2 เม.ย. 2022 เวลา 15:09 • ปรัชญา
สติ สัมปชัญญะ สมาธิ ปัญญา 4 คํานี้มีความหมายแตกต่างกันออกไป นัยนะของสมาธิ คือสติและสัมปชัญญะที่ต่อเนื่องจนตั้งมั่น ก่อให้เกิดปัญญา ถ้าสมาธิอ่อนหรือไม่มีกําลัง เนื่องจากสติและสัมปชัญญะอ่อน ไม่ต่อเนื่องก็จะหลงๆลืม ขาดความรู้สึกตัว คิดโน้นคิดนี่ไปเรื่อย การที่เราพูดว่าไม่มีสมาธิ หมายถึง กําลังพูดถึงตัวสติและสัมปชัญญะที่ไม่ตั้งมั่น จนใช้งานไม่ได้ ปัญญาจึงไม่เกิด
หมายเหตุ:
1. สติคือความระลึกได้ ทํางานคู่กับสัมปชัญญะ
2. สัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัว ความเข้าใจ ตระหนักชัดต่อสิ่งที่สติกำหนดไว้นั้นว่ามีความมุ่งหมายอย่างไร เป็นอย่างไร จะทําเช่นไรโดยไม่หลงหเข้าใจผิด เป็นรูปแบบของปัญญาที่ใช้ตรวจสอบสติ
3. สมาธิคือความตั้งมั่น ( ของสติและสัมปชัญญะ )
4. ปัญญาคือความรอบรู้มี 3 ระดับ
- สุตมยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการฟัง การศึกษา
- จินตามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการคิดใตร่ตรอง
- ภาวนามยปัญญา ปัญญาที่เกิดจากการภาวนา
สติ สัมปชัญญะ สมาธิ ปัญญา เป็นองค์ธรรมที่มีความสําคัญเท่ากันหมด ขาดอันใดอันหนึ่งไม่ได้ จะทํางานร่วมกัน จึงจะเกิดปัญญาได้ สติจะคอยระลึกถึงสิ่งที่สนใจ มีความรู้สึกตัวต่อสิ่งที่ระลึกและจะคอยตรวจสอบสิ่งนั้น พิจารณาจนเกิดเป็นปัญญาในที่สุด โดยอาศัยกําลังของสมาธิเพิ่มความตั้งมั่นของสติและสัมปชัญญะ เพื่อให้เกิดปัญญาอย่างแจ่มแจ้ง โดยไม่มีข้อสงสัย โดยเฉพาะภาวนามยปัญญาถ้าขาดความสมดุลของ 4 สิ่ง ปัญญาก็ไม่เกิด
โฆษณา