31 มี.ค. 2022 เวลา 15:14 • การตลาด
การแบ่งประเภทของสินค้า แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
1. สินค้าอุตสาหกรรม (Industrial Goods) หมายถึง สินค้าที่ซื้อไปเพื่อใช้ในการผลิต ประกอบ หรือแปรสภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปจำหน่ายต่อ และให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ตอบแทนในรูปของกำไร
2. สินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer Goods) หมายถึง สินค้าที่ผู้บริโภคซื้อไปเพื่อใช้เอง หรือซื้อไปสำหรับใช้ในครัวเรือน โดยเรียกผู้ชื้อนี้ว่า ผู้บริโภคคนสุดท้าย (End User)
สำหรับวันนี้ เราจะพูดถึงสินค้าอุปโภคบริโภค ที่มีการซื้อขายได้อย่างรวดเร็ว นั่นก็คือสินค้าประเภท FMCG ซึ่งย่อมาจาก Fast Moving Consumer Goods
FMCG คือสินค้าที่จำหน่ายเร็วและมีต้นทุนต่่า รวมถึงสินค้าที่มีลักษณะไม่คงทน มีเครือข่ายกระจายสินค้าที่ค่อนข้างกว้างขวาง และ มักจะมีระยะเวลาบนชั้นวางสินค้า (shelf life) ค่อนข้างสั้น เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคที่ค่อนข้างสูง หรือสินค้าเสื่อมสภาพค่อนข้างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น อาหาร เครื่องดื่ม กระดาษชำระ ยาสามัญประจำบ้าน นอกจากนี้ สินค้าบางอย่างก็ยังเป็นสินค้าที่เน่าเสียได้ง่ายด้วย เช่น ขนมปัง ผักสด เนื้อสัตว์
ด้วยเหตุผลของการที่สินค้า FMCG เป็นสินค้าที่หมุนเวียนเร็ว และการซื้อของผู้บริโภคส่วนใหญ่ แม้จะมีการวางแผนว่าจะซื้อสินค้าอะไร แต่ก็ไม่ได้มีการระบุแบรนด์ เพราะฉะนั้นแล้ว การกระตุ้นการซื้อ หรือ การส่งเสริมการขาย ณ จุดขาย จึงเป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญ ที่เข้ามาช่วยในการารแข่งขันของตลาดนี้
สื่อส่งเสริมการขาย ณ จุดขาย หรือ POP (Point of Purchase) ที่เรามักจะเห็นกันบ่อยๆ เวลาเดินห้างสรรพสินค้า หรือตามชั้นวางสินค้าก็คือ ป้ายลดราคาสินค้า ป้ายโปรโมชั่นพิเศษ และป้ายคุณสมบัติต่างๆ เพื่อดึงดูดความสนใจลูกค้า ทั้งหมดนี้คือการทำโฆษณาผ่านสื่อส่งเสริมการขาย ณ จุดขายนั่นเอง
ป้าย POP จึงมีความสำคัญมากๆ ที่ช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ ณ จุดขาย เพราะมันสามารถดึงดูดผู้บริโภคที่อาจไม่ได้วางแผนที่จะมาซื้อสินค้าของเรา แต่พวกเขาอาจตัดสินใจซื้อเพราะเห็นป้าย POP ของแบรนด์
แต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป ก็คือกลยุทธ์นี้ ไม่ได้เพียงแค่มองถึงการกระตุ้น Brand Remind แต่ต้องมีการทำให้เกิดการ Action ทันที ด้วยการที่มีเครื่องมือหรือเทคโนโลยีให้การเข้ามาช่วยทำในเรื่องนี้ง่ายขึ้น ยิ่งผู้บริโภคในยุคนี้มีเวลาน้อย และพวกเขาใช้เวลากับโลกออนไลน์มากขึ้น
#BrandAgeOnline #BrandAge_AtoZ #FMCG
โฆษณา