Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
warehouseเล่าเรื่อง
•
ติดตาม
4 เม.ย. 2022 เวลา 03:41 • ธุรกิจ
ทำไงดีครับ
สต๊อกสินค้าติดลบ หาจุดแก้ไม่ได้เลย❓
.
.
ผมมีคำถามและขอคำแนะนำครับ
เรื่องราวมีอยู่ว่า ผมทำงาน ร้านขายอุปการณ์ไฟฟ้า
ร้านใหญ่ในต่างจังหวัดแห่งหนึ่ง
.
.
ด้านหลังร้านจะมีพื้นที่จัดเก็บสต๊อกของอุปกรณ์ไฟฟ้า
เช่น หลอดไฟ, ฟิวส์, กล่องเชื่อมสายไฟ เป็นต้น
.
.
ที่นี่นอกจากลูกค้ารายย่อยมาซื้อปลีกเล็กๆน้อยๆ
ยังมีจัดส่งจำนวนเยอะๆให้กับผู้รับเหมาและร้านค้า
ในต่างเมืองด้วยครับ
ผมพึ่งเข้ามาเริ่มงาน ไม่ค่อยรู้จักสินค้าลึกซึ้งมากมาย
สักเท่าไร หัวหน้ามอบหมายให้ผมอยู่กับทีมสต๊อก
และเริ่มมีการนับสต๊อกก็พบว่าสินค้าขาดจำนวนอยู่หลายรายการ
.
.
ทำการนับซ้ำ เพื่อหาผลต่าง เอามาปรับ หากันมาหลายวัน
ก็หาไม่ได้ หัวหน้างานก็ปวดหัวมาก ลองกันมาหลายวิธีแล้วครับไม่ได้ผลเลย
.
.
ตอนนี้มียอดติดลบประมาณ 100 รายการ
ผมพยายามปรับและหาที่มาที่ไป และเมื่อได้คุยกับ
เพื่อนก็รู้ว่า ทางด้านขายหรือตัดออกค่อนข้างเชื่อถือได้
แต่ด้านซื้อหรือรับเข้า ไม่ทราบว่าไปคีย์เข้าโค้ดอะไร
เพราะสินค้าจะชื่อคล้ายๆกัน ผิดตรงขนาด และรู้จากเพื่อนที่อยู่มาก่อนว่าสต๊อกปีก่อนก็ผิดอยู่แล้ว
1
มาปีนี้ ผิดซ้ำเข้าไปอีกคือเหมือนกับว่า...
ด้านซื้อหรือรับเข้าคีย์ผิดหมดเลย ตั้งแต่ต้นปีสลับกัน
ไปมา เห็นชื่อคล้ายก็คีย์เข้าเลยไม่สนขนาดและวัตซ์
พอตรวจเช็คนับจำนวนจึงได้เกิดความยุ่งยาก
ขอคำแนะนำและวิธีที่รวบรัดให้ด้วยครับ...ก่อนถึงกลางปี
จะมีนับใหญ่ อาการหนักแน่นอน
อ้อ...ลืมบอกไปครับว่า
การจัดเก็บสินค้าก็วางรวมๆกัน ไม่แยกรายการ
เช่น สายไฟ ก็เก็บรวมกองกันหมด ตรงโน้นกองรวมกับ
ตรงนี้บ้าง ปะปนกันไปครับ
====================
คำตอบ
1) write off ยอดที่แตกต่างแล้วเริ่มต้นใหม่
2) ทำการจัดหมวดหมู่สินค้าและใช้ด้วยการใส่รหัสสินค้า13หลัก ถ้าไม่มีให้กำหนดขึ้นมาเอง
3) กำหนดวิธีการทำงานและให้ทุกคนปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
4) ทีมรับสินค้าให้ทำการตรวจจำนวนและรายการทำรหัสที่ตั้งไว้ รายการไหนมีปัญหาเรื่องสินค้าขาดจำนวนในกล่องย่อยๆ ให้เปิดกล่องนับจำนวน ยอมเสียเวลาตอนตรวจนับ
ดีกว่ารับสินค้ามาแล้ว...รู้ว่าขาดจำนวนภายหลัง เจรจากับ
ผู้ส่งสินค้ายากกว่าเยอะ
5) เมื่อสินค้าที่รับมา มีจำนวนและรายการครบถ้วนถูกต้อง
ให้นำเข้าไปจัดเก็บตามโลเคชั่นที่จัดเตรียมไว้
ห้าม❗❗❗วางที่ไหนก็ได้
6) จัดทำ stock card
7) ทุกครั้งที่มีการเบิกจ่ายสินค้า ไม่ว่าจะจ่ายขายหน้าร้าน หรือ ขายส่ง ให้ลงบันทึกรับเข้าจ่ายออก ในทุกๆครั้ง
8) จัดทำ ตารางรอบการทำ cycle count ในทุกๆวัน
วันละ 1-2ชั่วโมง เพื่อให้นับครบทุกรายการ ภายในกี่เดือน
ก็ว่าไป
9) เมื่อพบยอดแตกต่าง ก็จะสามารถหาได้เร็วกว่า
ว่าเกิดจากการรับหรือการจ่าย และสามารถแก้ไข
ได้ทันเวลา
11) ถ้ามีการนำระบบเข้ามาช่วยก็จะทำให้ขบวนการ
ทั้งหมดตั้งแต่รับ เก็บ เบิก จ่าย ง่ายและสะดวก รวดเร็วขึ้น WMSในปัจจุบันมีมากมายให้เลือก แนะนำให้เจ้าของกิจการเลือกในราคาที่เหมาะวมกับธุรกิจ ชีวิตดีขึ้นเยอะคะ
หมายเหตุ: เมื่อสต๊อกตรงจำนวนแล้ว การนับสต๊อกแบบcycle count อาจนับเฉพาะสินค่าที่มีการหยิบเบิกจ่ายออกไปก็เพียงพอ เพราะการรับสินค้าเข้ามามีการตรวจนับเช็คจำนวนและรายการอยู่แล้ว
หากมีข้อสงสัย สอบถามเพิ่มเติมมาได้
พี่หนิง #warehousestory
www.warehousestory.net
IG : warehouse2020
Youtube: warehouseเล่าเรื่อง
Line OA: @warehousestory
FB:
https://m.facebook.com/warehousestory/
#warehouseเล่าเรื่อง #แวร์เฮ้าส์สตอรี่ #แวร์เฮ้าส์ #ผู้บริหารพันธุ์ใหม่ #มนุษย์คลังสินค้า
#warehouse #warehousestory #supplychain
#logistics #entrepreneur
#smebusiness #แวร์เฮ้าส์เล่าเรื่อง #logisticsdigitalด้วยexcel #warehousemanagement
#เปลี่ยนศูนย์ต้นทุนเป็นกลยุทธ์ธุรกิจ
#อย่าหาว่าพี่สอนจัดการคลังสินค้า
1 บันทึก
2
1
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย