Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องราวจากของเก็บ
•
ติดตาม
6 เม.ย. 2022 เวลา 11:26 • ประวัติศาสตร์
รัชมังคลาภิเษก
ในประวัติศาสตร์ชาติไทยตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน มีพระราชพิธีหนึ่ง ที่มีการจัดขึ้นเพียง 2 ครั้งเท่านั้น คือ “พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก”
พระราชพิธีอันเป็นมงคลนี้เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2451 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช เพราะมีหลักฐานแน่นอนว่าทรงครองราชย์สมบัติยาวนานกว่าบรรดาพระมหากษัตริย์ที่มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
1
ครั้งนั้นเจ้านายและขุนนางที่เป็นนักปราชญ์ทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ เช่น สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และพระยาโบราณราชธานินทร์ ข้าหลวงมหาดไทย รวมถึงเทศาภิบาลและมณฑลอยุธยา ได้ร่วมกันสอบด้านหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่าบรรดาพระมหากษัตริย์ที่เคยปกครองบ้านเมืองในประเทศไทยมาเท่าที่พอได้หลักฐานนั้น มีพระองค์ใดบ้างที่ครองราชย์เป็นเวลานาน
การสอบค้นครั้งนั้นไม่ได้รวมพระมหากษัตริย์ที่เคยปกครองสุโขทัยและล้านนา อาจเพราะคนส่วนใหญ่ในขณะนั้นไม่สนใจหรือเข้าใจเกี่ยวกับแคว้นสุโขทัยและล้านนาก็ว่าได้
1
ในทำนองตรงข้าม กลับมองอยู่เพียงแค่กรุงศรีอยุธยาเสมือนกับว่า ฐานะการเป็นราชอาณาจักรในสยามนั้นเพิ่งเริ่มที่กรุงศรีอยุธยาเป็นแห่งแรก เป็นราชอาณาจักรที่มีการจดบันทึกของพงศาวดารเรียงลำดับรัชกาลแต่ละรัชกาลตั้งแต่องค์แรกจนถึงองค์สุดท้าย
บรรดาสมเด็จพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยานั้น สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ครองราชย์ยืนนานที่สุด คือครองอยู่ระหว่าง พ.ศ. 1991 ถึง พ.ศ. 2031 นับรวมเวลาที่อยู่ในราชสมบัติถึง 40 ปี แต่กระนั้นก็ดี ก็ยังไม่ยาวนานเท่าสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงองค์ปิยมหาราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ อีกทั้งยังไม่ปรากฏมีพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก หรืองานพระราชพิธีเฉลิมฉลองอันใดในทำนองเช่นนี้ในรัชกาลของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา
การพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกครั้งนั้น จัดขึ้นเฉลิมฉลองเป็นงานใหญ่ในวันที่ 11 ถึงวันที่ 18 เดือนพฤศจิกายน 2451 และทรงครองราชย์ต่อมาจนเสด็จสวรรคตในวันที่ 23 ตุลาคม 2453 รวมเวลาในรัชสมัยได้ 42 ปี 22 วัน
แล้วรู้ได้ยังไงว่าในช่วงเวลาดังกล่าว มีการจัดงานรัชมังคลาภิเษกขึ้นจริงๆ ถ้าเป็นเมื่อก่อน เราก็เข้าห้องสมุด ค้นตำรา จดหมายเหตุ รวมถึงบันทึกต่างๆ
ถ้าเป็นยุคปัจจุบัน เขี่ยๆ พิมพ์ๆ สามที ได้คำตอบแล้วครับ
2
ดวงตราไปรษณียากรที่ระลึก รัชมังคลาภิเศก 2451
แต่ถ้าถามนักสะสมแสตมป์เค้าก็จะบอกว่า มีแสตมป์ชุดหนึ่ง ที่ออกมาเพื่อเป็นที่ระลึก งานรัชมังคลาภิเษก วันที่ออกจำหน่ายวันแรก ก็คือวันเดียวกันกับวันที่เปิดงาน คือ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2451
แต่เนื่องจากในอดีตนั้น การที่จะสั่งพิมพ์แสตมป์นั้น ต้องใช้เวลานาน หลักๆ คือ การออกแบบ การติดต่อไปยังโรงพิมพ์ที่อยู่ต่างประเทศ การขนส่งที่ยังไม่ทันสมัย ต้องใช้เวลานาน
กรมไปรษณีย์โทรเลข ในสมัยนั้น ได้ว่าจ้างให้โรงพิมพ์เกิตเต กรุงเทพฯ (Gotte. Co., Bangkok) พิมพ์แก้ ทับด้วยหมึก (overprint) ครั้งละ 1 แผ่น หรือ 100 ดวง บนแสตมป์ชุด “วัดแจ้ง” ที่ออกมากตั้งแต่ พ.ศ. 2448 จำนวน 5 ดวง คือ ชนิดราคา 1 อัฐ 3 อัฐ 5 อัฐ 8 อัฐ และ 18 อัฐ ด้วยข้อความ
“รัชมังคลาภิเศก
๘๗-๑๒๗
Jubilee
1868-1908”
จำนวนพิมพ์แก้
ชนิดราคา 1 อัฐ 500,000 ดวง
ชนิดราคา 3 อัฐ 100,000 ดวง
ชนิดราคา 5 อัฐ 113,900 ดวง
ชนิดราคา 8 อัฐ 15,000 ดวง
ชนิดราคา 18 อัฐ 47,500 ดวง
แสตมป์ที่ระลึกชุดนี้ ถ้าเป็นดวงปกติ สนนราคาประมาณชุดละ 2,600 บาท บวกลบได้ตามความสบายใจ
แต่… ถ้าเป็นแสตมป์ตลก (error) ราคาจะพุ่งแรงมากครับ อย่างครั้งหนึ่งมีการประมูลแสตมป์ชุดรัชมังคลาภิเศก ชนิดราคา 1 อัฐ คู่แนวนอน
📌ปกติตัวเลข ร.ศ. ที่อยู่บนดวงคือ ๘๗-๑๒๗
📌📌ถ้าสังเกตดวงซ้ายเป็นตลกเลข พิมพ์ผิดเป็นเลข “๑๓๗” และต่อหางที่เลข “๓” ด้วยการแก้ไขที่แท่นพิมพ์ ซึ่งปกติพบจะต่อหางด้วยมือ👇 ดวงนี้เริ่มประมูลที่ราคา 50,000 บาท จบประมูลที่ราคา 90,000 บาท
ภาพแสตมป์ตลกตัวเลข ชุดรัชมังคลาภิเษก 2451
นอกจากนี้ยังมี error ที่พบอีก เช่น
★
แสตมป์เป็นคู่ ดวงหนึ่งพิมพ์แก้ อีกดวงไม่ได้แก้
★
ตัวอักษร “i” เล็กกว่าปกติ
★
ระยะ “i” กับ “l” ห่างกันมากกว่าปกติ
★
ดวงราคา 4 อัฐ ระยะเลขไทยกับเลขอารบิค ห่างกัน 13.5 มม. (ปกติห่าง )
error เหล่านี้ทำให้แสตมป์หายาก ราคาของแสตมป์ยึงสูงขึ้นไปด้วยครับ
1
2
ที่มาข้อมูล
https://lek-prapai.org/home/view.php?id=927
ภาพแสตมป์ตลก
https://sale20.eurseree.com/cgi-bin/info/agora.cgi?cart_id=1351284.30605*qa5wk7&p_id=158&xm=on&ppinc=search2
ขอบคุณครับ
แสตมป์ย้อนกาล
เล่าขานผ่านแสตมป์
แสตมป์ที่ระลึก
3 บันทึก
17
25
7
3
17
25
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย