4 เม.ย. 2022 เวลา 01:42 • สุขภาพ
ประสิทธิภาพของการฉีดวัคซีน
เข็มที่ 4 หรือ 5
เราจะไปฉีด เข็ม4 หรือ 5 ดีไหม
จะกันติดได้ดีขึ้นไหม
เราควรจะไปต่อ หรือ พอแค่ 3 เข็ม ดีน้า
โพสต์นี้มีคำตอบ
https://www.nature.com/articles/d41586-022-00486-9
ท่ามกลางการระบาดอันร้อนแรง Season ใหม่
ของไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ที่แซ่บมากกว่าทุก season
จากประกาศของกระทรวงสาธารณสุข
ที่เตรียมให้ Covid เป็นโรคประจำถิ่น
ภายในวันที่ 1 กรกฎาคม
จากการคาดการณ์ ระบุว่า
น่าจะเข้าจุดพีคของการระบาด ภายใน 2-4 สัปดาห์นี้
ดังจะเห็นได้จาก รายงานผู้ติดเชื้อใหม่รายวันที่มี
ยอดรวมผู้ติดเชื้อ + ATK บางวันสูงถึง ทะลุ 50,000 คน /วันไปแล้ว
ร้อยละของการตรวจพบเชื้อบางวัน สูงถึงเกือบ 50% (Normal < 5%)
อีกทั้ง รอบนี้เห็นคนรอบข้าง
และเพื่อนหมอหลายคน
ต่างก็ไม่รอดในซีซันนี้
2
ทำให้คนที่ยังรอดอยู่
ต่างก็ไม่มั่นใจว่าวัคซีนที่ฉีดไปแล้ว
คนละหลายๆ เข็ม บ้างก็ 3 บ้างก็ 4 เข็ม (ถ้าฉีดเชื้อตาย)
จะพาให้ตัวเองรอดไปได้ถึงวันไหน
จึงเริ่มมีกระแสการไปฉีดบูสเตอร์วัคซีนเข็มที่ 4 หรือเข็มที่ 5
1
ซึ่ง ณ ขณะนี้ยังไม่มีคำแนะนำที่เป็นทางการ
เนื่องจากเราเพื่งรู้จักไวรัสสายพันธุ์omicron ได้เพียง 3 -4 เดือน
และ เริ่มมีการฉีด Booster เข็ม 3 หรือเข็ม 4 กันไปเพียง 2-3 เดือน
จึงเป็นการยากที่จะมีคำแนะนำที่มีหลักฐานทางวิชาการชัดเจนออกมา
เพราะเวลาที่ใช้เก็บข้อมูลยังไม่มากเพียงพอ
แต่อย่างไรก็ตามก็มีบางประเทศ เช่น Israel, US
เริ่มฉีด m-RNA เป็นเข็มที่ 4 ไปแล้วประมาณ 2-3 เดือน
จนสามารถออกคำแนะนำสำหรับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 4
สำหรับผู้ที่ฉีด vaccine m-RNA มาแล้ว 3 เข็ม
เราลองมาดูข้อมูลในขั้นต้นใน Israel + Uk + US
ว่าฉีดไปแล้วจะเป็นยังไงบ้าง กันติด กันหนัก กันตายได้ขนาดไหน
1
Q1 : ภูมิจากเข็ม 3 อยู่ได้นานและพอไหม สำหรับ Omicron
มีข้อมูลระดับภูมิต้านทาน หลังจากที่ฉีด 3 PZ ครบ 3 เดือน
1
Ref 1+2
พบว่า เมื่อถึง 3-4 เดือนจะเริ่มมีระดับภูมิต้านทานที่
น่าจะไม่เพียงพอต่อการป้องกันการติดเชื้อ
และเมื่อดูข้อมูล Real world effectiveness ใน US และ UK จะพบว่า
ใน UK (Ref 3+4)
Covid-19 Vaccine Effectiveness against the Omicron (B.1.1.529) Variant
เป็นข้อมูลประสิทธิภาพการใช้งานจริงของวัคซีน ในประเทศอังกฤษ
ในประชากร 2.6 ล้านคน
- ติดเชื้อ 1.1 ล้านคน ไม่ติดเชื้อ 1.5 ล้านคน
- คนติด แบ่งเป็น Delta =2.04 แสน Omicron = 8.8 แสนคน
เทียบระหว่างคนติดกับไม่ติด
โดย แบ่งเป็น 2 กลุ่มตามชนิดของวัคซีน 2 เข็มแรก ว่า
เป็น AZ หรือ m-RNA
โดยข้อมูลออกมาทั้ง 2 กลุ่มออกมาคล้ายๆ กันคือ
- ประสิทธิภาพในการกันติดเชื้อ ในช่วงแรก
กลุ่มที่ได้วัคซีน 2 เข็มแรกเป็น m-RNA จะมีประสิทธิภาพดีกว่าเล็กน้อย
แต่เมื่อเวลาผ่านไปเลย 3 เดือน ก็จะไม่สามารถกันติดเชื้อ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกันทั้ง 2 แบบ (VE<50%)
1
ใน US ซึ่งก็เพิ่งรายงาน ประสิทธิภาพในการใช้งานจริงของวัคซีน เข็ม 3
ก็ออกมาเหมือนกับประเทศอังกฤษ กล่าวคือ
เมื่อผ่าน 120 วัน ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อก็มีแนวโน้มจะเริ่มตกลง
ซึ่งผลที่ออกมาก็ไม่เป็นที่น่าแปลกใจ
เพราะตัวเชื้อ Omicron มีการกลายพันธุ์หลายตำแหน่ง
จนทำให้ภูมิต้านทานเข้าไปจับกับหนามตัวไวรัสได้ไม่ดี
อีกทั้งตัวไวรัสจะมีการกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง เป็นสายพันธุ์ BA1 BA2
และล่าสุด Omicron XE ที่แพร่ได้เร็วกว่า
สายพันธุ์ BA2 (แพร่เร็วกว่า BA1 70%) อีก 9.8 %
ref : หน้า 19
ทำให้ ทั้งติดง่ายขึ้นและมีการดื้อต่อวัคซีนมากขึ้นอย่างชัดเจน
ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการป้องกันติดเชื้อของตัววัคซีน ตกลงอย่างรวดเร็ว
ดังนั้น วัคซีนเข็ม3 ก็เหมือน 2เข็ม คือ
เมื่อเวลาผ่านไป ก็จะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Q2 3 เข็ม กันติดไม่ได้ แล้วยังสามารถป้องกันป่วยหนักได้ไหม
อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้ว
ระดับภูมิต้านทานที่ใช้ในการลดโอกาสในการป่วยหนักนั้น
ไม่ได้ใช้ภูมิสูงเหมือนกับ การป้องกันการแพร่เชื้อหรือติดเชื้อ
เมื่อดูข้อมูลจากประเทศอังกฤษ และประเทศสหรัฐก็จะพบว่า
UK ตามตารางในกราฟที่ 2 จะพบว่า
เมื่อเกิน 70 วันหลังจากฉีดวัคซีนเข็มที่ 3
(ใน UK มี กลุ่มที่ 2AZ+ m-RNA ด้วย)
ประสิทธิภาพในการป้องกันป่วยจนต้องมาห้องฉุกเฉินจะลดลงอย่างชัดเจน
และเมื่อไปดูถึงประสิทธิภาพป้องกันป่วยป่วยหนักมากๆ
จนต้องใช้ Oxygen หรือ ICU หรือใส่ท่อ ใน UK (ตารางทางขวา)
ประสิทธิภาพ ของVaccine 3 เข็มจะเริ่มลดลง หลังจากวันที่ 105 (3 เดือนครึ่ง) ทั้งในกลุ่มผู้สูงอายุและ คนอายุน้อย
ใน USA ประชากรที่ได้รับ vaccine m-RNA 3 เข็ม พบว่า
- ประสิทธิภาพในการป้องกันป่วยจนต้องมาห้องฉุกเฉินจะเริ่มลดลง ที่ 120 วัน
- ประสิทธิภาพในการป้องกันป่วยหนักจนต้อง admit
ที่ 120 วันยังดูดีคือป้องกันได้ถึง 90 %
ข้อมูล US จะดูดีกว่าทาง UK เพราะ UK มีกลุ่มได้สูตร 2AZ+m-RNA ด้วย แต่ข้อมูล US จะเป็น 3 m-RNA ทั้งหมด
Q3 ฉีด Vaccine เข็ม4 ได้ประโยชน์ไหม
คำถามนี้ ตอบได้โดยใช้ข้อมูล จากประเทศ Israel
-ด้านการกระตุ้นภูมิ+ ป้องกันติดเชื้อ
ประชากรที่เข้าร่วมงานวิจัย คือ บุคลากรทางการพทย์ 1050 คน
ที่ได้รับ vaccine 3 เข็มแรก เป็น Pfizer มาแล้วอย่างน้อย 4 เดือน
154 คน ได้ vaccine เข็ม 4 เป็น Pfizer
120 คน ได้ vaccine เข็ม 4 เป็น Moderna
ที่เหลือเป็น control group ผลที่ได้ออกมาพบว่า
อายุเฉลี่ยของผู้เข้าร่วมวิจัยคือ 50 กว่าปี
ส่วนใหญ่ฉีดแล้วไม่พบผลข้างเคียงรุนแรง
ด้านการกระตุ้นภูมิ วัคซีนเข็มที่ 4 กระตุ้นภูมิไม่ได้สูงกว่าตอนที่ฉีดวัคซีนเข็มที่ 3
และระดับภูมิต้านทานที่ได้จากการฉีดวัคซีน pfizer สูงกว่า moderna
ซึ่งน่าจะเป็นผลจาก กลุ่มที่ได้วัคซีนไฟเซอร์
มีระดับภูมิต้านทานก่อนฉีดต่ำกว่า moderna ทำให้กระตุ้นภูมิขึ้นไปได้สูงกว่า
ส่งผลให้เมื่อวัดประสิทธิภาพ การป้องกันการติดเชื้อ
ทั้งแบบมีและไม่มีอาการ (Any infection)
VE of Pfizer booster = 30% (95% CI, −9 to 55)
VE of Moderna booster = 11% (95% CI, −43 to 44)
แต่ถ้าเฉพาะมีอาการ (Symptomatic disease)
Pfizer booster = 43% (95% CI: 7 to 65%)
Moderna booster = 31% (95% CI: -18 to 60%)
จะเห็นว่า 95% CI คร่อม 0 เกือบทุกด้าน
แสดงให้เห็นว่า ประสิทธิภาพในการกระตุ้นภูมิและป้องกันการติดเชื้อ
ของ m-RNA Vaccine 4 เข็ม ดูน่าจะไม่เหนือ กลุ่ม 3 เข็ม
ที่ไม่ได้รับการกระตุ้นเท่าไร
หรืออาจจะเป็นเพราะ ขนาด sample size ที่ศึกษามีน้อยไปก็เป็นไปได้
จนทำให้ถ้าประสิทธิภาพไม่เหนือกว่ามาก
ก็จะไม่สามารถแสดงความแตกต่างได้
ซึ่งก็เป็น ตามที่ Nature ได้ลง review ไว้
ด้านการป้องกันการป่วยหนักและเสียชีวิต * ในผู้ป่วยสูงอายุ (>60 ปี)
อันแรก เก็บข้อมูล ในผู้สูงอายุเกิน 60 ปี
- 2.7หมื่นคน ฉีด Vaccine เข็ม 3 มาแล้ว อย่างน้อย 4 เดือน
แล้วดูข้อมูลใน Registry มีใครวินิฉัยว่า
เป็น severe CoVID-19 infection หรือไม่
เกณฑ์ severe คือ RR > 30 , O2sat <94 หรือ PF ratio <300
ผลพบว่า 3 เข็ม VS 4 เข็ม
- ลดโอกาสติดเชื้อ ลงได้ 4.7 เท่า (42,693 vs. 9071)
- ลดโอกาสในการเกิด severe covid19 infection
* ในอัตรา 195 คน vs. 13 คน *
เคส severe covid ในกลุ่มที่ได้รับ vaccine 4 เข็ม น้อยกว่า 3 เข็ม ถึง 15 เท่า
อันที่ 2 ประสิทธิภาพ ในการลดโอกาสการเสียชีวิตของ Vaccine เข็มที่ 4
Population ผู้สูงอายุ 60-100 ปี ที่ได้ 3PZ
จำนวน 5.63 แสนคน อายุเฉลี่ย สูงถึง 73ปี
เทียบระหว่าง
ได้วัคซีนเข็ม4 3.29 แสนคน (58%) Vs 2.04 แสนคน (42%) ที่ได้แค่ 3 เข็ม
ผลก็ออกเหมือนเดิม คือ
กลุ่มที่ได้ 4 เข็ม ลดโอกาสในการเสียชีวิต
ในภาพรวมลงได้ ถึง 78 % HR= 0.22 (95% CI: 0.17-0.28)โดย
อายุ 60-69 ลดได้ 84% HR =0.16; 95% CI, 0.06 to 0.41; P<0.001
อายุ 70-79 ลดได้ 72% HR =0.28; 95% CI, 0.17 to 0.46; P<0.001
อายุ 80-100 ลดได้ 80% HR =0.20; 95% CI, 0.15 to 0.27; P<0.001
