรักการเรียนรู้และหลงใหลในความรู้ด้านต่างๆ ไม่ได้สนใจในเรื่องของลาภยศสรรเสริญ หากแต่นักปรัชญานั้นถูกขับเคลื่อนด้วยการแสวงหาความรู้ ความจริง และคุณธรรม
2
ความสุขทุกอย่างของนักปรัชญาล้วนแต่เกี่ยวข้องกับความนึกคิด โดยผู้ปกครองที่ดี ต้องไม่หลงไปกับความชั่วร้าย และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือการควบคุมตนเอง ผู้ที่ชั่วร้ายไม่เหมาะจะปกครอง
1
แต่คุณสมบัติที่เหมาะจะเป็นผู้ปกครอง ก็เป็นสิ่งที่หาได้ยากในมนุษย์คนหนึ่ง
เมื่ออธิบายเพิ่มเติมถึงมาตรฐานที่ต่ำของนักการเมือง เพลโตขอให้นึกถึงภาพของเรือลำหนึ่ง โดยลูกเรือก็คือนักการเมือง ต้นหนหรือผู้นำทาง ก็คือนักปรัชญา
ลูกเรือนั้นต่างเถียง ทะเลาะกันว่าใครควรจะเป็นคนควบคุมเรือ โดยต่างก็คิดว่าตนนั้นเหมาะสมที่สุด โดยไม่ได้คิดเลยว่าตนนั้นไม่มีความรู้หรือความสามารถที่แท้จริง
ต่างคิดว่าตนควรจะเป็นกัปตัน หากแต่ไม่มีความรู้และไม่รู้ว่าจะพาเรือไปในทิศทางใด
ส่วนต้นหนนั้น คือผู้ที่มีปัญญา คือผู้ที่เข้าใจและมีความรู้เรื่องฤดูกาล ท้องฟ้า ดวงดาว ทิศทางลม มีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้นำเรือ
3
เพลโตได้กล่าวอุปมาไว้ในงานเขียนเรื่อง “Republic” ว่า
“ท่านคงกล่าวไม่ผิดนักหากเปรียบเทียบนักการเมืองผู้ปกครองเป็นนักเดินเรือ และพวกที่เรียกว่าเป็นพวกเพ้อฝันที่ไร้ประโยชน์ ก็คือต้นหนที่แท้จริง”
ความหมายของเพลโตก็คือคนที่ชนะการแข่งขัน ก็ไม่ใช่คนที่มีปัญญาที่สุด เนื่องจากคนเหล่านี้จะใช้เวลาในการแสวงหาอำนาจ ในขณะที่ความรู้เป็นเรื่องรอง
ส่วนนักปรัชญาไม่มีความสนใจในอำนาจ และไม่มีประสบการณ์ในการแข่งขันเพื่อแสวงหาอำนาจ
นอกจากนั้น เพลโตยังกล่าวว่านักการเมืองนั้นมาจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เหมือนกับพืชที่โตในดินที่ไม่สมบูรณ์
เมื่อเปรียบเทียบเป็นเรือลำหนึ่ง เพลโตกล่าวว่าลูกเรือต่างแข่งกัน และใช้วิธีการสกปรกต่างๆ เพื่อให้เป้าหมายของตนสำเร็จ โดยไม่สนว่าจะต้องใช้วิธีใด ไม่ว่าจะเป็นการฆ่าลูกเรือด้วยกันเอง หรือวางยาพิษให้กัปตัน
1
สภาพแวดล้อมเช่นนี้ไม่เหมาะสม เป็นสภาพแวดล้อมที่ไม่มีความดีงาม ซึ่งปัญหาของนักการเมืองไม่ใช่เพียงแต่พวกเขานั้นไม่มีความรู้เมื่อเทียบกับนักปรัชญา หากแต่ยังขาดซึ่งคุณธรรมอีกด้วย
1
นอกจากนั้น นักการเมืองยังทำสิ่งต่างๆ โดยอิงจากความต้องการของสาธารณชน เพื่อที่ตนจะได้รับความนิยม ซึ่งนี่ก็ทำให้นักการเมืองที่มีอำนาจได้ออกห่างจากปัญญาและความจริงแท้
1
ถ้าจะให้สรุปแนวคิดของเพลโต นักการเมืองก็ไม่ใช่คนที่ฉลาดที่สุด หรือมีความรู้ที่สุด และมักใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการแสวงหาอำนาจมากกว่าที่จะแสวงหาความจริง
3
ในขณะเดียวกัน สภาพแวดล้อมรอบกายของนักการเมืองก็เป็นปัญหา แสดงให้เห็นว่าไม่เพียงแต่ขาดปัญญา แต่นักการเมืองยังขาดคุณธรรมอีกด้วย
นี่ก็เป็นแนวคิดของเพลโตเมื่อนับพันปีที่แล้ว ซึ่งบางอย่างก็อาจจะจริงและนำมาปรับใช้ได้ แต่บางอย่าง เราก็อาจจะต้องคิดและนำมาประยุกต์ให้เข้ากับสังคมปัจจุบัน
1
References:
https://historyofyesterday.com/why-we-have-bad-politicians-according-to-plato-2c9b34e21abb
https://iep.utm.edu/platopol/
https://plato.stanford.edu/entries/plato-ethics-politics/
https://www.e-ir.info/2013/04/17/should-philosophers-rule/
23 บันทึก
27
13
23
27
13
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย