Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
แม่มดนักอ่าน
•
ติดตาม
4 เม.ย. 2022 เวลา 11:18 • สุขภาพ
กลิ่นปากเกิดจากอะไร มาหาน้ำมันหอมระเหยที่ช่วยได้ & DIY น้ำยาบ้วนปากกัน
ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังต้องทนกับปัญหากลิ่นปาก ขอบอกว่าคุณมีเพื่อนมากมายเลยล่ะค่ะ
เพราะตามสถิติบอกว่ากลิ่นปากเป็นหนึ่งในปัญหาที่หมอฟันต้องเจอบ่อยที่สุด ต่างคนก็ต่างสาเหตุกันไป แต่เก็บเอาไว้ไม่ดีแน่ เพราะนอกจากจะสูญสียความมั่นใจแล้ว กลิ่นปากอาจจะเป็นสัญญาณบอกความเจ็บป่วยของอวัยวะบางอย่างก็ได้ 😨
มาหาสาเหตุเบื้องต้นกันก่อนดีกว่า
1. สาเหตุของคนส่วนใหญ่ ก็คือกลิ่นปากจากปัญหาภายในช่องปาก เศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟันหรือรูฟันผุแล้วเกิดการเน่าจากการย่อยของจุลินทรีย์ กลายเป็นกลิ่นปากเน่าเหม็น 🤢
2. บางคนก็เกิดจากเหงือกอักเสบ เหงือกเป็นหนอง ก็ทำให้เกิดกลิ่นปากได้เช่นกัน
3. การกินอาหารที่มีกลิ่นฉุน หรือกินเหล้า สูบบุหรี่ เหล่านี้ทำให้เกิดกลิ่นปากแน่นอนไม่ต้องสืบ 🚬
4. บางช่วงที่มีการหมุนเวียนของน้ำลายน้อย เช่นตอนนอน หรือระหว่างวันที่ดื่มน้ำน้อย อากาศร้อน ก็เกิดการหมักหมมของจุลินทรีย์ได้เหมือนกัน ที่เราเรียกกันว่า “น้ำลายบูด”
5. ผู้ที่เป็นภูมิแพ้จะมีน้ำเมือกไหลลงคอแล้วแบคทีเรียมาย่อยน้ำเมือกอีกทีทำให้เกิดกลิ่น 🤧
6. หรืออาจจะเป็นสัญญาณบอกอาการเจ็บป่วยในร่างกายบางอย่าง เช่น ไซนัส ทอนซิลอักเสบ กรดไหลย้อน มะเร็งในโพรงจมูก หรือโรคของระบบทางเดินอาหาร โรคกระเพาะ โรคลำไส้ โรคตับ โรคไต และโรคเบาหวาน 😵
ถ้าดูแล้วยังไงก็ไม่น่าใช่ปัญหาภายในช่องปากแน่ๆ แบบนี้รีบไปเช็คสุขภาพดีกว่าค่ะ
แต่ถ้าไม่ได้เจ็บป่วยอะไร แต่เป็นกลิ่นจากในปากเราเอง จะแก้ยังไงดีนะ?
แปรงฟันก็แล้ว เคี้ยวหมากฝรั่งก็แล้ว อมลูกอมก็ไม่หาย แถมมันยังอบอวลตอนใส่หน้ากากซะด้วยสิ
ปกติแม่มดนักอ่านจะใช้ peppermint oil 🌿 ผสมน้ำบ้วนปาก ก็รู้สึกสดชื่นและลดกลิ่นปากได้ดี แต่อยากรู้ว่ามีงานวิจัยบ้างไหม เลยลองเปิดหาก็มาเจอเปเปอร์นึง
ใบเปปเปอร์มินต์ Cr. canva
📄 เป็นผลงานการศึกษาของกลุ่มนักเรียนหญิงในกรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน ที่ทำการทดลองกับเพื่อนๆภายในโรงเรียน เป็นการทดลองเล็กๆแต่ได้รับการตีพิมพ์เป็น Journal of International Society of Preventive & Community Dentistry ทีเดียว น่าสนใจไม่น้อย มาดูกันค่ะ
การทดลองนี้ต้องการทดสอบประสิทธิภาพในการลดกลิ่นปากของน้ำยาบ้วนปากที่ผสม peppermint เลยเริ่มจากการสำรวจปัญหาก่อนว่าเพื่อนๆในโรงเรียนที่มีอายุ 14-18 ปี มีปัญหากลิ่นปากกันเยอะแค่ไหน ได้ผลมาว่า นักเรียนทั้งหมด 504 คน มีปัญหากลิ่นปากอยู่ 24.4%
จากนั้นก็ขอให้เพื่อนๆที่มีปัญหากลิ่นปากเข้าร่วมทดลองตามความสมัครใจ ได้ผู้เข้าร่วมทดลองอยู่ 84 คน เลยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ใช้น้ำยาบ้วนปากที่ผสม peppermint 43 คน และกลุ่มที่ใช้น้ำยาบ้วนปากธรรมดาอีก 41 คน ทดลองแบบ blind test คือไม่มีใครรู้ว่าตัวเองได้ใช้น้ำยาบ้วนปากแบบไหน
ผู้เข้าร่วมทดลองต้องทำการบ้วนปาก หลังอาหารเช้า หลังอาหารกลางวัน และก่อนนอน เป็นเวลา 1 สัปดาห์ โดยใช้อมน้ำยาบ้วนปาก 15–20 ml ไว้ 30 วินาที และงดทานอาหารภายใน 30 นาทีหลังบ้วนปาก
ผ่านไป 1 สัปดาห์ก็ทำการสำรวจอีกครั้ง แม่มดนักอ่านอยากให้มองเห็นภาพเลยจับตัวเลขมาใส่กราฟให้ดูค่ะ
ผลการทดสอบประสิทธิภาพของ peppermint ในการลดกลิ่นปาก
จะเห็นได้ว่ากลุ่มที่มีการผสม peppermint มีคนที่กลิ่นปากหายไปทั้งหมด 23 คน ขณะที่กลุ่มที่ใช้น้ำยาบ้วนปากธรรมดามีกลิ่นปากหายไปเพียง 11 คนเท่านั้น น้องๆเค้าเลยสรุปได้ว่า peppermint ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการลดกลิ่นปากลงได้อย่างชัดเจนค่ะ
ซึ่งผลนี้ก็สอดคล้องกับอีกผลงานวิจัยหนึ่งที่ทดสอบกับผู้ป่วยห้อง ICU ซึ่งการทดลองนั้นใช้น้ำที่ผสมน้ำมันหอมระเหย 3 ชนิด คือ peppermint, tea tree และ lemon ให้อมไว้ 3 นาที แล้ววัดระดับกลิ่นปากที่เวลา 5 นาที และ 1 ชั่วโมงหลังจากบ้วนปาก พบว่าน้ำมันหอมระเหยช่วยลดกลิ่นปากได้อย่างชัดเจนเช่นกัน
น้ำมันหอมระเหยที่ช่วยลดจุลินทรีย์ แบคทีเรีย เชื้อราในช่องปากไม่ได้มีแค่ peppermint เท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายชนิดเช่น peppermint, cinnamon, clove, tea tree, eucalyptus, lavender และ lemon ซึ่งถูกใช้ดูแลปากและฟันมาตั้งแต่ก่อนมียาสีฟันใช้กัน
แต่ peppermint ได้รับความนิยมมากที่สุด ด้วยความที่ให้กลิ่นหอมเย็น ทำให้รู้สึกสดชื่น สบายปากมากกว่า เลยครองตำแหน่งส่วนผสมยอดฮิตในผลิตภัณฑ์ดูแลปากไปนั่นเอง
📌 วิธี DIY น้ำยาบ้วนปากก็ง่ายมาก ก็เพียงแค่หยด peppermint oil* 1-2 หยดผสมน้ำ อมไว้ 30 วินาที - 1 นาทีแล้วบ้วนออก ถ้าเป็นภูมิแพ้ก็กลั้วคอด้วยเลย เพื่อช่วยล้างเมือกที่ติดอยู่ที่โคนลิ้นค่ะ
แนะนำให้ใช้บ้วนปากวันละ 3 ครั้งหลังอาหารและก่อนนนอน หรือเมื่อรู้สึกมีกลิ่นปาก อยากให้ลมหายใจสดชื่นก็ได้เลย
รับรองว่าจะรู้สึกว่าจะรู้สึกถึงความเย็นสดชื่น กลิ่นปากหายไป และไม่แสบปากอีกด้วย
* Peppermint oil ควรเป็นเกรดบำบัดที่ผู้ผลิตแจ้งว่ากินได้ด้วย เพราะใช้กับปากของเรา อาจมีราคาที่สูงหน่อยแต่ปลอดภัยและได้ผลกว่ามากค่ะ
หวังว่าจะเป็นประโยชน์และสวมแมสก์ครั้งต่อไปอย่างมีความสุขนะคะ
<< เกี่ยวกับผู้เขียน >>
🧙🏻♀️ แม่มดนักอ่าน 📖
Essential Oil Specialist ให้คำปรึกษาการใช้น้ำมันหอมระเหยบำบัด
หลงใหลวิทยาศาสตร์ ชอบอ่านงานวิจัยเพื่อขุดคุ้ยหาเคล็ดลับดีๆในการใช้น้ำมันหอมระเหยเป็นตัวช่วยในการดูแลตัวเองและคนในครอบครัว
สนใจน้ำมันหอมระเหยหรืออยากปรึกษาทักมาได้นะคะ
📍 FB Page:
https://bit.ly/3J4pOof
References:.
https://bangkokpattayahospital.com/th/healthcare-services/dental-cosmetic-and-implant-center-th/dental-articles-th/item/358-halitosis-th.html
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3894100/
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17380550/
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4606594/
น้ำมันหอมระเหย
ธรรมชาติบำบัด
บันทึก
1
3
1
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย