4 เม.ย. 2022 เวลา 13:31 • ไลฟ์สไตล์
พอเข้าสู่โลกการทำงาน แน่นอนว่าเราต้องเคยได้ยินสัก 1 คำในประโยคนี้
2
‘เราต้องอัปสกิล (Upskill) รีสกิล (Reskill) เป็นคนยืดหยุ่น และมี Growth Mindset!’
องค์กรยุคใหม่พูดถึงคุณลักษณะเหล่านี้อยู่บ่อยๆ และต่างคาดหวังให้พนักงานเป็น “Lifelong Learners” หรือ นักเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อตอบรับกับการพัฒนาอันรวดเร็วของเทคโนโลยีรอบๆ ตัว เราจะเห็นว่าฝ่าย HR สนับสนุนเป็นอย่างยิ่งให้พนักงานเข้าอบรม เข้าฟังสัมมนา หรือลงคอร์สเรียนเพื่อพัฒนาทักษะใหม่ๆ
2
โดยลืมไปว่า.. พนักงานอยากเรียนรู้สิ่งเหล่านี้จริงหรือเปล่า?
8
จริงอยู่ว่าทักษะกล่าวมานี้จะกลายเป็น ‘เครื่องมือสำคัญ’ สำหรับพนักงานในอนาคตทั้งอันใกล้และไกล แต่ปัญหาอยู่ตรงที่พนักงานจำใจเรียนรู้ด้วย ‘ความจำเป็น’ และ ‘ความกลัว’ ว่าจะตกงานในอนาคต ไม่ใช่เพราะอยากเรียนรู้จริงๆ
แล้วอะไรล่ะที่เป็นแรงผลักดันให้คนคนหนึ่งกลายเป็น “Lifelong Learners” ?
บทความของจอห์น เฮเกล จาก Harvard Business Review ได้สำรวจทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต ว่าอะไรที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้คนคนหนึ่งอยากเรียนรู้ อะไรที่ไม่ใช่ตัวกระตุ้นที่ดี และบริษัทจะทำให้พนักงานอยากเรียนรู้ได้อย่างไร
#ทำความเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบัน
1
ปัจจุบันบริษัทเพิ่มทักษะให้พนักงานอย่างไรบ้าง? แน่นอนว่าส่วนใหญ่เป็นการให้ลงคอร์สเรียนทักษะต่างๆ แต่จอห์น เฮเกล ผู้เขียนมองว่า ปัญหาของโปรแกรมพัฒนาทักษะเหล่านี้ คือ มันเพียงแต่หยิบยื่นความรู้ที่มีอยู่แล้วให้ (ซึ่งบนโลกที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ความรู้นั้นอาจจะกลายเป็นเรื่องเก่าในอีก 2-3 ปีข้างหน้า) ไม่ได้กระตุ้นให้พนักงานอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง
ส่วนอีกปัญหาที่ใหญ่ไม่แพ้กัน คือ ผู้เรียนนั้นไม่ได้อยากเรียนรู้เพื่อตอบความสงสัย แต่เรียนเพราะ ‘กลัว’ ไม่ว่าจะกลัวตกเทรนด์ กลัวโดนหุ่นยนต์แย่งงาน หรือกลัวว่าจะล้าหลังคนอื่นๆ ความกลัวไม่ใช่แรงกระตุ้นในการเรียนที่ดีเลย ลองนึกภาพเราสมัยเป็นนักเรียนดูก็ได้ การต้องจำใจเรียนเพราะถูกขู่ ดุด่า หรือลงโทษนั้นไม่ได้ส่งผลดีในระยะยาว และเราก็รู้เรื่องนั้นดี
1
หากไม่ใช่ความกลัว อะไรล่ะจะผลักดันให้เราอยากเรียนรู้?
The Passion of the Explorer #แรงขับเคลื่อนของนักเรียนรู้ตลอดชีวิต
1
จากการศึกษาค้นคว้าในพนักงานกว่า 1,300 คนจากอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต่างกันถึง 15 ประเภท รายงานพบว่าสิ่งที่กระตุ้นให้คนเราเรียนรู้และเติบโตได้ดี คือ “Passion of the Explorer” หรือแพชชันในการค้นคว้านั่นเอง
โดย Passion of the Explorer นี้ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบหลัก
1) รักในสิ่งที่ทำ :: พวกเขามีความมุ่งมั่นระยะยาวในการทำสิ่งที่พวกเขาสนใจให้สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นงานที่ได้รับมอบหมาย งานที่ชอบ การจัดสวน ไปจนถึงการเล่นโต้คลื่น
2) ชอบความท้าทาย :: เมื่อเจอปัญหาที่ไม่คาดคิด พวกเขาจะรู้สึก ‘ตื่นเต้น’ มากกว่า ‘ตื่นกลัว’ เพราะพวกเขามองว่าอุปสรรคนั้นคือโอกาสในการเรียนรู้ ถ้าทำงานที่ไม่มีความท้าทาย พวกเขาจะรู้สึกเบื่อเป็นอย่างมาก
3) รู้จักพึ่งพาคนอื่น :: คนเหล่านี้รู้ดีว่าการอยู่แบบ ‘หัวเดียวกระเทียมลีบ’ นั้นไม่ช่วยให้พวกเขาได้พัฒนาไปไหนแน่นอน แต่ละครั้งที่พบกับความท้าทาย พวกเขาจึงรีบติดต่อและสอบถามข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญหรือคนอื่นๆ ที่มีประสบการณ์ทันที
2
งานวิจัยพบว่ากลุ่มคนที่มีคุณลักษณะเหล่านี้เรียนรู้ได้เร็วกว่าคนที่เรียนรู้เพราะความกลัว อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่ไม่ได้กำลังเรียนรู้เพราะอยากเรียนรู้จริงๆ ผลสำรวจพบว่าในสหรัฐอเมริกา พนักงานที่มีแพชชัน (Passion) ในงานที่ทำมีเพียง 14% เท่านั้น!
1
ทำไมตัวเลขถึงน้อยแบบนี้?
จอห์น เฮเกล เชื่อว่าเป็นเพราะเราไม่ได้ถูกสนับสนุนให้ ‘สงสัย’ และ ‘ทดลอง’ เหมือนที่เคยเป็นในตอนเด็ก ในโลกของการทำงานไม่มีพื้นที่สำหรับการเรียนรู้มากนัก เพราะความสงสัยมักจะนำไปสู่ ‘คำถาม’ และ ‘การทดลอง’ ซึ่งสองสิ่งนี้ทำให้เสียเวลา เสียทรัพยากร และอาจเสี่ยงต่อความล้มเหลว
เราส่วนใหญ่จึงต้องทำงานตามคู่มือราวกับเป็นฟันเฟืองชิ้นหนึ่งในเครื่องจักรไร้ชีวิต เพราะการทำตามสูตรสำเร็จนั้น ‘ถูกกว่า’ และ ‘เร็วกว่า’ ซึ่งตอบโจทย์กับโลกทุนนิยม
จริงอยู่ที่องค์กรใหญ่ๆ บนโลกถูกผลักดันด้วยโมเดลที่สเกลได้ (เพราะถูกกว่าและเร็วกว่าคือกุญแจสู่ความสำเร็จ) แต่ประสิทธิภาพของมันอาจเปลี่ยนไป โดยเฉพาะตอนนี้ ที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน
หากจะรับมือได้นั้น เราต้องมีพนักงานที่เป็น “Lifelong Learners” ที่อยากพัฒนาตัวเอง ไม่ว่าจะผ่านการเรียนรู้หรือการทดลอง หรือมี “Passion of the Explorer” นั่นเอง ผู้เขียนเชื่อว่าเราทุกคนมีศักยภาพที่จะสร้างแพชชันดังกล่าวได้ ไม่ต่างจากเด็ก 5-6 ขวบในสนามเด็กเล่น ลึกๆ แล้วเรายังเต็มไปด้วยความสงสัย จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และความกล้าที่จะเสี่ยง
แล้วจะปลุกตัวตนที่ชอบเรียนรู้อย่างไรดี?
Cultivating the Passion of the Explorer #สร้างแพชชันแห่งการเรียนรู้
เมื่อเข้าใจว่า Passion of the Explorer สำคัญต่อการเป็น Lifelong Learners อย่างไรแล้ว เราต้องเปลี่ยนจุดโฟกัสจากการทำงานรูทีนเดิมๆ ให้มาเป็นการช่วยเหลือให้ทุกคนเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วไปพร้อมๆ กัน องค์กรต้องออกแบบการดำเนินธุรกิจ (Business Practices) และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (Work Environment) เสียใหม่ ให้เป็นพื้นที่ในการกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่จะเรียนรู้
1
อาจเริ่มจากการตามหาว่า ขั้นตอนใดหรือแผนกใดขององค์กรที่ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ? และพอจะมีหนทางช่วยให้พนักงานจัดการกับปัญหาเหล่านี้ด้วยตัวเองได้ไหม?
1
ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Quest Diagnotics หนึ่งในบริษัท Fortune 500 กำลังประสบปัญหาในด้านการให้บริการลูกค้าผ่านคอลเซนเตอร์ มีลูกค้าจำนวนมากไม่ประทับใจการให้บริการ แต่พนักงานในแผนกไม่มีเวลามากพอไปแก้ไขปัญหา เพราะงานเดิมที่ทำก็ล้นมืออยู่แล้ว
บริษัทจึงสนับสนุนให้พนักงานคอลเซนเตอร์ทำงานร่วมกับแผนก IT ให้ทำการ “Automation” หาทางเปลี่ยนงานรูทีนซ้ำๆ เดิมๆ ให้เป็นอัตโนมัตินั่นเอง
เมื่องานที่กินเวลาและพลังงานถูกทำให้เป็นอัตโนมัติแล้ว พนักงานคอลเซนเตอร์จึงมีเวลาว่างมากขึ้น บริษัทจึงชี้แนะว่าให้ใช้เวลาเหล่านี้ แก้ไขปัญหาอันท้าทายที่เผชิญอยู่ ซึ่งก็คือ “จะทำอย่างไรให้ลูกค้าพึงพอใจในบริการ?” นั่นเอง ผลลัพธ์ที่ตามมาจากการสนับสนุนให้พนักงานเรียนรู้และแก้ปัญหาด้วยตัวเองครั้งนี้ คือ ลูกค้าพึงพอใจต่อการให้บริการมากขึ้น และ พนักงานคอลเซนเตอร์รู้สึกตื่นเต้นกับการได้แก้ปัญหา เมื่อพวกเขารู้สึกว่าความสามารถของพวกเขาสร้างคุณค่าให้แก่องค์กรได้ ความต้องการในการเรียนรู้ก็เกิดขึ้นตามมา
จะเห็นได้ว่า Passion of the Explorer ทำให้เกิดการคิดเชิงนวัตกรรมในองค์กรแบบที่เราคาดไม่ถึง
1
แม้คนจำนวนมากจะไม่ได้รู้สึกรักในงานที่ทำ แต่ถ้าองค์กรเปิดพื้นที่ให้พนักงานสัมผัสกับด้านที่เป็นมนุษย์มากขึ้นผ่านการตั้งคำถาม มุมมองต่องานที่ทำอาจเปลี่ยนไป เพราะพวกเขาได้กลายเป็นนักเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learners) ที่ตื่นเต้นในการรับมือกับความท้าทายในแต่ละวัน
การตื่นเช้ามาทำงานก็อาจจะไม่ใช่เรื่องน่าเบื่ออีกต่อไป แต่เป็นโอกาสแห่งการเรียนรู้ ทดลอง และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ให้แก่โลกใบนี้
อ้างอิง
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#reskill
โฆษณา