3 เม.ย. 2022 เวลา 03:38 • ปรัชญา
เรื่องของฝึกหัด สมาธินั้น เค้าทำไปเพื่อมุ่ง ขจัดสิ่งที่เป็นมลทิน ที่อยู่ในเรือนกายที่ประกอบขึ้นมาด้วยธาตุทั้งสี่ ที่ที่ไหลออกมาปรุงแต่งเป็นอารมณ์โลภโกรธหลง ที่จิตเราไปหลงยึดสิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต ต้องใช้กายนี้ วิญญาณทั้งหก นี่เคลื่อนไหว ไปตามอารมณ์นานาชนิดที่เกิดขึ้นในกายนี้ มีอารมณ์ผ่านไปผ่านมา แปรปรวนที่กาย เดี๋ยว..พอใจ เดี๋ยว..ไม่พอใจ เดี่ยว..เรื่องคนนั้นคนนี้ เรื่องสรรเสริญเยินยอ เรื่องโลกธรรม เรื่องทำมาหากิน เดี๋ยว..อยากไปเที่ยวที่นั้นที่นี่ จะต้องเตรียมการ วางแผน ..ลีลาทิฐิความคิด ก็ออกมาบอกว่า ต้องทำอย่างไร จะได้ไปอย่างที่คิด ..ไปแล้วเป็นอย่าง..ที่คิด…สมหวัง..ไม่สมหวัง มันก็เป็นมายาหลอกจิต..ชั่วขณะหนึ่ง แล้วก็เก็บเรื่องราวมายานั้นที่ประสบมา..เรียกว่าประสบการณ์..เป็นความภูมิใจบ้าง..โศกเศร้า.เสียใจบ้าง..เมืออยู่ๆเรื่องราวที่ทรงจำมันผุดขึ้นมา ..
..แล้วกาลเวลาก็หมุนเดินหน้าต่อไป หมุนตามวันเดือนปี ไปจนแก่ เจ็บ ที่สุดก็ต้องตาย สิ่งที่เกิดขึ้นภายในกายนี้ ก็ต้องหยุดไป มายาของโลกที่เคยสัมผัสด้วยวิญญาณทั้งหก หูตาจมูกลิ้นกายใจ ไม่มีให้ใช้อีกแล้ว เหลือแต่จิตออกจากร่างไป ไปหาสังขารใหม่ ไม่รู้ว่ามีสังขารเป็นอะไร
เมื่อผู้ที่รู้จักว่า ชีวิตของเรามันถูกหมุนไปด้วย อารมณ์ของมายาที่ปรุงกายที่กายนี้ตลอดเวลา ให้ใช้กายเคลื่อนไหวไปตามอารมณ์ที่ปรุงแต่ง เมื่อเรามีสติ..ระลึกได้ ว่าเราหลงมายานี้อยู่ เราก็นำกายนี้มานั่งนิ่ง ให้กายนิ่ง จิตนิ่ง ทำจิตเฉย..ไม่ต้องนึกคิดอะไร มีความนึกคิดอะไร..ปฏิเสธออกไป ..บอกตัวเองนั้นมันอารมณ์น่ะ เราก็ทำกายให้นิ่ง เหมือนต้นไม้ที่เราพบเห็น เอากายให้นิ่ง..รักษากายนิ่ง ต้นไม้ก็มีใบไม้ กิ่งก้านสาขา มีใบไม้..งอกไปตามกิ่งก้าน ไหวไปไหวมา เมื่อมีลมพัด .นั่นก็คือ อารมณ์เรื่องราวที่จิตเราใช้กายวิญญาณทั้งหกไปเก็บสะสมมา ..เมื่อกายนิ่ง..ใบไม้มันไหว อย่างไร นั้นก็คืออารมณ์กรรม ต้องเพียรพยายามรักษากายให้นิ่งจิตให้นิ่ง เป็นสมาธิที่ตัดขาดเรื่องราวของมายาอารมณ์ทั้งหลาย ด้วยกายที่นิ่ง จิตที่เฉย ได้ไม่มีหวั่นไหว สั่นไหวไปตามอารมณ์ ทำไปจนใบไม้ไม่ไหว นิ่งสงบ กายนั่นจิตนั้นก็มั่นคง ชั่วขณะหนึ่งก็ยังดี
เมื่อกายนิ่งได้ จิตที่นิ่งได้ เราจะรู้จักคำว่า สมาธินั้นทำไปเพื่ออะไร ได้ชัดเจนด้วยจิตของตัวเอง แล้วเราจะปิติในพระคุณขององค์พระสัมมาพุทธเจ้าที่ท่านเมตตา สอนชี้ทางให้พ้นทุกข์
เรื่องของการฝึกสมาธิ มันเป็นการฝืนอารมณ์ ฝืนความรู้สึกนึกคิด ฝืนเพื่อที่จะหยุดยั้ง หรือ ขจัดอารมณ์ ที่เกิดขึ้นในกายนี้ ให้กายกายนิ่งนิ่งจิตนิ่ง ต้องมีขันติ มีความเพียร เพื่อขัด สลัดสิ่งที่เป็นมนทิลนั้นออกไป เมื่อเราเพียรกระทำ ขึ้นเราก็สามารถที่จะรู้จักคำว่ากรรม รู้จักการนิ่งของกายของจิต ที่จะนำไปใช้พิจารณาเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเรือนกายนี้ อะไรที่นำพาจิตไปหาทุกข์ นั้นเกิดมาจากเรื่องราวอะไรบ้าง เพื่อที่เราจะได้ระมัดระวังวิญญาณทั้งหก เรื่องของการใช้กายวาจาใจในชีวิตที่ต้องหมุนเจอะเจอเรื่องราวต่างๆ ซึ่งจะทำให้เรามีสติที่จะรู้จักเท่าทันอารมณ์มากขึ้น
..รู้จักเท่าทันอารมณ์ หยุดยั้งพิจารณาอารมณ์ความคิดเห็นของตัวเอง ก่อนที่จะนำพากายวาจาใจไปหาสิ่งใด ทุกข์หรือสุข เมื่อเราเผลอใช้อารมณ์ที่ไม่สมควรจะใช้กายวาจาใจไปตามอารมณ์ เราก็สามารถมีสติเรียบเรียงเหตุผลให้แก่จิตของตนได้ ว่าจะหยุดยั้งอารมณ์หรือทำตามอารมณ์ด้วยสติของตน ที่จะไม่ไปเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
ชีวิตปกติทั่วไป สติกับจิตนั้นอ่อนแอ ต่ออารมณ์ที่ให้ทิฐิความคิดเห็นนึกคิด อารมณ์หลอกให้จิตเห็นว่าตนเองดีแล้ว ดีเสมอ ทำอะไรก็มุงหวังที่ว่า ข้าจะได้หรือจะเสีย ได้อะไรมาเหมือนพ่อค้าแสวงหากำไร นั้นก็อารมณ์อีกเหมือนกัน ฉะนั้น เมื่อรู้ว่าสติของเรามันอ่อนแอ จิตเรามันอ่อนแอ เราก็มาอาศัยการฝึกหัดปฏิบัติขึ้น เพื่อช่วยเหลือจิตของตนเอง ไม่ให้อารมณ์ในกายนี่ย่ำยี เพื่อจะเป็นผู้ชนะอารมณ์ของตนเอง ไม่ได้ไปชนะแข่งขันกับใครที่ไหน ชนะอารมณ์ที่เกิดขึ้นที่กายนี้ จิตก็เป็นสุขเพิ่มขึ้น กายก็เป็นสุขจิตก็เป็นสุข ด้วยอารมณ์ไม่มีเกิดขึ้น สันติธรรมก็จะเกิดขึ้นที่จิตของตน หากเราทำได้จริงๆ ชีวิตนี้ของเราคงรอดพ้นบ่วงมารไปได้ ด้วยสติของตนเองในการใช้กายวาจาใจกระทำเรื่องที่ดีให้แก่จิต ไม่ใช่ให้แก่กายที่กินและนอนเหน็ดเหนื่อยเนื่องด้วยอารมณ์ที่เกิดขึ้น
เรื่องราวของคำว่า สมาธิ ที่ไม่ได้มุ่ง ไปขจัดสิ่งที่เป็นมลทิน ชำระสะสางออกไป เป็นสมาธิที่ประกอบด้วยคำว่ามิจฉาชีพทิฐิ คือ ทำไปแล้ว กลับเป็นการยึดเรื่องราวที่ทำให้จิตนั้นหลงใหลเพิ่มมากขึ้น เพราะจิตมันหลงยึด หลงว่าจะได้อย่างนั้นอย่างนี้ จะร่ำรวย มีอิทธิฤทธิ์อิทธิเดช นั้นก็การไปกระทำไปตามอารมณ์ของความอยาก..อยากให้ไปอย่างนั้นอย่างนี้
..ไปเจอะเจอ คาถาอาคม เรื่องราวไสยศาสตร์ มนต์ดำ ก็เอามาท่องเกิดขึ้นมากเข้าๆ จิตมันก็เลยไปยึดๆ ในคำคาถาอาคม ไม่ได้ไปคลี่คลายกรรมที่จิตเกิดขึ้น ไม่ได้ช่วยให้มีสติสัมปชัญญะที่จะไปรู้จักเรื่องกรรมเรื่องบุญกุศล เรื่องอารมณ์อะไร จนมันก็เลย จมอยู่ตรงนั้นเท่านั้นเอง เป็นผู้ยิ่งใหญ่หลงอยู่ในกรรมของตน ตัวเองหลงยังไม่พอ พาคนอื่นเค้าหลงไปด้วย กรรมมักจะหนักเพิ่มขึ้น แล้วพวกนี้เราก็ไปสังเกตดูได้ ถึงคราวเจ็บป่วย แก่เฒ่าชรา ก็เดินขาโกร่ง เหน็ดเหนื่อยง่าย โรคที่หาสาเหตุไม่ได้ก็ตามมา เจ็บป่วยนานเข้า ก็เป็นคนป่วยติดเตียงไป บ้านช่องก็เลอะเทอะ เราก็สังเกตุดูได้ แต่ต้องมีสติเหตุผล พิจารณาว่า ดีหรือไม่ดีอย่างไร
โฆษณา