1 เม.ย. 2022 เวลา 12:36 • ข่าวรอบโลก
"ญี่ปุ่น"ประกาศความร่วมมือโครงการผลิตน้ำมันและก๊าซที่ใหญ่ที่สุดในโลกกับ"รัสเซีย"
3
ล่าสุด!! นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้ออกมาแถลงการณ์ว่า ญี่ปุ่นได้ยืนยันความร่วมมือโครงการก๊าซซาคาลิน-2 กับรัสเซียต่อไป เนื่องจากเกรงว่าจะส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจในระยะยาว
6
บทความได้ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา และความชัดเจนเรื่องนี้
4
โดยนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ฟุมิโอะ คิชิดะ ได้กล่าวในระหว่างการประชุมรัฐสภาของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 31 มีนาคมว่า..
"โครงการความร่วมมือ Sakhalin-2 ระหว่างรัสเซีย-ญี่ปุ่น เป็นโครงการที่สำคัญอย่างยิ่ง
ในแง่ของความมั่นคงด้านพลังงาน
3
เพราะมันช่วยสร้างอุปทาน
ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ราคาถูก
มีเสถียรภาพ และระยะยาว
1
เรือบรรทุก LNG ของญี่ปุ่นจอดทอดสมอใกล้เกาะ Sakhalin  📷 รอยเตอร์
นายกรัฐมนตรีฟุมิโอะ คิชิดะ กล่าวในระหว่างการประชุมรัฐสภา
"ประกาศว่าจะส่งเสริมโครงการก๊าซ
กับรัสเซียต่อไป"
5
แถลงการณ์ยืนยันการไม่ถอนตัวจากโครงการ Sakhalin-2 จัดทำโดยนายกรัฐมนตรี Kishida
ในบริบทที่สหรัฐฯ และพันธมิตรกำลังเพิ่มแรงกดดันในการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย ในปฎิบัติการแทรกแซงทางทหารในยูเครน
รวมถึงความพยายามที่จะลดการพึ่งพาน้ำมัน
และก๊าซ จากรัสเซีย
Sakhalin-2
เป็นหนึ่งในโครงการน้ำมันและก๊าซครบวงจรที่เน้นการส่งออกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
รวมถึงโครงการ LNG นอกชายฝั่งโครงการแรกของรัสเซีย
7
การถือหุ้น
- กลุ่มมิตซุยของญี่ปุ่นถือหุ้น 12.5% ​​
- มิตซูบิชิคอร์ปอเรชั่นถือหุ้น 10%
- Gazprom ของรัสเซียถือหุ้น 50%
ในโครงการ Sakhalin-2 แห่งนี้
7
การประกาศของนายกรัฐมนตรีคิชิดะถือเป็นชัยชนะของกระทรวงพาณิชย์ของญี่ปุ่นในด้านนโยบายพลังงานและเอาใจผู้ประกอบการด้านการลงทุนของประเทศที่ถือหุ้นใน Sakhalin-2 และโครงการอื่นๆ ในญี่ปุ่น รัสเซีย
6
สาเหตุที่ญี่ปุ่นให้ความสำคัญต่อโครงการนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์หลายแห่งของประเทศถูกปิดตัวลง นับตั้งแต่เกิดอุบัติเหตุกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะในปี 2554
3
แม้ว่านายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นจะยืนยันว่า
"ไม่มีการถอนตัวจากโครงการร่วมรัสเซีย Sakhalin-2
5
แต่นายกรัฐมนตรี Kishida ยังแจกยาหอมตะวันตก โดยให้คำมั่นสัญญาว่าจะพยายามร่วมมือกับกลุ่ม G7 เพื่อลดการพึ่งพาพลังงานรัสเซีย
6
ในความเป็นจริง ญี่ปุ่นพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียเป็นเวลากว่าทศวรรษแล้ว
สาเหตุที่ญี่ปุ่นใช้ก๊าซของรัสเซีย ก็เพื่อลดการพึ่งพาน้ำมันในตะวันออกกลาง
2
