Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Dime!
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
1 เม.ย. 2022 เวลา 12:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เรื่องการเงิน ที่คุณอาจเคยเข้าใจผิดมาก่อน
อย่างที่ทุกคนรู้กันดีว่าการเงินเป็นเรื่องใกล้ตัว และเกี่ยวข้องกับเราทุกคน แต่ทุกวันนี้ยังมีเรื่องการเงินบางเรื่อง ที่หลายคนอาจจะเคยเข้าใจผิดมาก่อน วันนี้เลยจะยกตัวอย่าง 3 เรื่องที่มักจะเข้าใจผิดกัน มาเล่าให้ทุกคนฟังครับ
1
🔸 1. การเป็นหนี้มีแต่ด้านที่ไม่ดี
“หนี้” เป็นคำที่พูดเบา ๆ ก็เจ็บ และหลายคนมักมองว่าการเป็นหนี้มีแต่ข้อเสีย ต้องบอกว่าการเป็นหนี้ไม่แย่เสมอไป ขึ้นอยู่กับว่าหนี้ที่เรามีเป็นหนี้แบบไหน เพราะหนี้ก็มีทั้งหนี้ดีและหนี้เสีย
หนี้ดีมักจะเป็นหนี้ที่กู้มา เพื่อสิ่งที่จำเป็นในการใช้ชีวิต เช่น หนี้เพื่อที่อยู่อาศัย และหนี้เพื่อการศึกษา หรือเป็นหนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้ตามมา เช่น หนี้เพื่อการลงทุนทำธุรกิจ มากกว่านั้นการเป็นหนี้ก็ต้องตามมาด้วยการผ่อนชำระคืน หนี้ที่ดีเลยควรเป็นหนี้ที่เราประเมินแล้วด้วยว่า เรามีความสามารถในการชำระหนี้คืนได้จริงด้วย
🔸 2. ถ้ารายได้ไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี จะไม่ต้องยื่นภาษี
หลายคนมักจะสับสนระหว่าง “การยื่นภาษี” กับ “การเสียภาษี” จนเข้าใจไปว่า “ถ้ารายได้ไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษี จะไม่ต้องยื่นภาษี” ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูก ที่ถูกคือถึงเราจะไม่ต้องเสียภาษี แต่ถ้ารายได้เราถึงเกณฑ์ยื่นภาษี ยังไงก็ยังต้องยื่นอยู่ โดยเกณฑ์ของการยื่นภาษีจะต่างกันไปตามเงื่อนไขของแต่ละคน เช่น มนุษย์เงินเดือนที่โสด และมีรายได้จากงานประจำอย่างเดียว ถ้ามีรายได้ทั้งปีเกิน 120,000 บาท จะต้องยื่นภาษี
🔸 3. วางแผนเกษียณโดยไม่ต้องคำนึงถึงผลของเงินเฟ้อก็ได้
ในการวางแผนเกษียณ หลังจากที่เรากำหนดอายุที่เราต้องการเกษียณ และประมาณจำนวนปีที่เราจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณแล้ว อีกสิ่งที่ต้องกำหนดด้วย คือ ค่าใช้จ่ายต่อเดือนที่จะใช้หลังเกษียณ หลายคนมักจะประมาณโดยเอาค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน ที่ยังไม่ได้เอาผลของ “เงินเฟ้อ” มาคำนวณเลย ซึ่งการทำแบบนี้จะทำให้เราประมาณเงินที่ต้องใช้ตอนเกษียณต่ำเกินไป
1
สำหรับคนที่ยังงงว่าเงินเฟ้อ คืออะไร ? อธิบายง่าย ๆ เงินเฟ้อเป็นภาวะที่ระดับราคาสินค้าในประเทศปรับสูงขึ้น จนทำให้เงินเท่าเดิมที่เรามี ซื้อของได้น้อยลง เช่น เมื่อก่อนเรามีเงิน 120 บาท อาจซื้อข้าวผัดกะเพราได้ 4 จาน แต่ตอนนี้กลับซื้อได้แค่ 2 จาน (หรือไม่ก็ซื้อได้ 4 จานเท่าเดิม แต่ปริมาณอาหารในจานน้อยลง) ผลของเงินเฟ้อเลยทำให้เราต้องเตรียมเงิน เผื่อไว้เป็นค่าใช้จ่ายในวัยเกษียณมากขึ้นตามด้วย
ทั้งสามข้อที่เล่าไป เป็นตัวอย่างของเรื่องการเงินที่คนมักเข้าใจผิด ที่เอามาฝากทุกคนในวันนี้ คราวหน้าเราจะมีเรื่องการเงินอะไรมาฝากทุกคนอีกอยากให้ติดตามกันครับ
เยี่ยมชม
blockdit.com
Dime!
1.5K ผู้ติดตาม Dime! อยากให้การเงินการลงทุน เป็นเรื่องที่ทุกคนเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม ติดตามเราในช่องทางอื่น facebook.com/dimeinvest tiktok.com/@dime.finance
"เพราะการเงินเป็นเรื่องของทุกคน"
พวกเรากลุ่มคนที่รักเรื่องราวของการเงินการลงทุนเป็นชีวิตจิตใจ จึงก่อตั้งเพจ Dime! (ไดม์!) ขึ้น
Dime! แปลว่าเหรียญ 10 เซนต์ (ประมาณ 3 บาท) สื่อถึงความตั้งใจของเราที่จะทำให้การเงินการลงทุนเป็นเรื่องที่คุณเข้าถึงได้ เข้าใจง่าย และนำไปประยุกต์ใช้ต่อได้จริง เหมือนกับเงิน 1 ไดม์ ที่ใคร ๆ ก็สามารถเข้าถึงได้
หากทุกคนมีความรู้ทางการเงินที่แข็งแรง
สังคมของเราก็จะดีขึ้นตามไปด้วย
การเงิน
ภาษี
วางแผนการเงิน
11 บันทึก
13
6
11
13
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย