Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุน ลงดอย
•
ติดตาม
1 เม.ย. 2022 เวลา 02:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Oppday SPA Q4/2021 ⭐ : รายได้ Q4 80 ลบ. ลดลง 3% และขาดทุน 46 ลบ. ซึ่งขาดทุนลดลง 41% YoY โดยปี 2022 ตั้งเป้ารายได้ 500 - 600 ลบ.
Published: 31 Mar 2022
วันนี้พบกับ บริษัท สยามเวลเนสกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)หรือใช้ตัวย่อในตลาดว่า SPA ซึ่งประกอบธุรกิจสปาเพื่อสุขภาพภายใต้แบรนด์หลัก “Let’s Relax” โดยผลการดำเนินงานในปี 2021 สามารถสร้างรายได้ 175 ลบ. ลดลง 60% และขาดทุนสุทธิ 287 ลบ. ซึ่งขาดทุนเพิ่มขึ้น 37% จากปี 2020
🚩1. ลักษณะธุรกิจ
✔ ดำเนินธุรกิจสปาและเวลเนสเป็นหลักโดยสามารถแบ่งธุรกิจออกเป็น 4 กลุ่ม
1. ธุรกิจสปาและเวลเนส: ดำเนินกิจการธุรกิจสปาภายใต้ 3 แบรนด์หลักๆได้แก่ “RarinJinda”, “Let’s Relax”, “BaanSuan Massage” และมีธุรกิจสตูดิโอยืดกล้ามเนื้อภายใต้แบรนด์ “Stretch Me” และธุรกิจดูแลผิวหน้าภายใต้แบรนด์ “Dr. Spiller”
2. ธุรกิจโรงแรม และร้านอาหาร: “โรงแรมระรินจินดา เวลเนส สปา รีสอร์ท” และรับบริหาร “ระริน วิลล่าส์ เชียงใหม่” และธุรกิจร้านอาหารในเชียงใหม่ภายใต้แบรนด์ “Deck One” และรับบริหาร “ORB Cafe”
3. ธุรกิจกิารจำหน่ายผลิตภัณฑ์สปา: จำหน่ายสินค้าเกี่ยวกับสปาภายใต้แบรนด์ “LRL”
4. ธุรกิจโรงเรียนนวดแผนไทย: “โรงเรียนสอนนวดไทยและสปาสยามเวลเนส”
✔ โครงสร้างรายได้หลักมาจากธุรกิจสปาและเวลเนสกว่า 74%
▪ ธุรกิจสปาและเวลเนส: 74%
▪ ธุรกิจโรงแรม และร้านอาหาร: 6%
▪ ธุรกิจกิารจำหน่ายผลิตภัณฑ์สปา: 17%
▪ อื่นๆ: 3%
✔ มีจำนวนสาขาทั้งหมด 70 สาขา โดยเป็น Let’s Relax กว่า 74%
▪ RarinJinda 3 สาขา
▪ Let’s Relax 52 สาขา
▪ BaanSuan 10 สาขา
▪ Stretch Me 5 สาขา
▪ Dr. Spiller 3 สาขา
🚩2. ภาพรวมและผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
◼️ภาพรวมปี 2021◼️
✔ รายได้ 175 ลบ. ลดลง 60% จากนักท่องเที่ยว (นทท.) ไม่สามารถเข้ามาใช้บริการได้และประกอบกับโดนปิดสาขาไป 6.5 เดือนในปี 2021 ได้แก่ 2-22 Jan, 18 Apr - 30 Jun, 1 Jul - 30 Sep และเริ่มกลับมาเปิดเต็มใน 1 Oct
✔ จากรายได้รวมที่ลดลง 60% มาจากการลดลงของธุรกิจสปาและเวลเนสถึง 54%
▪ ธุรกิจสปาและเวลเนส: 54% โดยมาจาก Let’s Relax 43%, RarinJinda 2%, BaanSuan 6% และอื่นๆ 3%
▪ ธุรกิจโรงแรม และร้านอาหาร: 2% มาจาก Occupancy Rate ที่ลดลงมาก
▪ ธุรกิจกิารจำหน่ายผลิตภัณฑ์สปา: 4% โดยยอดขายหน้าร้านลดลงแต่ออนไลน์โตดี
✔ บริษัทขาดทุนตั้งแต่บรรทัดกำไรขั้นโดยต้นทุนขายและบริการคิดเป็น 190% ของรายได้ โดยต้นทุนขายและบริการลดลง 37% จากค่าใช้จ่ายผันแปร เช่น ค่าแรงนวด ค่าวัตถุดิบ ค่าน้ำค่าไฟ โดยบริษัทมีการต่อรองค่าเช่าจาก Fix เป็น Revenue Sharing และยังมีค่าเสื่อมและค่าใช้จ่ายพนักงานซึ่งทำให้ยังขาดทุน
✔ ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อยอดขายและดอกเบี้ย (SG&A&Interest to Sales) เพิ่มขึ้น 8ppt (Percentage Point) คิดเป็น 91% สาเหตุหลักๆมาจากดอกเบี้ยจ่ายที่เพิ่มขึ้น และยังมีตั้งสำรองด้อยค่ากับสาขาที่คาดว่าจะปิดอีก 4 สาขาจำนวน 18 ลบ. ทำให้บริษัทขาดทุนสุทธิ 287 ลบ. ซึ่งขาดทุนเพิ่มขึ้น 37% จากปี 2020
✔ อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) 2.6x เท่า
◼️ภาพรวมปี Q4/2021◼️
✔ รายได้ 80 ลบ. ลดลง 3% และขาดทุน 46 ลบ. ซึ่งขาดทุนลดลง 41%
🚩3. แผนงานในอนาคตและการเติบโต
◼️การเติบโตของนทท.ต่างชาติ◼️
✔ นทท.ต่างขาติ 10 อันดับแรกปัจจุบีนไม่มีจีนโดยรัสเซียครองแชมป์ และกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาคาดว่าปี 2022 จะมี นทท.ต่างชาติ 6 ล้านคน, ปี 2023 มี 18 ล้านคน
◼️การเติบโต◼️
✔ มีแผนเปิด Onsen แห่งที่ 2 ในพัทยา เดือน Aug’22
✔ เปิด Let’s Relax Terminal 21 พระราม3 เดือน Oct’22
✔ คาดว่ายอดขาย ATK แบรนด์ “GOLDSITE” 20 ลบ. ใน Q1/2022
✔ ตั้งเป้ารายได้ 500 - 600 ลบ. โดยตอนนี้เปิดสาขาในประเทศไปแล้ว 80% และมีการปิดสาขาที่ Performance ต่ำในสัญญาที่หมดอายุ
🚩4. ข้อมูลอื่นๆ จาก Section Q&A
◼️การเติบโต◼️
✔ มองปี 2021 เป็นจุดต่ำสุดแล้วและคาดว่าธุรกิจสปาจะไม่โดนสั่งปิดแล้ว จากปัจจัยโควิดเป็นโรคประจำถิ่นและระยะสั้นมองเรื่องการขายสินค้า และเน้นธุรกิจ Strect Me และ Dr. Spiller ที่จับกลุ่มลูกค้าคนไทย
✔ นทท.จีนยังเป็นปัจจัยหลักให้บริษัทกลับมามีรายได้และกำไร
✔ เน้นการตลาดเชิงรุก เน้นความปลอดภัย เช่น ตรวจ ATK ประจำ เน้นลูกค้าต่างชาติฝั่งตะวันตก
✔ แนวโน้ม Q1/2022 ถึงแม้จะมีโอมิครอนแต่ตัวเลขไม่ไ่ด้ลงไป Bottom เหมือนปีที่แล้ว
◼️อื่นๆ◼️
✔ Uilisation Rate ปี 2021 อยู่ที่ 40% แต่ Q4/2021 อยู่ 50%+
✔ มีเงินสดในมือ 100 ลบ. และ Cash Burn เดือนละ< 10 ลบ. และยอดเงินกู้ที่ต้องชำระภายใน 1 ปีได้รับการผ่อนผันไปอีก 1 ปี โดยบริษัทยังมองหาเครื่องมือทางการเงินอื่นๆเข้ามาช่วย และการเพิ่มทุนจะเป็นวิธีสุดท้าย
✔ ยังรักษาพนักงานโดยไม่มีนโยบายให้คนออก โดยทีมนวดกลับมาให้บริการได้ 50% และถ้า Demand เริ่มกลับมาคาดว่าจะหาทีมนวดได้ไปยากจากการที่สปาเจ้าอื่นโดนปิด
✔ พนักงานนวดจ่ายเงินโดยมี Minmun Garunatee + Variavble
✔ สำหรับสาขาที่รับจ้างบริหารสปาให้โรงแรมจะดูเรื่องทำเลเป็นหลักที่ไม่ไปแย่งลูกค้าจากสาขาของบริษัท
✔ การเปิดสาขาแนวโน้ม SG&A เพิ่มแต่ SG&A to Sales ยังจะอยู่ในระดับเดิม
✔ กลุ่มลูกค้าของ Stretch Me ที่มีนักกายภาพบำบัดและนักวิทยาศาสการกีฬา สามารถเบิกประกันได้โดยใช้ใบรับรองแพทย์ของรพ.
