4 เม.ย. 2022 เวลา 08:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Oppday FSMART Q4/2021 ⭐ : รายได้ 687 ลบ. ลดลง 13% และมีค่าใช้จ่ายพิเศษใน 2 รายการทำให้กำไรสุทธิลดลงเหลือ 80 ลบ. ลดลง 27% ปีนี้ตั้งเป้ารายได้โต 10 - 15%
Published: 02 Mar 2022
วันนี้พบกับ บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือใช้ตัวย่อในตลาดว่า FSMART ซึ่งประกอบธุรกิจหลักให้บริการเติมเงินโทรศัพท์มือถือประเภท Pre-paid และบริการชำระเงินออนไลน์ ผ่านตู้เติมเงินภายใต้แบรนด์ "บุญเติม" โดยปี 2021 สามารถสร้างรายได้ 2,927 ลบ. ลดลง 6% และกำไรสุทธิ 400 ลบ. ลดลง 14% จากปี 2020
🚩1. ลักษณะธุรกิจ
✔ เป็นตัวกลางระหว่างลูกค้ากว่า 16 ล้านคนและพาร์ทเนอร์ทั้ง Mobile Operator, Bank, Insurance Broker, Government, E-Wallet โดยมีการให้บริการตู้บุญเติมกว่า 105 รายการและรองรับ 4 ภาษา ได้แก่ ไทย อังกฤษ พม่าและกัมพูชา โดยลักษณะรูปแบบธุรกิจ คือ FSMART เป็นคนจัดการเรื่องตู้ทั้งหมดและการแบ่งรายได้ ส่วนตัวแทนมีหน้าที่หน้าทำเล เก็บเงินและโอนเงินกลับไปให้ FSMART
✔ ธุรกิจของ FSMART แบ่งออกได้เป็น 3 ธุรกิจหลักๆ คือ
1. ธุรกิจเติมเงิน-ชำระเงินอัตโนมัติ (Online Top-Up & Payment Business): เติมเงินมือถือ Pre-paid, จ่ายเบี้ยประกัน, จ่ายค่าสินค้า, ค่าน้ำค่าไฟ, ซื้อเพลงออนไลน์, จ่ายค่าปรับ และเติมเงินบัตรโดยสารผ่านตู้บุญเติมกว่า 130,00 จุด และเคาเตอร์แคชเชียร์กว่า 1,700 จุด
2. ธุรกิจบริการทางการเงินและสินเชื่อครบวงจร (Banking Agent & Lending Business): บริการฝาก-ถอน-โอนเงิน, สินเชื่อ ผ่านตู้ e-KYC บุญเติม ซึ่งบริษัทเป็นตัวแทนจากธนาคาร 7 แห่ง
3. ธุรกิจตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติและการกระจายสินค้า (Vending Machine & Distribution Business): จำหน่ายสินค้าและเครื่องดื่มอัตโนมัติที่มีบริการของบุญเติม, คาเฟ่อัตโนมัติภายใต้แบรนด์ “เต่าบิน”, ตู้ EV Charger แบรนด์ “EV Net” และยังมีรายได้จากการกระจายสินค้าให้กับร้านโชห่วย
✔ บริษัทมี Transaction กว่า 1.3 ล้านครั้งต่อวัน และตู้บุญเติมส่วนมากอยู่ในต่างจังหวัดกว่า 85% จาก 129,907 ตู้
▪ กรุงเทพและปริมณฑล: 13%
▪ ภาคเหนือ: 16%
▪ ภาคใต้: 12%
▪ ภาคตะวันออก: 10%
▪ ภาคกลาง: 18%
▪ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: 31%
✔ กลุ่มลูกค้าหลักๆจะแบ่งเป็น 6 กลุ่ม คือ กลุ่มแรงงานรายวันและผู้ประกอบการที่ใช้เงินสด, กลุ่มคนที่อยู่ห่างไกลจากธนาคาร, กลุ่มคนที่ไม่มีบัญชีธนาคาร, กลุ่มแรงงานต่างชาติ, กลุ่มคนที่ไม่สามารถใช้บริการทางการเงินผ่านธนาคาร, และลูกค้าองค์กร โดยบริษัทมีตู้บุญเติมตั้งอยู่ตามร้านโชห่วยแลย่านที่อยู่อาศัยกว่า 79%
▪ ย่านที่อยู่อาศัย: 25%
▪ ร้านโชห่วย: 54%
▪ ร้านสะดวกซื้อ: 12%
▪ อื่นๆ: 9%
🚩2. ภาพรวมและผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
◼️ภาพรวมปี 2021◼️
✔ รายได้จากธุรกิจหลัก 2,679 ลบ. ลดลง 6% โดยหลักๆฐานลูกค้าเป็นผู้มีรายได้น้อย-ปานกลางได้รับผลกทะทบจากเศรษฐกิจ และมาจากการจ้างงานซึ่งรวมถึงแรงงานต่างด้าวที่ลดลงในช่วงโควิดที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น โดยโครงสร้างรายได้บริษัทแบ่งออกเป็น
▪ Commission จากระบบเติมเงินล่วงหน้าและชำระเงินออนไลน์: 28%
▪ Service Charge จากการให้บริการผ่านเครื่องรับชำระเงิน: 71%
✔ รายได้จาก Commision ลดลง 21% หลักๆจาก Transaction ในการเติมเงินลดลงจาก Mobile Operators ที่พยายามดันให้คนไปใช้รายเดือนมากขึ้น และนอกจากนี้ลูกค้าหันไปใช้การเติมเงินช่องทางอื่นมากขึ้น
✔ รายได้จาก Service Charge เพิ่มขึ้น 2% มาจากจำนวนการฝาก-โอนเงินที่เพิ่ม 14% และการเติมเงินเข้า E-Wallet เพิ่มขึ้น 48%
✔ อัตรากำไรขั้นต้น เพิ่มขึ้น 1ppt (Percentage Point) เป็น 20% จากบริการฝาก-โอนเงินและเติมเงินเข้า E-Wallet มี margin ดีกว่าเติมเงินและยังมาจากการให้บริการที่ต่องเนื่องจากตู้ที่ตัดค่าเสื่อมครบแล้ว
✔ บริษัทมีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวใน Q4/21 ที่ผ่านมา 18 ลบ. โดย 7 ลบ. มาจากการตั้งสำรองด้อยค่าของสินทรัพย์ และ 11 ลบ. มาจากผลขาดทุนจากการด้อยค่าของบริษัทย่อย
✔ บริษัทมีค่าใช้จ่ายทางภาษีที่มากขึ้นจากครบกำหนดการใช้สิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษี 34 ลบ. ทำให้บริษัทมีกำไรสุทธิ 400 ลบ. ลดลง 14%
✔ อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) 1.6x เท่า และ อัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อทุน (IBD/E) 0.4x เท่า
◼️ภาพรวมปี Q4/2021◼️
✔ รายได้ 687 ลบ. ลดลง 13% และมีค่าใช้จ่ายพิเศษใน 2 รายการทำให้กำไรสุทธิลดลงเหลือ 80 ลบ. ลดลง 27%
🚩3. แผนงานในอนาคตและการเติบโต
◼️การเติบโต◼️
✔ ตั้งเป้าหมายการเติบโตจากธุรกิจ Banking Agent & Lending และ Vending Machine & Distribution โดยตั้งเป้าส่วนแบ่งรายได้จาก 2021 => 2022 ดังนี้
▪ Top-up and payment 52% => 40 - 45%
▪ Banking Agent and Lending 48% => 50 - 55%
▪ Vending Machines 0% => 1 - 5%
✔ มองภาพปีนี้เติบโต 10-15%
◼️Banking Agent & Lending◼️
✔ เพิ่มพาร์ทเนอร์อีก 2 ธนาคาร
✔ เพิ่มตู้ถอนเงินสด 10,000 จุดภายใน 2 ปี
◼️Vending Machine & Distriburtion◼️
✔ เน้นเรื่อง EV Charger
✔ ในปีนี้ตั้งเป้าการถือหุ้นใน FVD ให้มากกว่า 20% เพื่อรับรู้ส่วนแบ่งกำไรของเงินลงทุน จากตอนนี้ถืออยู่ 19.34%
เต่าบินคาเฟ่
✔ เพิ่มตู้เต่าบินเป็น 5,000 ตู้ภายในปี 2022
✔ เพิ่มตู้เต่าบินเป็น 20,000 ตู้ภายในปี 2024
✔ ตั้งเป้ายอดขายเฉลี่ยวันละ 50 แก้ว โดยตอนนี้ยอดขายต่อแก้วอยู่ที่ 34 บาทต่อแก้ว
✔ มีเมนู 170 เมนู โดยมีระบบบุญเติมเข้าไปอยู่ในตู้เต่าบินด้วย
✔ ยอดขายอันดับ 1 เป็นโกโก้เย็น
✔ ตอนตั้งตู้ Vending Machine หาทำเลยาก แต่ตู้เต่าบินทำเลไมใช้ปัญหามีแต่คน Request ให้เอาตู้ไปวางจนไม่เพียงพอต่อการผลิต
✔ ตั้งเป้ายอดขาย 1,000,000 แก้วจาก 20,000 ตู้โดยตั้งยอดขายปีละ 10,000 ล้านบาท และ GPM 65%
◼️ตลาดเครื่องดื่ม◼️
✔ ตลาดเครื่องดื่ม 247,000 ลบ. โดยตั้งเป้ากินส่วนแบ่งการตลาด 5% (ไม่รวมตลาด Energy Drinks ที่ 20,000 ลบ.)
◼️อื่นๆ◼️
✔ งบลงทุน 700 ลบ.และตั้งเป้าสินเชื่อ 1,000 ลบ.
🚩4. ข้อมูลอื่นๆ จาก Section Q&A
◼️การเติบโต◼️
✔ แนวโน้มผลประกอบการ Q1/2022 ทรงๆกับ Q4/2021 โดย Q4/2021 มีรายการพิเศษ 2 รายการ
✔ หลักๆจะมีโปรเจคใหญ่ 2 โปรเจคจะทำให้รายได้เพิ่มขึ้น
🐢เต่าบินคาเฟ่🐢
✔ จุดคุ้มทุนตู้เต่าบินคือวันละ 20 แก้ว
✔ ปัญหาชิฟขาดไม่มีแล้ว ที่เหลือคือปัญหาการผลิตซึ่งตั้งเป้าหมายไว้วันละ 15 ตู้
◼️อื่นๆ◼️
✔ สัดส่วนรายได้เติมเงิน 60-65%, โอนเงิน 30-35% และเต่าบิน 1 digit
✔ สัดส่วนกำไรเติมเงิน 40-45%, สินเชื่อ 50-55% ส่วนเต่าบินเริ่มมีกำไรแล้ว
✔ CenPay เป็น Counter Cashier ซึ่งจับมือกับกลุ่มเซ็นทรัลโดยตอนนี้มี 1,700 จุดโดยเอาระบบบุญเติมไปดูแลหลังบ้านทั้งหมด โดยมีร้านสะดวกซื้อยี่ห้อนึงสามารถโอนเงินระหว่างสาขาได้ โดยใช้บัตรประชาชนและโทรศัพท์ โดยรายได้คิดเป็นจำนวน Transactions
✔ ยอดโอนเงินตกจาก Q3/21 ที่โควิดแทรกเข้ามาทำให้รายได้ในกระเป๋าลูกค้าลดลง โดยยอดการโอนเงินต่ำลง โดยปีนี้มีแบงค์ใหญ่ 1 แบงค์และ แบงค์กลาง 1 แบงค์เข้ามา
✔ Mini-ATM ตั้งตู้แล้ว Q1/2022 จำนวน 200 ตู้ โดย Q2/2022 จะใช้ บัตรATM, บัตรDebit, บัตรประชาชนในการทำรายการได้
✔ รายได้จากเต่าบินหลักล้านใน Q4/2022 ไม่ได้เยอะมาก
✔ ตั้งสำรองภาษีขึ้นมา 7 ลบ.
✔ ปีหน้า FVD เข้าตลาด
💡 Key Takeaways & Ideas
▪ ฐานลูกค้าจากตู้บุญเติมของบริษัทหลักๆ คือ กลุ่มลูกค้าที่รายได้น้อย-ปานกลางและลูกค้าที่รับเงินเป็นเงินสด และยังมีกลุ่มลูกค้าอีกกลุ่มที่เข้าถึงระบบธนาคารไม่ไ่ด้
▪ จำนวนตู้ ATM ทั้งประเทศมี 58,000 จุดแต่ตู้บุญเติมมี 129,907 จุด โดยตู้ ATM ที่ตั้งก็ไปย่านชุมชนหลักๆ แต่ของบุญเติมตั้งเข้าไปในระดับหมู่บ้าน ถ้าเราทำงานรับรายได้เป็นเงินสดแล้วและต้องการโอนเงินไปให้คนอื่นจะขับรถเข้าเมืองก็ไม่คุ้มค่าน้ำมัน สู้ยอมเสียค่าธรรมเนียมดีกว่าครับ แต่ในอนาคตแอดมองว่าความเป็นระบบไร้เงินสดจะมีมากขึ้นเรื่อยๆจนอาจไปถึง Transaction กว่า 80% อาจจะมาจากระบบไร้เงินสดก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นถึงเราจะมี Mobile App มีทำได้หมดทุกอย่างแต่ถ้ายังรับเงินเป็นเงินสดก็ต้องหาทางเอาเงินเข้า App อยู่ทีครับ
▪ ส่วนเต่าบินมีผลกับบริษัทไม่เยอะมากครับเพราะ FSMART ถือ FVD แค่ 19.34% ซึ่ง FSMART ต้องการถือเพิ่มเป็น 20% ก็เพื่อจะสามารถรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมได้ครับ
1
ขอให้สนุกกับการลงทุนครับ 😄
ถ้าชอบ Content ของแอดก็ขอกด Like กด Share เป็นกำลังใจให้แอดหน่อยนะครับ 😽
Reference:
▪ One Report บริษัท 2021
#ลงทุนลงดอย #OpportunityDay #OppdayQ42021 #เต่าบิน #FSMART
โฆษณา