สรุป อัตราเสียชีวืตในภาพรวม ลดลงอย่างชัดเจนตามกราฟรูปที่ 4
ดังนั้น จาก 2 งานวิจัยขั้นต้น แสดงให้เห็นถึง
ประสิทธิภาพของm-RNA เข็ม 4
ในการป้องกันการป่วยหนักและกันตายของประชากรกลุ่มเสี่ยง
ที่อายุเกิน 60 ปี ในประเทศอิสราเอล
ที่ผลออกมาในแนวทางเดียวกันคือ
การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เข็มที่สอง(เข็ม 4)
สามารถลดทั้ง
- โอกาสติดเชื้อ
- ป่วยหนัก
- และเสียชีวิตลงได้ชัดเจน
เมื่อเทียบกับการฉีดวัคซีน m-RNA เพียง3 เข็ม
จากข้อมูลทั้งหมดสรุปได้ว่า
วัคซีน mrna เข็มที่ 4 ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
ในการที่จะป้องกันการติดเชื้อ ทั้งแบบมีอาการหรือไม่มีอาการ
แต่จะช่วยลดโอกาสในการป่วยหนักในประชากรกลุ่มเสี่ยงเป็นหลัก
จึงเป็นที่มาของคำแนะนำของ US FDA
1
และกระทรวงสาธารณสุขประเทศอิสราเอล
ที่แนะนำให้ฉีด วัคซีนเข็มที่ 4
เป็น m-RNA vaccine
และห่างจาก เข็มที่ 3 อย่างน้อย 4 เดือน โดยคนที่ควรจะฉีดเข็ม 4 คือ
1. เสี่ยงป่วยหนัก หรือ เสียชีวิต => Age > 50 ปี (Israel แนะนำที่ อายุ > 60 ปี)
2. เสี่ยง ภูมิต่ำ ขึ้นน้อย ไม่พอต่อการป้องกัน Omicron
เพราะกลุ่มนี้ primary series มาตราฐาน คือ m-RNA *3 เข็ม ซึ่งจะกระตุ้นภูมิได้ เท่ากับคนปกติ ฉีด 2 เข็ม
ดังนั้น การฉีด เข็ม 4 ก็เหมือน First booster dose เหมือนคนปกติ
3. เสี่ยงติดเชื้อ คำแนะนำ ของอิสราเอล
คือ บุคลากรทางการแพทย์ HCW เพราะ Exposure risk สูง
Q4 ถ้าคนที่ฉีด Vaccine เชื้อตาย จะไปฉีด เข็ม 5 ดีไหม ????
 
เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่มีสูตรการฉีดวัคซีน
น่าจะเยอะอันดับต้นๆ ของโลกและมีการใช้วัคซีนเชื้อตาย
เป็น Prime dose 2 เข็มแรก
และไม่มีงานวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับ booster dose for omicron
ทำให้ไม่มีคำแนะนำหรืองานวิจัยไหนในโลก
ที่จะตอบคำถามนี้ได้ คงต้องรอทางกระทรวง สธ. ตอบ
แต่ถ้าดูจาก ระดับ Ab (Anti-RBD)
เป็นหน่วย BAU/ml จะพบว่า
SV = Sinovac , AZ= Astraz, PZ= Pfizer
SV-SV ==> ภูมิจะได้พอๆกับ 1AZ หรือ 1PZ
SV-SV-AZ => ใกล้เคียงกับ 2PZ ขอตีว่าเท่ากับ 2PZ
SV-SV-PZ=> มากกว่า 2PZ เล็กน้อย
ดังนั้น 2 SV ไม่ใช่น้ำเปล่าแน่นนอน
แต่ 2SV + 2m-RNA ก็ไม่เท่ากับ 4 m-RNA เช่นเดียวกัน
คห.ส่วนตัว Sinovac 2 เข็ม อาจะเทียบเคียงได้กับ
- คนที่เคยติดเชื้อจริงมาก่อน(previous infection)
ซึ่งเมื่อได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น 1 เข็ม
ประสิทธิภาพที่ได้ ก็จะใกล้เคียง ฉีดครบ 2 เข็ม
- หรือ AZ 1 dose ทำให้คนที่ได้สูตร 2SV+AZ+m-RNA
น่าจะเทียบเคียงได้กับ 2AZ+m-RNA
ดังนั้น 2SV จึงอาจจะนับเป็นแค่ 1 เข็ม สำหรับ omicron
และน่าจะพอใช้ คำแนะนำของกลุ่ม m-RNA เข็ม 4 ได้
จนกว่าจะมีข้อมูลงานวิจัยที่ดีกว่านี้มา หักล้างสมมุติฐานนี้
สรุป
วัคซีนเข็มที่ 4 หรือเข็มที่ 5 (เชื้อตาย 2 เข็มแรก )
อาจจะไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน เหมือนกับวัคซีนเข็มที่ 3 หรือเข็มที่ 4
เพราะไม่ว่าสูตรใดๆ ก็มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อไม่ดี
และเมื่อวัคซีนไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรการส่วนบุคคล เช่น สวมหน้ากาก ล้างมือ ไม่ไปสถานที่เสี่ยง
จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและน่าจะช่วยลดโอกาส
ในการติดเชื้อมากขึ้นเมื่อใช้คู่กับการฉีดวัคซีน
1
สำหรับประสิทธิภาพที่ได้เพิ่มขึ้นจากเข็ม4 หรือ 5 หลักๆ
จะเป็นเรื่องของการป้องกันป่วยหนักหรือเสียชีวิต
ซึ่งโอกาสป่วยหนักและเสียชีวิต
สำหรับกลุ่มคนปกติที่ไม่มีโรคประจำตัว
ที่ได้รับวัคซีน 3 หรือ 4 เข็มแล้ว ค่อนข้างต่ำมากๆ
หรือ ถ้าติดเชื้อขึ้นมาก็ยังมียาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพสูง
ทำให้ลดโอกาสในการป่วยหนักหรือเสียชีวิตลงไปอีก
ส่งผลให้ประโยชน์ด้านนี้ดูไม่คุ้มค่ากับการเสี่ยงฉีดวัคซีนเพิ่ม
แต่ในทางกลับกัน กลุ่มคนที่น่าจะได้ประโยชน์จากวัคซีนเข็ม 4 หรือ 5 เพิ่มเติม
ก็คือกลุ่มเสี่ยงอาการป่วยหนักหรือเสียชีวิตเป็นหลัก
เพราะโอกาสป่วยหนักสูง
จึงมีผลให้มีความต่างระหว่างคนที่ฉีด กับไม่ฉีดเยอะ
ทำให้มีประโยชน์ในการป้องกันป่วยหนักได้
ลดการใช้เตียง ICU คุ้มค่ากับการฉีดวัคซีนเพิ่มใน ประชากรกลุ่มเสี่ยงนี้
แต่เมื่อประเทศไทยเตรียมจะประกาศให้ covid เป็นโรคประจำถิ่น
จะส่งผลให้ มาตราการป้องกันโรค ความตื่นตัว ความร่วมมือจะลดลง + ประสิทธิภาพกันติดที่ลดลง จะทำให้ผู้ติดเชื้อเพิ่มแบบทวีคูณ
ทั้งที่ การเป็น โรคประจำถิ่น ไม่ได้หมายความว่าความรุนแรงจะลดลง
โรคประจำถิ่นของเรามีหลายโรคที่รุนแรง เช่น ไข้เลือดออก ไข้ฉี่หนู Melioidosis
ทุกโรคที่กล่าวมาเป็นโรคประจำถิ่น ซึ่งก็ไม่เห็นว่าความรุนแรงจะลดลงเลย
การเป็นโรคประจำถิ่นแค่บอกว่า
โรคนี้ เชื้อนี้จะอยู่กับเราตลอดกาลไม่มีวันที่จะหายไป
โรคประจำถิ่นจะรุนแรงลดลงได้เกิดจากการที่
- เราฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นได้มากพอ (ตอนนี้ฉีดได้แค่ 30 %)
- มียาที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ (ไม่แน่ใจว่าพอไหม)
- มีเตียงที่สามารถรองรับผู้ป่วยได้มากพอ (ยอดเตียงเริ่มเต็ม)
- และประชาชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับตัวโรคและทำ ATK อย่าสม่ำเสมอ
ทำให้ถ้าติดเชื้อ ก็แยกตัวได้ไวและรับยาต้านไวรัสได้เร็ว
(แค่ค่าน้ำมันก็หมดเงินแล้ว จะหาเงินที่ไหนมาซื้อ ATK)
แต่ถ้าไม่มีความพร้อมเลยสักด้าน ก็จะส่งผลให้
ทำให้ ประชากรกลุ่มเสี่ยงที่ยังไม่ได้รับวัคซีน หรือวัคซีนเข็มกระตุ้น
ซึ่งน่าจะมีจำนวนหลักหลายล้านคน
ตกอยู่ในความเสี่ยงมากๆ
ส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยหนักอาจจะพุ่งขึ้นสูงอีกครั้ง
จนอาจจะเกิดการแพทย์เกินขีดจำกัดอีกครั้ง
1
ดังจะเห็นได้จาก จำนวนผู้ป่วยหนักใส่ท่อช่วยหายใจ ในช่วงเวลา 1 เดือน
เพิ่มขึ้น จาก = 284 คน (1 มีค) ==> 752 คน (2 เมษา)
เพิ่มขึ้นเกือบ 500 คน ภายใน 1 เดือน
- จำนวนผู้ป่วยหนักมากที่ใส่ท่อช่วยหายใจ
เริ่มไต่ข้ามเส้นเหลืองเข้าสู่ zone แดง
- จำนวนผู้เสียชีวิต เริ่มเข้าสู่โซนเหลือง
นับเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างยิ่ง
ซึ่งปริมาณคนไข้หนัก เริ่มเข้าใกล้ขีดจำกัดทางการแพทย์
ช่วงสมัย Delta ตอน สค.63
ที่มี จำนวนผู้ป่วยใส่ท่อ ช่วงการแพทย์ล่มสลาย ที่ 1172 คน
และเมื่อวัคซีนกันติดไม่ดี
ถ้าติดเยอะก็ต้องเตรียมปริมาณยาที่มีประสิทธิภาพในรักษาให้มีเพียงพอ
และสามารถเข้าถึงยาได้เร็วที่สุด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เพราะจะช่วยลดการใช้ ICUลงได้
แต่ถ้าติดเยอะ มากๆๆ ยาจะมีพอไหม ระบบจะรับไหวไหม
ซึ่งยาที่มีประสิทธิภาพ ที่มีงานวิจัยรองรับ ว่า
สามารถลดโควิดลงปอด ลดโอกาสใส่ท่อช่วยหายใจได้
อย่างเช่น Paxlovid ,Monoclonal Ab ก็ไม่มีในประเทศ
ที่พอมี ก็คือ Remdesivir และ Molnupiravir ก็มีอย่างจำกัด
น่าจะไม่เพียงพอต่อการระบาดใหญ่มากๆ
ประเทศเรา มีแต่ ฟ้าทะลายโจร กระชายขาวและ Favipiravir
ซึ่งไม่มีหลักฐานว่าสามารถลดโอกาสในการป่วยหนักเข้า ICU ได้
ทำให้คนปกติ ถ้าติดและป่วยปานกลางก็อาจจะกลายเป็นป่วยหนักได้
เพราะเข้าไม่ถึงยา หรือ ไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที
การเสี่ยงฉีด Vaccine เข็ม 4 หรือ 5 ก็อาจจะเป็นสิ่งที่ทำได้
ในยามที่ไม่มั่นใจว่าป่วยแล้วจะ มีเตียงไหม จะได้ยาไหม จะได้เมื่อไร
และจะได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานหรือไม่
ในยามที่ Covid Omicron BA2 กำลังจะเข้าสู่จุด peak
หรือ เมื่อรัฐบาล ประกาศให้ Covid เป็นโรคประจำถิ่น
โดยที่ไม่มีความพร้อมด้านไหนเลย
ปล.
ข้อมูลในบทความนี้ ส่วนมากเป็นงานวิจัยเบื้องต้น
ที่ยังไม่ผ่าน Peer Reviewed
และเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน
ซึ่งอาจจะมีข้อผิดพลาดได้ ไม่สามารถใช้อ้างอิงทางการแพทย์ได้
การฉีดวัคซีน ต้องชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์และผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน
โปรดใช้วิจารณญาณก่อนการอ่าน
โฆษณา