✔ สัดส่วนลูกค้าเดือน Q1/2022 เป็น คนไทย 80%, Expat 10%, นทท.ต่างชาติ 10%
✔ ยอดใช้จ่ายของนทท.ต่างชาติต่อหัวจะสูงกว่าไทยแต่ไม่เท่านทท.จีนในอดีต
✔ แนวทางการปรับค่าแรงคาดว่าไม่กระทบกับบริษัทเนื่องจากพนักงานทุกคนปัจจุบันเกินค่าแรงขั้นต่ำอยู่แล้ว
✔ สินค้ากัญชากำลังรอกฎหมายปลดล็อคอยู่ถึงจะขายได้
💡 Key Takeaways & Ideas
▪ บริษัทมองว่า 2021 เป็นจุดต่ำสุดไปแล้วและไม่น่าจะมีสถานการณ์ปิดเมืองอีก โดยถ้าปีนี้ขอไม่มีปิดเมืองจริงๆ แอดคาดว่าปีนี้น่าจะไม่ขาดทุนแล้ว
▪ ต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้นไตรมาสละ 11 ลบ. จากปีที่แล้วไตรมาสละ 5 ลบ. จากก่อนโควิดอยู่ที่ 2-5 ลบ. (TFRS 16 เริ่มใช้ปี 2020)
▪ ถ้าจะให้รายได้กลับมาจริงๆยังไงบริษัทก็ต้องพึ่งนทท.จีนและเอเชียซึ่งแต่เดิมกินสัดส่วนถึง 68% (China+HK+Taiwan 55%, Korean+Japan 10%, Asian 3%)
▪ สิ่งสุดท้าย คือ ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดครับว่าบริษัทมีความเสี่ยงเพิ่มทุนอีกไหม เพราะ D/E 2.6x (รวมสัญญาเช่า) ก็น่ามีเพดานให้กู้อีกไม่มากนะครับ และแอดเคยได้ยินจาก Oppday ว่าเวลาธนาคารดู D/E จะไม่ได้สนใจว่าถ้าตัดสัญญาเช่าออกไปจะเหลือ D/E เท่าไหร่ โดยธนาคารจะนับหมดครับ หลักๆแอดอยากให้ดูงบกระแสเงินสดประกอบแบบละเอียดทุกครั้ง
▪ แอดอยากให้สังเกตุว่าขนาด SPA ที่ยังเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ยังหนักขนาดนี้ แล้วบริษัทนอกตลาดถ้าไม่มีเงินทุนหนาน่าจะเหนื่อยมากๆ จากต้นทุนทางการเงินที่สูงกว่าบริษัทในตลาดทรัพย์และเครื่องมือทางการเงินที่น้อยกว่าบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ครับ โดยมีสัญญาณที่เห็นได้ชัด คือ มีสปาในโรงแรมที่ให้ SPA บริหารให้ ทำให้อาจจะเป็นโอกาสกลับมาโดยที่มีจำนวนผู้เล่นในตลาดรวมที่ลดลงครับ
▪ แอดยังมองว่า Strech Me ยังเสียเปรียบรพ.หรือคลินิกที่มีหมออยู่ เนื่องจากเวลาเบิกประกันต้องใช้ใบรับรองแพทย์ทุกครั้ง ซึ่งแอดว่าน้อยคนมากๆที่จะใช้ใบรับรองแพทย์จากรพ.แล้วไปกายภาพที่อื่น ซึ่งแอดขอบอกว่าช่วงโควิดคนเป็น Office Syndrome กันเยอะครับ รวมถึงแอดเองด้วย ถ้าไปโรงพยาบาลเอกชนค่ากายภาพต่อหัวต่อครั้งเฉลี่ยประมาณ 4,000 บาท เดือนนึงไปหา 4 - 8 ครั้งแล้วแต่อาการก็คิดเป็นต่อคนต่อเดือนก็ 16,000 - 32,000 บาทบวกลบนิดหน่อย แล้วเวลาหาทีนี่หากัน 3 - 6 เดือน ทำให้รายได้ส่วนนี้ก็เป็นโอกาสของ SPA ได้ในอนาคตครับถ้ารับประกันได้ทำให้คนน่าจะไปใช้บริการกันมากขึ้น
▪ สุดท้ายแอดขอให้สังเกตุตัวเลขนทท.ต่างชาติที่กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาทำไว้ครับว่ามีความเป็นไปได้จะถึง 6 ล้านคนมากแค่ไหน
ขอให้สนุกกับการลงทุนครับ 😄
ถ้าชอบ Content ของแอดก็ขอกด Like กด Share เป็นกำลังใจให้แอดหน่อยนะครับ 😽
Reference:
▪ One Report บริษัท 2021
https://www.set.or.th/streaming/vdo/5160?title=Opp%20Day
Presentation Link:
https://www.set.or.th/dat/registration/oppday/presentation/2021q4/20220331-YearEnd2021-SPA.pdf
#ลงทุนลงดอย #OpportunityDay #OppdayQ42021 #หุ้นสปา #SPA
หุ้น
spa
oppday4q2021
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย