Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนแมน
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
3 เม.ย. 2022 เวลา 02:50 • ธุรกิจ
ฟูดดิลิเวอรีในไทย กำลังแข่งขันกัน ดุเดือดสุดในโลก
11
ตอนนี้ตลาดฟูดดิลิเวอรีในประเทศไทย มีผู้เล่นรายใหญ่อยู่ 3 ราย นั่นก็คือ
อันดับ 1 Grab
อันดับ 2 Foodpanda
อันดับ 3 LINE MAN Wongnai
นี่ยังไม่นับอีกหลายรายที่เกิดใหม่ในตลาด ทั้ง Robinhood และ ShopeeFood
4
ปี 2021 Grab มีรายได้ 22,000 ล้านบาท และขาดทุน 116,000 ล้านบาท
ตัวเลขนี้สะท้อนได้ดีว่า อุตสาหกรรมฟูดดิลิเวอรี มันมีการแข่งขันที่ดุเดือดขนาดไหน
24
1
ขนาด Grab ที่อยู่อันดับ 1 ยังขาดทุนขนาดนี้ อันดับที่เหลือก็คงยากที่จะกำไร
แล้วสงครามครั้งนี้มันจะไปสุดที่ตรงไหน ?
ลงทุนแมนจะวิเคราะห์ให้ฟัง
ถ้าพูดถึงตลาดฟูดดิลิเวอรีในโลกนี้
ฝั่งสหรัฐอเมริกา ก็จะมีพวก DoorDash, Grubhub, Uber Eats
ถ้าฝั่งจีน ก็จะมี Meituan, Eleme
แต่รู้หรือไม่ว่าในตลาดอาเซียน เป็นตลาดที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และเป็นตลาดที่ใหญ่มากสำหรับฟูดดิลิเวอรีแห่งหนึ่งในโลก
2
นั่นอาจเป็นเพราะแต่ละเมืองในอาเซียนเป็นเมืองที่คนอาศัยอยู่หนาแน่น คนขับมอเตอร์ไซค์กันมาก ภูมิอากาศเหมาะกับการขับมอเตอร์ไซค์ ไม่ได้หนาวเย็นเหมือนภูมิภาคอื่น และมอเตอร์ไซค์นี่แหละเป็นยานพาหนะที่คล่องตัวเหมาะกับธุรกิจฟูดดิลิเวอรีมาก
4
เมื่อมีมอเตอร์ไซค์เยอะ ก็แปลว่ามีไรเดอร์ที่พร้อมจะมาร่วมธุรกิจแพลตฟอร์มฟูดดิลิเวอรีมากนั่นเอง
1
แล้วในอาเซียน ตลาดไหนน่าสนใจที่สุด ?
1
เป็นเรื่องที่น่าแปลกที่ Grab เกิดขึ้นในมาเลเซีย ตอนนี้มีสำนักงานอยู่ในสิงคโปร์ แต่กลับกลายเป็นว่าตลาดใหญ่ของ Grab กลับไม่ใช่ ทั้ง 2 ประเทศนี้ แต่กลับเป็น อินโดนีเซีย และประเทศไทย ที่ Grab ก็เป็นผู้นำทั้ง 2 ตลาด แต่ผู้เล่นอันดับรองลงมาของทั้ง 2 ตลาดจะต่างกันออกไป
4
และถ้าถามว่าตลาดฟูดดิลิเวอรีที่ไหนมีการแข่งขันที่ดุเดือด เข้มข้นที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
คำตอบก็คือประเทศไทย
6
1
ในตอนแรกสุด Foodpanda เป็นผู้เริ่มทำตลาดนี้ในประเทศไทย
แต่หลังจากที่ Grab ได้ Pivot ตัวเองจากการเป็น Ride-Hailing ที่รับส่งคนเป็นหลัก มาเน้นธุรกิจ Food Delivery หรือส่งอาหาร ก็ทำให้ Grab ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในตลาดนี้อย่างรวดเร็ว
2
ด้วยการใช้สีเขียวสะดุดตา ชื่อเรียกสั้นที่จำง่าย การรีแบรนด์โดยตัดคำว่า Taxi ออกจากชื่อ และการมีพาร์ตเนอร์จำนวนมากใส่ชุดยูนิฟอร์มของ Grab ก็เพียงพอที่จะทำให้เกิด Generic Brand ขึ้นมา ถ้าใครพูดว่าสั่ง Grab ทุกคนจะเข้าใจได้ว่าคือ การสั่งฟูดดิลิเวอรี
3
ผู้เล่นอันดับที่ 3 ในไทยคือ LINE MAN Wongnai ที่ก่อนหน้านี้ใช้ประโยชน์จากผู้ใช้งานจำนวนมากที่อยู่ใน LINE แอปแช็ตอันดับ 1 ของประเทศไทย ที่คนไทยทุกคนต้องมีแอปนี้
2
อย่างไรก็ตาม เกมของฟูดดิลิเวอรี มันเป็นคนละเกมกับแอปแช็ตที่ LINE ชนะไปแล้ว
เกมของฟูดดิลิเวอรี ต้องการกระสุนเงินสดในการทำตลาด และพันธมิตรที่รู้จักและเข้าใจพฤติกรรมของผู้คนในประเทศไทยเป็นอย่างดี
2
ในวันที่คนไทยแห่กันกินชานมไข่มุก ต่อมาก็เปลี่ยนไปเป็นครัวซองต์ คนต่างประเทศอาจจะไม่เข้าใจ แต่ผู้ที่ทำธุรกิจในไทยเข้าใจดีว่า กระแสการกินอาหารของสังคมไทยมันเปลี่ยนไปอย่างไร
ดังนั้น LINE MAN ก็เลยควบรวมกับ Wongnai แพลตฟอร์มรีวิวอาหารสัญชาติไทย ซึ่งเมื่อก่อนเป็นพันธมิตรกันหลวม ๆ แต่มาวันนี้ สองบริษัทรวมกันเป็นหนึ่งเดียว และได้เงินทุนเพิ่มจาก VC มาหลายพันล้านบาท ใส่เข้ามาร่วมแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดที่กำลังเติบโตอย่างร้อนแรง
6
และต่อมา เกิดเหตุการณ์น้ำผึ้งหยดเดียว ที่แอดมินโซเชียลของ Foodpanda ไปยุ่งเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเมือง ทำให้เกิดกระแสต่อต้าน ซึ่งเปิดโอกาสให้ LINE MAN Wongnai ก้าวขึ้นมามีส่วนแบ่งที่มากขึ้นหลังจากนั้น
26
สำหรับ Robinhood ที่มีความเก่งกาจเรื่องการหาช่องว่างทางการตลาด มาชูจุดเด่นในการช่วยเหลือร้านค้า ก็ทำให้มีพื้นที่ของแบรนด์นี้ในตลาดขึ้นมา
2
อย่างไรก็ตาม Robinhood ก็ยังอยู่ในจุดที่ห่างไกลจากผู้เล่นหลักทั้ง 3 ราย และแน่นอนว่า การที่อยู่อันดับท้าย ๆ จะทำให้การดำเนินธุรกิจไม่สามารถถึงจุดคุ้มทุน และ Robinhood ต้องทำอะไรสักอย่างให้ขาดทุนน้อยลง.. แต่ก็คงไม่เป็นไร เพราะมีบริษัทแม่อย่าง SCB ที่มีกำไรปีละหลายหมื่นล้านบาทคอยสนับสนุน
3
และผู้เล่นรายล่าสุดก็คือ ShopeeFood ที่ล่าสุดมีโปรโมชัน ลดแลกแจกแถมมากมาย เพื่อขอแทรกตัวเข้ามาเล่นในตลาดนี้ด้วย
3
เหตุผลที่เป็นไปได้ก็คือ Shopee เห็นขนาดของตลาดนี้ที่ใหญ่มาก และ Shopee ก็มีผู้ใช้งานจำนวนมาก มีระบบการรับและจ่ายเงินที่พร้อมอยู่แล้ว ถึง Shopee ไม่เข้ามาในตลาดวันนี้ แต่ถ้า Shopee อยากเป็นซูเปอร์แอปที่ทำได้ทุกอย่าง ก็ต้องเข้ามาในตลาดนี้ในวันหน้าอยู่ดี
2
ดังนั้นต้นทุนที่สำคัญที่สุดของ Shopee อาจจะไม่ใช่เงิน แต่เป็น “เวลา”
ยิ่งเข้าช้า จะยิ่งเสียเปรียบผู้เล่นเดิมที่อยู่ในตลาด
3
มาจนถึงตอนนี้ ถ้าพูดถึงเรื่องเงินทุน ทุกคนก็น่าจะไม่มีปัญหาอะไร
Grab, Foodpanda, LINE MAN, Robinhood, ShopeeFood ต่างคนต่างมีเงินทุนเป็นพันล้านหมื่นล้านบาทจาก VC หรือตลาดหลักทรัพย์
4
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ก็แข่งขันกันเละตุ้มเป๊ะ
1
ดังนั้นคำถามที่เกิดขึ้นก็คือ แล้วสงครามครั้งนี้ มันจะไปจบที่ตรงไหน ?
3
คำตอบก็คือ น่าจะจบเมื่อมีผู้เล่นค่อย ๆ ยอมแพ้ เพราะรู้ตัวว่าแข่งไม่ได้ แข่งไปก็ไม่ชนะ
1
ซึ่งหัวใจหลักของธุรกิจนี้ที่จะทำให้ชนะ ก็น่าจะเป็น
1. ความสามารถในการบริหารต้นทุน
2. การทำให้แพลตฟอร์มเข้าไปอยู่ในใจผู้บริโภคที่ต้องการเปิดแอปในทุกวัน
3
เรื่องความสามารถในการบริหารต้นทุน ก็จะประกอบด้วยกันหลายส่วน เช่น Economies of Scale ถ้าแพลตฟอร์มยิ่งมีผู้ใช้งานจำนวนมาก ก็จะทำให้ต้นทุนในการพัฒนาต่อลูกค้า 1 คน ลดลง..
1
เช่น ถ้า Grab ใช้เงินเท่ากันกับ Robinhood ในการจ้างพนักงานมาทำระบบ แต่ระบบของ Grab ทำให้กับผู้ใช้งานทั้งอาเซียน แต่ของ Robinhood ทำให้กับแค่ในประเทศไทย ความได้เปรียบในเรื่องต้นทุนของ Grab ก็จะมีมากกว่าในระยะยาว
1
หรือแม้แต่การมีไรเดอร์จำนวนมากอยู่ทุกหนทุกแห่ง ทุกมุมถนน ก็จะได้เปรียบกว่า เพราะไรเดอร์จะขับในระยะทางที่สั้นกว่าในการส่งมอบอาหาร เมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มที่มีไรเดอร์น้อย
5
นอกจากนั้น การบริหารต้นทุนก็สามารถช่วยได้จากการพัฒนาเทคโนโลยีที่ดีขึ้น เช่น ถ้าระบบสามารถส่งคำสั่งให้ไรเดอร์ที่อยู่ใกล้ที่สุดไปซื้ออาหารที่ใกล้ที่สุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะสามารถทำให้ลดต้นทุนได้ ทั้งที่จำนวนลูกค้าเท่าเดิม
5
ซึ่งการทำโปรโมชันลดแลกแจกแถม ก็น่าจะทำได้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่สิ่งที่จะเป็นตัวชี้วัดในเกมนี้ระยะยาว ก็คือประสิทธิภาพในการจัดการต้นทุนนั่นเอง
5
และอีกประเด็นหนึ่งที่จะทำให้ผู้เล่นนั้นชนะ ก็คือ ต้องทำอย่างไรก็ได้ให้แบรนด์เข้าไปอยู่ในใจผู้คน เมื่อนึกถึงอาหารจะนึกถึงแอปนั้น เมื่อนึกถึงของที่อยากกิน จะต้องมีของนั้นอยู่ในแอปเสมอ..
1
ไม่ว่าจะเป็นหน้าตาแอปที่ใช้ง่าย การให้แบรนด์เข้าไปอยู่ในทุกช่วงชีวิตของผู้คน
2
การให้ผู้คนรีวิวอาหาร แล้วให้คนอื่นเปิดสิ่งที่คนก่อนหน้าได้รีวิวในแพลตฟอร์มรีวิวอาหาร อาจจะใช้ได้ผลในระดับหนึ่ง แต่ในสมัยนี้ การรีวิวอาหาร มันถูกทำให้เนียนไปกับแพลตฟอร์มโซเชียลที่คนไทยใช้อยู่ทุกวัน ยกตัวอย่างเช่น คนสมัยนี้อาจเห็นรูปขนมสวย ๆ ใน Instagram แล้วอยากกิน มากกว่าการเข้าไปอ่านในเว็บไซต์รีวิวขนม
2
ดังนั้นในกรณีนี้ ฟูดดิลิเวอรีก็อาจต้องให้ความสำคัญกับคอนเทนต์ และการทำตลาดในโลกโซเชียลของผู้คน และร้านค้าที่เกี่ยวข้อง ในโลกที่ผู้บริโภคมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้แบรนด์นั้นอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คนได้
1
ย้อนกลับไป 10 ปีที่แล้ว
คนไทยยังนึกไม่ออกว่าการส่งอาหารมาถึงที่ มันจะเป็นแบบไหน ในวันนั้นเราอาจนึกได้แต่การสั่งพิซซา
1
แต่ในวันนี้ การสั่งอาหารทุกเมนู กลายเป็นเรื่องปกติสำหรับทุกคน โดยมีโควิดเป็นตัวเร่ง ที่ทำให้ทุกอย่างขยับเข้ามาเร็วขึ้น
1
และถ้าถามว่าอีก 10 ปีข้างหน้า การส่งอาหารถึงที่ในไทยจะเป็นอย่างไร
เราก็คงนึกไม่ออกเหมือนกัน
3
แต่ที่รู้แน่ ๆ ก็คือ
การแข่งขันที่ดุเดือดในวันนี้ของตลาดฟูดดิลิเวอรี
จะสร้างงานให้กับไรเดอร์จำนวนมาก
จะสร้างรายได้ให้กับร้านอาหารมหาศาล ถึงแม้ว่าจะต้องเสียส่วนแบ่งให้แพลตฟอร์ม
ผู้บริโภค ก็จะมีความสะดวกสบายมากขึ้น นึกอยากกินอะไร อีกไม่นานก็ได้กิน
6
และสุดท้าย ผู้ให้บริการฟูดดิลิเวอรี ถ้ายังต้องแข่งกันด้านราคา ก็น่าจะต้องขาดทุนไปเรื่อย ๆ จนกว่าผู้เล่นที่แพ้จะยอมรับ ว่าตัวเอง แพ้จริง ๆ..
2
ธุรกิจ
ฟูดดิลิเวอรี
80 บันทึก
142
18
88
80
142
18
88
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย