1 เม.ย. 2022 เวลา 02:37 • การศึกษา
การทดสอบความแข็งแรงคอนกรีต(Concrete Test Hammer)
การทดสอบความแข็งแรงคอนกรีต(Concrete Test Hammer)
หากพูดถึงการทดสอบความแข็งแรงของคอนกรีต คงคิดถึงภาพแล็บที่มีเครื่องมือเยอะแยะใช่ไหมคะ? แล้วถ้าบอกว่าแค่ ‘ค้อนอันเดียว’ ก็ทดสอบคอนกรีตที่แข็งตัวได้ ก็คงคิดว่าเอาค้อนปอนด์ไปทุบตึกใช่ไหม? ผิด! เดี๋ยวเราจะมาเล่าเรื่องการทดสอบคอนกรีตด้วยค้อนโดยไม่ทำลายตัวโครงสร้างให้อ่านกัน แป๊ปเดียวรู้เรื่อง!
การทดสอบความแข็งแรงคอนกรีตมีกี่แบบ?
การทดสอบความแข็งแรงคอนกรีตมีกี่แบบ?
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าคอนกรีตที่แข็งตัว มันแข็งแรงและเหมาะกับโครงสร้าง?เราจะมาแบ่งการทดสอบเป็น 2 แบบ คือ
1.แบบทำลาย เช่น การหล่อแท่งคอนกรีตแล้วนำมาเข้าเครื่องทดสอบแบบไฮดรอลิค โดยใช้แรงกดแท่งตัวอย่างมันแตก ซึ่งจะทำให้รู้ว่าคอนกรีตสูตรนี้สามารถรับแรงได้เท่าไร เหมาะกับการใช้งานแบบไหน
‍2.แบบไม่ทำลาย วิธีนี้จะใช้เครื่องมือเพื่อวัดความแข็งแรงของคอนกรีต เนื่องจากไม่ต้องทุบ หรือทำลายตัวอาคาร วิธีนี้จึงเหมาะกับการนำไปใช้กับโครงสร้างที่สร้างเสร็จแล้ว และต้องการตรวจสอบความแข็งแรงเมื่อมันมีอายุมากขึ้น เช่น วิธีการใช้ค้อนทดสอบความแข็งแรงของคอนกรีต
ค้อนทดสอบคอนกรีตคือ? แล้วมันใช้อย่างไร?
ค้อนทดสอบคอนกรีตคือ? แล้วมันใช้อย่างไร?
ค้อนที่เราพูดถึงนี้เรียกว่า ‘Concrete Test Hammer’ (หรือ ‘Rebound Hammer’, ‘Schmidt Hammer’)หน้าตาของค้อนจะเหมือนกับดินสอแท่งใหญ่ โดยจะมีสเกล (หรือจอแสดงผล) และกราฟสำหรับอ่านค่าที่วัดได้ติดอยู่ที่เครื่อง
วิธีการทดสอบก็แสนง่าย แค่กดหัวค้อนลงไปบนผิวคอนกรีตที่เรียบ ตัวสปริงด้านในเครื่องก็จะหดตัวเข้าไปและเด้งกลับเมื่อเรายกค้อนออกจากคอนกรีตที่ทดสอบ แรงสะท้อนจากสปริงจะทำให้เราอ่านค่า Rebound (R) ได้
จะรู้ได้อย่างไรว่าโครงสร้างที่ทดสอบด้วยค้อนนั้นแข็งแรง?
จะรู้ได้อย่างไรว่าโครงสร้างที่ทดสอบด้วยค้อนนั้นแข็งแรง?
ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น แรงสะท้อนจากตัวคอนกรีตที่กระทำกับสปริงจะทำให้เรารู้ว่าโครงสร้างนั้นมีความแข็งแรงระดับไหน โดยค่าบนสเกลของค้อนทดสอบจะแตกต่างกันไปตามรุ่น/ยี่ห้อ บางยี่ห้อก็เป็นจอดิจิทัลบอกค่าเลย (เช่น CST รุ่น HT 225-W) แต่ทั่วไปเราจะสามารถประเมินความแข็งแรงได้ตามค่า R คร่าวๆ ดังนี้
ค่า R มากกว่า 40 = คอนกรีตแข็งแรงมาก ผู้อยู่อาศัยสบายใจได้
ค่า R อยู่ระหว่าง 30-40 = คอนกรีตแข็งแรง อันนี้ก็ยังสบายใจได้อยู่
ค่า R อยู่ระหว่าง 20-30 = คอนกรีตเริ่มไม่แข็งแรง แต่สามารถหาวิธีเสริมความแข็งแรงได้
ค่า R น้อยกว่า 20 = คอนกรีตไม่แข็งแรง เตรียมย้ายออกจากอาคารได้เลย
ค่า R เท่ากับ 0 = หนีออกจากอาคารนั้นเลย คอนกรีตรับแรงไม่ได้แล้ว
อีกทั้งยังสามารถนำ ค่า R มาเทียบกับกราฟด้านข้างตัวเครื่องเพื่อดูว่าคอนกรีตนั้นรับแรงได้ประมาณเท่าไร ทั้งนี้ การทดสอบจะต้องทำหลายๆ จุด และเอาค่าที่ได้มาเฉลี่ยอีกครั้ง
SUMMARY
การทดสอบความแข็งแรงของคอนกรีตด้วย ‘Rebound Hammer’ หรือ ‘ค้อนทดสอบความแข็งแรงของคอนกรีต’ เป็นการทดสอบที่อาศัยหลักการสะท้อนกลับของสปริงในตัวเครื่อง
จัดเป็นการทดสอบที่ไม่ทำลายโครงสร้างคอนกรีต เหมาะกับการทดสอบคอนกรีตของอาคารที่สร้างเสร็จแล้ว ทั้งนี้จะต้องทดสอบหลายๆ จุดของตัวอาคาร เพื่อได้ค่าที่แม่นยำมากขึ้น
โฆษณา