ตามรายงานขององค์การการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น รัสเซียจัดหาน้ำมันดิบ 3.6% และ LNG 8.8% ให้ประเทศญี่ปุ่นในปี 2564 ที่ผ่านมา
แม้ว่าจะคิดเป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของการนำเข้า LNG ทั้งหมดในประเทศญี่ปุ่น แต่ก๊าซของรัสเซียก็มีราคาที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในตลาด
4
บริษัทก๊าซและไฟฟ้าของญี่ปุ่นหลายแห่งก็ใช้ LNG จากรัสเซียเช่นกัน LNG คิดเป็นสัดส่วนหนึ่งในสี่ของพลังงานผสมทั้งหมดในประเทศญี่ปุ่น และใช้ในการผลิตไฟฟ้า 36% ของประเทศ
4
หน่วยงานด้านพลังงานกล่าวว่า
ญี่ปุ่นจะต้องจ่ายเพิ่มอีก 3 ล้านล้านเยน
(25 พันล้านดอลลาร์) ในกรณีที่ถูกบังคับให้เปลี่ยน LNG ของรัสเซียด้วยก๊าซในตลาด ณ จุดขาย
7
สถาบันเศรษฐศาสตร์พลังงานแห่งประเทศญี่ปุ่นกล่าวว่า..
"แม้ว่าจะมีการรับประกันอุปทาน
แต่ราคาก๊าซก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก"
4
และหากถอนตัวจากโครงการ Sakhalin-2 แล้วก็แปลว่า ญี่ปุ่นจะสูญเสียสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์จากก๊าซบนเกาะ Sakhalin ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ญี่ปุ่นยังอ้างกรรมสิทธิ์ร่วมกับรัสเซีย
3
และที่สำคัญ ญี่ปุ่นจะถูกคุกคามเป้าหมายของความเป็นอิสระด้านพลังงาน
3
จนถึงตอนนี้ กลุ่ม G7 ได้ตกลงใจเพียงความพยายามในการลดการพึ่งพาพลังงานของรัสเซียเท่านั้น แทนที่จะหยุดซื้อพลังงานทันที
3
เมื่อวันที่ 25 มีนาคม เยอรมนีได้ประกาศแผนการที่จะลดก๊าซจากรัสเซียประมาณหนึ่งในสาม
แต่ยังเตือนถึง ผลเลวร้ายที่ตามมา
หากพวกเขากำหนดให้มีการห้ามขนส่ง
น้ำมันและก๊าซจากรัสเซียในทันที
3
รู้จักโครงการ Sakhalin2
ซาคาลิน-2 เป็นหนึ่งในโครงการน้ำมันและก๊าซแบบบูรณาการที่มุ่งเน้นการส่งออกที่ใหญ่ที่สุดในโลก
4
รวมถึงโครงการก๊าซนอกชายฝั่งโครงการแรกของรัสเซีย Sakhalin Energy Investment Company Ltd.
ดำเนินโครงการมี Gazprom, Mitsui และ Mitsubishi เป็นเจ้าของ
โครงสร้างพื้นฐานของโครงการประกอบด้วยแท่นขุดเจาะนอกชายฝั่ง 3 แห่ง โรงงานแปรรูปบนบก ท่อส่งน้ำมันนอกชายฝั่ง 300 กิโลเมตร ท่อส่งน้ำมันบนบก 1,600 กิโลเมตร คลังส่งออกน้ำมัน และโรงงานก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG)
6
โครงการ Sakhalin-2 เป็นแหล่งจัดหาตลาดก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ประมาณ 4% ของโลกในปัจจุบัน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีนเป็นลูกค้าหลักในการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเหลว
โดยโรงงาน LNG มีกำลังการผลิต LNG ได้ราว 11 ล้านตัน/ปี มีท่อส่งยาว 800 กิโลเมตร ขนานกันสองท่อ
1
โครงการนี้ถือเป็นโครงการผลิตน้ำมันและก๊าซที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ในปัจจุบันนี้
3
References
เรียบเรียงโดย
สาระอัปเดต
1 เมษายน 2565
1
โฆษณา