Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bumrungrad Spine Institute
•
ติดตาม
25 เม.ย. 2022 เวลา 04:11 • สุขภาพ
การฉีดยาเข้าที่โพรงกระดูกสันหลัง
อาการปวดหลังและคอเป็นปัญหาทั่วไปและบางครั้งอาจเป็นเหตุให้เกิดความพิการได้ บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยจัดการกับอาการดังกล่าวด้วยตนเองโดยไม่พบผู้เชี่ยวชาญ หรือบางรายรับการรักษาแบบดั้งเดิม แต่หากอาการยังไม่ทุเลา การฉีดยาเข้าที่โพรงกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นวิธีการจัดการกับอาการปวดหลัง ปวดคอที่ไม่ต้องผ่าตัด อาจเป็นทางเยียวยาที่ดีที่สุดเพื่อจัดการกับอาการปวดนั้น
1
การฉีดยาเข้าที่โพรงกระดูกสันหลังคืออะไร
การฉีดยาเข้าที่โพรงกระดูกสันหลังเป็นวิธีการที่ไม่ต้องผ่าตัดเพื่อบรรเทาอาการ เพื่อหาสาเหตุของอาการปวดหลังหรือคอ โดยกำหนดระดับของข้อกระดูกสันหลังจากอาการปวดด้วยการตรวจร่างกาย เอกซเรย์ เอ็มอาร์ไอ เพื่อค้นหาจุดที่ทำให้เกิดอาการปวด
การฉีดยาเข้าที่โพรงกระดูกสันหลังส่วนใหญ่เป็นการฉีดยาผสมระหว่างคอร์ติโคสเตียรอยด์และยาชา ฉีดเข้าไปในโพรงกระดูกสันหลังหรือใกล้กับบริเวณที่มีอาการปวด โดยการใช้เครื่องเอกซเรย์ชนิดเคลื่อนที่ได้ที่เรียกว่า ฟลูออโรสโคปี (fluoroscopy) เพื่อตรวจสอบตำแหน่งที่ถูกต้องของเข็ม และยืนยันตำแหน่งโดยการฉีดสีสารทึบแสงเอกซเรย์ (contrast dye)
การฉีดยาเข้าที่โพรงกระดูกสันหลังซึ่งใช้รักษาโรคนี้จะให้ประสิทธิผลดีที่สุดเมื่อทำร่วมกับกายภาพบำบัด และ/หรือโปรแกรมการออกกำลังกายที่บ้านเพื่อสร้างความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อหลังและคอ สำหรับผู้ป่วยที่อาการปวดบรรเทาลงมากแล้ว การรักษาเพิ่มเติมหรือการผ่าตัดอาจไม่จำเป็นก็ได้
การฉีดยาเข้าที่โพรงกระดูกสันหลังทำอย่างไร
การฉีดยาเข้าที่โพรงกระดูกสันหลังสามารถทำได้ขณะที่ผู้ป่วยยังรู้สึกตัวอยู่ แต่ในบางรายอาจต้องได้รับยาระงับประสาทอย่างอ่อน (mild sedative) เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย
ขั้นตอนโดยทั่วไปของการฉีดมีดังนี้
แพทย์จะสอดเข็มขนาดเล็กเข้าไปโดยใช้เครื่องเอกซเรย์เพื่อช่วยตรวจสอบตำแหน่งของเข็ม หลังจากสอดเข้าไปแล้วจะฉีดยาผสมระหว่างยาชาและสเตียรอยด์เข้าไป จากนั้นจะเฝ้าสังเกตผู้ป่วยเป็นเวลา 30 นาที เพื่อความปลอดภัยควรมีผู้มารับผู้ป่วยกลับบ้าน และพักผ่อนอย่างน้อย 24 ชั่วโมงหลังจากนั้น ในผู้ป่วยบางรายสเตียรอยด์จะออกฤทธิ์ในอีกสองสามวัน โดยปกติแล้วผลการฉีดยาเข้าที่โพรงกระดูกสันหลังจะมีผลอยู่ประมาณ 3-6 เดือน
การฉีดยาเข้าข้อต่อกระดูกสันหลัง:
youtube.com
การฉีดยาเข้าข้อต่อกระดูกสันหลัง | โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กรุงเทพ
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์: ข้อต่อ facet เป็นข้อต่อที่อยู่ด้านหลังของกระดูกสันหลังซึ่งเมื่อเกิดการอักเสบแล้ว สามารถทำให้เกิดการปวดหลังเรื้อรังขึ้นได้ การฉีดยาเข้าข...
