Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
DoctorWantTime
•
ติดตาม
1 เม.ย. 2022 เวลา 01:03 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน คืออะไร เหมือนกันไหม??
บางคนอาจเข้าใจว่า “ค่าใช้จ่าย” และ “ค่าลดหย่อน” นั้นเป็นค่าเดียวกัน ซึ่งจริงๆ มันต่างกัน ถึงแม้ทั้ง 2 ค่านี้ จะไว้ใช้หักหรือลบออกจากเงินได้ทั้งปีของเรา เพื่อให้ออกมาเป็นเงินได้สุทธิก็ตาม มาอ่านโพสนี้กันว่า ค่าใช้จ่ายคืออะไร รายได้แบบไหนหักค่าใช้จ่ายได้เท่าไหร่ ค่าลดหย่อนคืออะไร มาอ่านกันค่ะ
ในการคิดภาษีที่ต้องเสียเป็นแบบนี้
รายได้ทั้งปี – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สูทธิ
ซึ่ง “เงินได้สุทธิ” ตรงนี้ก็จะนำไปเข้าคิดตามอัตราภาษีแบบขั้นบันได และได้ออกมาเป็นภาษีที่เราต้องเสีย
โดย ค่าใช้จ่าย จะเป็นค่าที่กฏหมายกำหนดไว้แล้วว่า สามารถหักได้แบบไหนเท่าไหร่ ตามลักษณะของรายได้ ซึ่งการหักค่าใช้จ่ายนั้นจะมีอยู่ 2 แบบ คือ
– หักแบบเหมา ซึ่งแบบนี้ไม่ต้องใช้เอกสารในการประกอบเพื่อหักค่าใช้จ่าย โดยในโปรแกรมยื่นภาษีออนไลน์จะคิดมาให้เลยมา รายได้เราที่เป็นลักษณะนี้จะหักได้เท่าไหร่
– หรือหักตามจริง แบบนี้ต้องมีเอกสารประกอบว่า เรามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่นำมาหักออกจากรายได้
ซึ่งรายได้บางประเภทสามารถเลือกได้ว่าจะให้หักแบบไหน แต่รายได้บางประเภทก็ต้องหักแบบเหมาะเท่านั้น
ดังนั้นเรื่องต่อมาที่เราต้องรู้จักคือ “ลักษณะของรายได้” จากที่เล่าข้างต้นว่า จะหักค่าใช้จ่ายได้แบบไหน เท่าไหร่ ขึ้นกับลักษณะของรายได้ ที่เขาเขียนเป็นเลข 40(1) – 40( 8 ) ซึ่งที่เราคุ้นเคยกันดีสำหรับมนุษย์เงินเดือนคือ 40(1) มาดูการหักค่าใช้จ่าย ของรายได้แต่ละประเภทกัน
– 40(1) เป็นรายได้ประเภทเงินเดือน โบนัส บำเหน็จ บำนาญ และ 40(2) เป็นรายได้จากการจ้างงาน ค่านายหน้า ซึ่งลักษณะรายได้แบบนี้ จะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้แบบเหมาเท่านั้น และแบบเหมาที่ว่า หักรวมกัน (40(1) + 40(2)) ได้ 50% ของรายได้ แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บ. ซึ่งจะเห็นว่ามีเพดานตรงนี้อยู่ ทำให้รายได้ประเภทนี้มักโดนภาษีค่อนข้างมาก เพราะหักค่าใช้จ่ายได้น้อย
– 40(3) เป็นรายได้ประเภทค่าลิขสิทธิ์ สามารถหักแบบเหมาได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บ. หรือหักตามจริง
– 40(4) เป็นรายได้ประเภทดอกเบี้ย เงินปันผล อันนี้หักค่าใช้จ่ายไม่ได้นะ
– 40(5) รายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน หักแบบเหมาได้ 10-30% (ขึ้นกับลักษณะทรัพย์สินที่ให้เช่า) หรือหักตามจริง
– 40(6) รายได้จากวิชาชีพอิสระ แพทย์ กฏหมาย วิศวะ สถาปัตย์ บัญชี ซึ่งสามารถหักแบบเหมาได้ 30-60% ขึ้นกับลักษณะวิชาชีพ หรือเลือกหักตามจริง
ถ้าเป็นแพทย์จะหักรายได้ 40(6) แบบเหมาได้ 60% ซึ่งจะเห็นว่าตรงนี้ไม่มีเพดานกำหนดไว้ ไม่เหมือนรายได้ 40(1) และ (2)
– 40(7) รายได้จากการรับเหมา หักแบบเหมาได้ 60% ของเงินได้ หรือหักตามจริง
– 40( 8 ) รายได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร หรือรายได้ประเภทอื่นๆ ที่ไม่อยู่ใน (1)-(7) เลือกหักเหมาหรือจ่ายจริง
ดังนั้นจะเห็นว่า การหักค่าใช้จ่าย หักได้เท่าไหร่กฏหมายกำหนดไว้แล้ว ดังนั้นถ้าเราไม่สามารถเปลี่ยนลักษณะของรายได้ อย่างเช่น มนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้เป็น 40(1) และ 40(2) ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้เราประหยัดภาษีได้มากขึ้น คือ หาค่าลดหย่อนมาหักเพิ่มเติม
ค่าลดหย่อน คือ สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่กฏหมายให้ตามภาระ และสถานการณ์อื่นๆ เช่น
– ค่าลดหย่อนที่เกี่ยวกับภาระ เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว ค่าลดหย่อนพ่อแม่ ดูแลบุตร คู่สมรส ดอกเบี้ยบ้าน ค่าเบี้ยประกันชีวิต
– ค่าลดหย่อนจากลงทุน เช่น SSF, RMF, PVD, กบข.
– ค่าลดหย่อนเงินบริจาค
ดังนั้นค่าลดหย่อนตรงนี้ก็จะค่อนข้างเปลี่ยนแปลง ตามนโยบายของรัฐบาลด้วย ซึ่งแต่ละปีอาจไม่เหมือนกัน อันนี้เราต้องคอยตามดูว่า ปีภาษีที่เราเสียมีอะไรลดหย่อนได้บ้าง
สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่การหักค่าใช้จ่ายนั้นมีเพดาน สิ่งที่เราทำได้คือ เพิ่มค่าลดหย่อน เพื่อให้เหลือเป็น “เงินได้สุทธิ” ก่อนนำไปเข้าคิดอัตราภาษีให้น้อยลง เพื่อที่จะประหยัดภาษีได้มากขึ้น
ใกล้จะครบเวลายื่นภาษีแบบออนไลน์สำหรับปีภาษี 64 ในวันที่ 8 เมษายนนี้แล้ว ใครยังไม่ได้ยื่น อย่าลืมยื่นกันนะ
#ภาษี #ภาษีเงินปันผล #ยื่นภาษี #คิดภาษี #ค่าใช้จ่าย #ค่าลดหย่อน #ค่าลดหย่อนภาษี #เงินได้8ประเภท #การคิดภาษี #หักค่าใช้จ่าย #คำนวณภาษี #หมอยุ่งอยากมีเวลา
ภาษี
ลดหย่อนภาษี
ค่าใช้จ่าย
บันทึก
6
3
6
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย