31 มี.ค. 2022 เวลา 07:46 • สุขภาพ
#MythsaboutBipolarDisorder
เนื่องจากวันที่ 30 มีนาคมของทุกปีนับเป็นวัน World Bipolar Day ที่จัดขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องโรคไบโพลาร์
Psycholism อยากชวนทุกคนมาทำความเข้าใจโรคไบโพลาร์อย่างถูกต้อง และความเข้าใจผิดๆ ลบภาพจำของโรคไบโพล่าร์ที่ยังชัดเจนในใจเรา
Myth #1 - วันนี้เธอเป็นอะไร เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย เป็นโรคไบโพลาร์ป่ะเนี่ย ?
โรคไบโพลาร์คือการมีอารมณ์แปรปรวนระหว่างวัน เป็นความเข้าใจที่อาจไม่ถูกต้อง แม้จุดเด่นของโรคไบโพลาร์คือการมีอารมณ์ขึ้นลงที่ชัดเจน มีภาวะเศร้ามากๆ ดี๊ด๊ามากๆ สลับกันไป แต่แท้จริงแล้วการสลับช่วงภาวะอารมณ์นี้ ไม่ได้เกิดขึ้นระหว่างวัน แต่เกิดสลับกันเป็นระยะเวลาหลายวันหรือในบางรายอาจมีภาวะเศร้าอยู่หลายเดือนและเข้าสู่อาการแมเนีย (mania) อยู่เป็นหลักเดือนก็มี
Bipolar นี่แต่ละแกนของอารมณ์อาจจะกินเวลาหลายวัน
ช่วงซึมเศร้าอาจเป็นเดือนๆ ช่วง Mania ก็อาจจะหลายวัน
อัตราการเกิดโรคครั้งแรกพบบ่อยที่สุดคือ ช่วงก่อนอายุ 24 ปี
ภาพจำที่ควรจะใช้เพื่อบอกว่าเพื่อนเรา หรือคนในครอบครัวอาจมีแนวโน้มเป็นโรคไบโพลาร์ คือ อาทิตย์นี้ดิ่ง อาทิตย์ที่แล้วโดด ไม่ใช่อารมณ์แปรปรวนในระหว่างวัน
ส่วนความรุนแรงของภาวะแมเนียจะดูได้อย่างไร แตกต่างจากความร่าเริง อารมณ์ดีอย่างไร เราจะมาบอกให้ฟังในโพสต์หน้ากันนะ 🙂🙂
โฆษณา