เยี่ยมชม
การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาท:
youtube.com
การฉีดยาเข้าโพรงประสาท | โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กรุงเทพ
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์: การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาท ช่วยลดอาการปวดที่เกิดจากการอักเสบของเส้นประสาทสันหลังได้ แพทย์จะสอดเข็มเล็กๆ เข้าไปในโพรงประสาทโดยใช้เ...
เยี่ยมชม
ใครคือผู้ที่ควรเข้ารับการรักษานี้
1.
ผู้ป่วยที่แพทย์แนะนำให้เข้ารับการฉีดยาเข้าที่โพรงกระดูกสันหลัง
2.
ผู้ที่มีอาการปวดจนกระทั่งไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้
3.
ผู้ที่มีอาการปวดรบกวนการนอนหลับ
4.
ผู้ป่วยที่ไม่ประสบผลสำเร็จจากการรักษาแบบอื่นๆ เช่น ยารับประทาน และเวชศาสตร์ฟื้นฟู
5.
ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงจากการผ่าตัด
ควรใช้วิธีการใด
ส่วนใหญ่การเลือกเทคนิคการฉีดจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งของอาการปวดและโครงสร้างอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ต้นเหตุทั่วไปของอาการปวด คือ ปวดรากประสาท ปวดข้อต่อ ปวดกล้ามเนื้อ หรืออาการดังกล่าวรวมกัน การฉีดยาเข้าที่โพรงกระดูกสันหลังส่วนใหญ่ ได้แก่
การฉีดสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาทไขสันหลัง
การฉีดสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาทไขสันหลังจะรักษาอาการปวดที่มีสาเหตุจากประสาทไขสันหลังอักเสบ อัตราประสบผลสำเร็จจะแตกต่างกัน
อาการเกิดขึ้นน้อยกว่า 3 เดือน: ประสบผลสำเร็จ 90%
อาการเกิดขึ้นประมาณ 6 เดือน: ประสบผลสำเร็จ 70%
อาการเกิดขึ้น 1 ปี: ประสบผลสำเร็จ 50%
ผลที่ได้รับอาจเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว โดยเกิดขึ้นหลายสัปดาห์จนถึงหลายปี โดยปกติผู้ป่วยอาจต้องฉีดยา 1-2 ครั้ง จะเห็นผลการรักษาภายใน 3-10 วันหลังจากการฉีด เพื่อให้ได้ผลสูงสุดและจะให้ผลการรักษาดีที่สุดหากทำร่วมกับการเริ่มกายภาพบำบัด และ/หรือโปรแกรมการออกกำลังกายที่บ้าน
การฉีดสเตียรอยด์เข้าข้อต่อกระดูกสันหลัง
การวินิจฉัยและรักษาอาการปวดหลังหรือคอชั่วคราวซึ่งมีสาเหตุจากข้อต่อกระดูกสันหลังอักเสบ ซึ่งเป็นบริเวณที่กระดูกสันหลังสองชิ้นมาบรรจบกันในลำกระดูกสันหลัง ผลที่ได้รับจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ตั้งแต่เกิดขึ้นหลายวันจนถึงหลายปี ประมาณ 50% ของผู้ป่วยพบว่าระดับของอาการปวดบรรเทาลง หากการฉีดยาก่อนหน้านี้ได้ผล แต่อาการปวดกลับมาอีก สามารถฉีดสเตียรอยด์เข้าข้อต่อกระดูกสันหลังซ้ำได้อีกถึง 3 ครั้งต่อปี หลังจากฉีดครั้งแรกแล้วอาการปวดไม่บรรเทาลง การฉีดครั้งต่อไปอาจไม่ได้ผล
การฉีดยาชาระงับความรู้สึกของเส้นประสาทที่เลี้ยงข้อ
นอกจากนี้ยังรักษาหรือวินิจฉัยอาการปวดที่เกิดขึ้นจากข้อต่อกระดูกสันหลังของลำกระดูกสันหลัง โดยจะฉีดยาชาเข้าไปยังเส้นประสาทที่เลี้ยงข้อต่อ ซึ่งเป็นเส้นประสาทขนาดเล็กที่ควบคุมความรู้สึกในข้อต่อกระดูกสันหลัง โดยปกติจะเห็นผลการรักษาประมาณ 10-20 นาที หลังการฉีดยาเข้าไป หากอาการปวดบรรเทาลงได้อย่างน้อย 70% แนะให้ฉีดครั้งต่อไปด้วยการฉีดยาชาระงับความรู้สึกของเส้นประสาทที่เลี้ยงข้อ หากอาการปวดหายไปในขั้นต้นแต่กลับมีอาการปวดอีก การรักษาด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูงน่าจะเป็นตัวเลือกการรักษาที่เหมาะสมกว่า
การรักษาด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง
เป็นการรักษาซึ่งใช้ความร้อนสร้างคลื่นวิทยุเพื่อทำลายเส้นประสาทที่เลี้ยงข้อระงับสัญญาณนำความเจ็บปวดที่ส่งไปยังสมองซึ่งมีสาเหตุจากข้อต่อกระดูกสันหลัง โดยปกติจะแนะนำวิธีนี้หลังจากการฉีดยาชาระงับความรู้สึกของเส้นประสาทที่เลี้ยงข้อประสบผลสำเร็จ โดยเฉลี่ยอาการปวดจะบรรเทาลงไป 10 เดือนครึ่งและอัตราประสบผลสำเร็จจะอยู่ที่ 85% ระดับของอาการปวดที่บรรเทาลงไปจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และอาจใช้เวลาถึง 3 สัปดาห์ก่อนอาการปวดจะบรรเทาลงมากที่สุดอย่างชัดเจน การรักษานี้อาจทำซ้ำได้หากอาการปวดบรรเทาลงไปนานกว่า 6 เดือนในแต่ละครั้ง
การฉีดเข้าที่ข้อกระเบนเหน็บ
โดยทั่วไปจะใช้เป็นเครื่องมือวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของอาการปวดหลังส่วนล่างของผู้ป่วย ด้วยการฉีดยาชาและคอร์ติโซนที่ข้อกระเบนเหน็บ การฉีดยาจะช่วยคลายอาการปวดของผู้ป่วยได้เพียงชั่วคราว หากมีการยืนยันแล้วว่าข้อกระเบนเหน็บเป็นต้นเหตุด้านโครงสร้างของอาการปวด ควรหาตัวเลือกอื่นๆ เพื่อการรักษาที่อาจประสบผลสำเร็จมากกว่า
อะไรคือผลที่ได้รับและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการฉีดยาเข้าที่โพรงกระดูกสันหลัง
บรรเทาอาการปวดลงได้ถึง 70% โดยทั่วไปจะมีผลอยู่นาน 3-6 เดือน
กลับมาเคลื่อนไหวและใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น
สามารถกำหนดจุดของโรค และใช้วิธีการผ่าตัดชนิดบาดเจ็บน้อยทำให้เวลาในการฟื้นตัวสั้นกว่าการผ่าตัดแบบเดิมๆ
ไม่จำเป็นต้องนอนพักในโรงพยาบาล
ความเสี่ยงและความซับซ้อนในการรักษาที่อาจเกิดขึ้นได้
ไม่หายจากอาการปวดหลัง
การรักษาอาจต้องทำซ้ำทุกๆ 3-6 เดือน
อาการปวดอาจเกิดขึ้นอีกในบริเวณอื่น
ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
เวียนศีรษะ อาการปวดเพิ่มขึ้น (พบน้อย)
เลือดออก ติดเชื้อ (พบน้อยมาก)
bumrungrad
bumrungradspine
สุขภาพ
4 บันทึก
6
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
การรักษาโรคกระดูกสันหลัง
4
6
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย