4 เม.ย. 2022 เวลา 07:32 • นิยาย เรื่องสั้น
แม้ว่าโดยทั่วไป เรามักจะเห็น “ช่อ – พรรณิการ์ วานิช” กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า ในฐานะผู้หญิงหัวก้าวหน้าที่มีความสามารถด้านการเมืองและวิชาการ แต่ที่จริงแล้ว 90% ของหนังสือที่เธออ่านคือนวนิยาย และเธอก็เป็นแฟนตัวจริงของ “ทมยันตี” นักเขียนอาวุโสผู้ล่วงลับ ซึ่งมีบทบาทในการยั่วยุให้เกิดการใช้ความรุนแรงในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 จนนำไปสู่การสังหารหมู่นักศึกษาและปัญญาชนจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ช่อมองว่า ทัศนคติทางการเมืองที่แตกต่างกันถือเป็นเรื่องปกติในสังคมประชาธิปไตย และนักอ่านมีสิทธิเต็มที่ในการไม่สนับสนุนผลงานของนักเขียนที่มีแนวคิดที่แตกต่างกับตนเอง ขณะเดียวกัน นักเขียนที่มองเห็นคุณค่าต่างจากแฟนคลับรุ่นใหม่ ก็มีราคาที่ต้องจ่ายเช่นกัน
นอกจากนี้ ช่อยังมองว่า แม้ว่าผลงานของทมยันตีหลายเรื่องจะมีเนื้อหาที่ไม่สอดคล้องกับแนวคิดต่างๆ ในปัจจุบัน แต่นวนิยายเหล่านี้ก็ยังมีประโยชน์ในเชิงวรรณคดีศึกษา โดยที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ ตราบใดที่ผู้อ่านไม่คลั่งไคล้นักเขียนมากจนมองว่านักเขียนทำอะไรก็ไม่ผิด
“อันตรายอย่างเดียวที่จะเกิดขึ้นจากการอ่านหนังสือของบุคคลที่มีแนวคิดทางการเมืองที่เป็นปฏิปักษ์ต่อประชาธิปไตยก็คือ เมื่อเราเชื่อเต็มร้อยว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาพูดหรือเขียนนั้นถูกต้องและเราต้องเชื่อตาม ย้ำอีกครั้ง มันไม่มีอันตรายหรอกจากการอ่านหนังสือ ตราบใดที่เราไม่อ่านแล้วเราเชื่อทุกบรรทัดน่ะ” ช่อสรุป
อ่านบทความเต็ม: https://www.sanook.com/campus/1409436/
เรื่อง: NATTAYA L.
ภาพ: DITSAPONG K.
โฆษณา