5 เม.ย. 2022 เวลา 05:56 • ประวัติศาสตร์
อินคา ชนเผ่าผู้มีฝีมือแต่งหิน
ชนเผ่าอินคาในอินเดียนแดง
ในสมัยโบราณ​ มีสิ่งมหัศจรรย์​จำนวนหลายสิบชิ้นที่ยังคงสภาพจนถึงปัจจุบัน​ ชวนให้คนรุ่นหลังสงสัยในที่มาที่ไปของมัน​ และกำแพงหินของชาวอินคา​ ก็เป็นหนึ่งในสิ่งก่อสร้างที่ชวนให้นักสถาปัตยกรรม​หลายคนสงสัย​ จนต้องค้นคว้าและทดลองตามสมมุติ​ฐานของตนเอง​ และผู้ที่ล้วงลึกไปในอดีตจนพบเหตุ​ผลนั้นก็คือ​ นายชอง​ ปีแอร์​ โปรชอง​ (Jean-Pierre Protzen) อาจารย์​ทางด้านสถาปัตยกรรม​จากมหาวิทยาลัย​แห่งแคลิฟอร์เนีย
นายโปรซองศึกษา​วิธีการ​ทำงานของช่างหินชาวอินคามาตั้งแต่ ปี​ ค.ศ.1982 โดยการเข้าไปสำรวจเหมืองหินของชาวอินคาโบราณ​ ซึ่งอยู่ใกล้เมืองกุสโก บริเวณ​ใจกลางเทือกเขาแอนดีส​ ทางตอนใต้ของประเทศเปรู​ เขาพบค้อนหินที่เป็นหินประเภทควอร์ตไซต์​ซึ่งเป็นหินที่แข็งแกร่งมากและได้นำมาลองใช้แต่งก้อนหินที่หลงเหลืออยู่ในบริเวณ​นั้น​ จนกระทั่ง​เขาสามารถ​สรุปได้ว่า
กำแพงหินของชาวอินคา
ในสมัยก่อน​ พวกช่างหินชาวอินคา​ ใช้ค้อนหิน​ 3 ขนาดคือ​ ขนาดใหญ่​หนัก​ 8-9​ กิโลกรัม​ ใช้สำหรับสกัดหินเบื้องแรก​ ขนาดกลางหนัก​ 2-5 กิโลกรัม​ ใช้ในการตกแต่งผิวให้เรียบ​ และขนาดเล็ก​ หนักไม่ถึง​ 1 กิโลกรัม​ ใช้สำหรับแต่งขอบให้คมเรียบ​ ซึ่งนับเป็นความชาญฉลาดของช่างหินชาวอินคาอย่างยิ่ง​ ที่สามารถ​เรียงก้อนหินขนาดใหญ่​ให้ต่อกันเป็นกำแพงที่หนักแน่น​ และตั้งอยู่อย่างมั่นคงได้เป็นระยะเวลายาวนานหลายร้อยปี​ โดยไม่ต้องใช้ปูนผสานรอยต่อเลย​ ซึ่งหินบางก้อนนั้นหนักกว่า​ 100 ตันก็มี​ แต่ก็สามารถ​ก็ขึ้นไปจนสูงโดยไม่พังทลาย​ลงมา​ และที่สำคัญ​พวกเขาไม่ได้ใช้เครื่องมือโลหะในการแต่งหินเลย
รู้หรือไม่
เมื่อวันที่​ 21​ พฤษภาคม​ ค.ศ.​ 1950 ได้เกิดแผ่นดินไหวที่เมืองกุสโก​ ประเทศ​เปรู​ แต่ปรากฏ​ว่า​ฐาน​หินที่อยู่ใต้ตัวเมืองซึ่งสร้างโดยชาวอินคา​ ยังคงอยู่​ในสภาพปกติ​ จะมีก็เพียงหินบางก้อนเท่านั้นที่เคลื่อน​ออกจากกันเพียงเล็กน้อย
โฆษณา