6 เม.ย. 2022 เวลา 03:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
รีไฟแนนซ์ วิธีง่าย ๆ ที่ช่วยให้ผ่อนบ้านหมดเร็วขึ้น 10 ปี
เมื่อทุกคนทำงานกันมาถึงระยะหนึ่ง สินทรัพย์ที่น่าจะมีมูลค่าสูงอันดับต้น ๆ ของบรรดาสินทรัพย์ทั้งหมดก็คงหนีไม่พ้น “บ้าน” ด้วยมูลค่าที่ค่อนข้างสูงทำให้โดยส่วนใหญ่การจะเป็นเจ้าของบ้านสักหลังก็มักจะใช้บริการสินเชื่อของสถาบันการเงินเข้ามาร่วมด้วย จากนั้นก็ทยอยผ่อนชำระคืนให้แก่สถาบันการเงินเป็นระยะเวลา 20-30 ปี
2
  • เชื่อหรือไม่ว่า ผ่อนบ้าน 30 ปี เราต้องจ่ายเงินมากกว่า 2 เท่าของมูลค่าบ้าน
ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อเราใช้บริการสินเชื่อ สิ่งที่ตามมาก็คือ “ดอกเบี้ย” แต่รู้หรือไม่ว่า หากเราลองคำนวณเงินที่เราต้องชำระตั้งแต่การเริ่มผ่อนชำระไปจนหมด รวมเงินต้นและดอกเบี้ยแล้วจะสูงถึงกว่า 2 เท่าของมูลค่าบ้านเลยทีเดียว พูดง่าย ๆ คือ ถ้าหากเราซื้อบ้านราคา 1,000,000 บาท ทยอยผ่อน 30 ปี ตามงวดที่ธนาคารกำหนด เราจะต้องผ่อนชำระรวมกันทั้งหมดมากกว่า 2,000,000 บาท
1
โดยทั่วไปแล้วถ้าใช้บริการสินเชื่อบ้าน 1,000,000 บาท เราจะต้องผ่อนชำระประมาณ 6,000 บาทตลอดระยะเวลา 30 ปี นั่นหมายความว่า เราจะต้องจ่ายเงินรวมทั้งหมด 6,000 บาท x 12 เดือน x 30 ปี เท่ากับ 2,160,000 บาทเลยทีเดียว ดังนั้น คงเป็นเรื่องที่ดีถ้าเราสามารถลดค่าใช้จ่ายจาก “ดอกเบี้ย” ลงไปได้ ซึ่งเทคนิคในการลดดอกเบี้ยบ้าน คือการ “รีไฟแนนซ์ (Refinance)”
1
  • การรีไฟแนนซ์ (Refinance) คืออะไร ?
การรีไฟแนนซ์ คือ การลดภาระค่าใช้จ่ายเรื่องดอกเบี้ย โดยปกติแล้วเวลาที่เราใช้บริการสินเชื่อบ้าน สถาบันการเงินจะมี “ดอกเบี้ยพิเศษ” ช่วงโปรโมชั่นระยะเวลา 3 ปีแรกและหลังจากนั้นเป็นต้นไปดอกเบี้ยจะปรับเป็นอัตราลอยตัวซึ่งจะสูงกว่าช่วงในโปรโมชั่น ทำให้เราต้องเสียดอกเบี้ยที่สูงขึ้นกว่าเดิม
2
หลักการของการทำรีไฟแนนซ์ คือ เมื่อพ้นช่วงดอกเบี้ยโปรโมชั่นให้เราหาแหล่งเงินกู้ใหม่ เพื่อให้ได้ดอกเบี้ยพิเศษ ต่อไปอีก 3 ปี ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ ซึ่งถ้าเราทำการรีไฟแนนซ์อย่างต่อเนื่องเพื่อรับดอกเบี้ยในระดับต่ำ จะช่วยทำให้เราผ่อนบ้านได้หมดเร็วขึ้น 10 ปีเลยทีเดียว
1
เพื่อให้เห็นตัวอย่างที่ชัดเจนมากขึ้น เรามาดูตัวอย่างการคำนวณเพิ่มเติมกัน ในกรณีที่เราต้องการซื้อบ้านมูลค่า 3,000,000 บาท วางดาวน์ 20% หรือ 600,000 บาท ก็จะเหลือเงินที่ต้องใช้บริการจากสถาบันการเงินอยู่ที่ 2,400,000 บาท โดยเราจะต้องผ่อนชำระอยู่ที่ 14,400 บาทต่อเดือน นั่นหมายความว่า ตลอดระยะเวลา 30 ปี เราจะต้องจ่ายเงินรวมทั้งสิน 14,400 บาท x 12 เดือน x 30 ปี เท่ากับ 5,184,000 บาท
2
ซึ่งหากเราทำการรีไฟแนนซ์อย่างต่อเนื่องทุก 3 ปี เพื่อให้เราเสียดอกเบี้ยในระดับที่ต่ำลงตลอดอายุสัญญาหรือลดลงจาก 6% ต่อปี เหลือเพียง 3% ต่อปีได้ แปลว่าในทุก ๆ งวด เงินที่เราผ่อนชำระจะถูกนำไปหักเงินต้นได้มากขึ้น จากเดิมที่เราต้องผ่อนเป็นระยะเวลา 30 ปี จะช่วยทำให้ผ่อนเหลือเพียงแค่ 20 ปีเท่านั้น หรือช่วยให้เราประหยัดเวลาผ่อนไปได้ถึง 10 ปีเลยทีเดียว
2
โดยจำนวนเงินที่ต้องชำระทั้งหมดภายในช่วงระยะเวลา 10 ปี อยู่ที่ 14,400 บาท x 12 เดือน x 20 ปี เท่ากับ 3,456,000 บาท เท่านั้น
1
  • อีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายมากกว่าการรีไฟแนนซ์ คืออะไร ?
นอกจากนี้สำหรับใครที่ต้องการผ่อนบ้านให้หมดเร็วขึ้นอีกก็ยังสามารถ “โปะ” ซึ่งเป็นการจ่ายในจำนวนที่มากกว่าที่สถาบันการเงินกำหนดในแต่ละงวด เพราะเงินที่จ่ายเพิ่มในแต่ละเดือนจะถูกนำไปหักเงินต้นโดยตรง ยิ่งช่วยทำให้ภาระดอกเบี้ยยิ่งต่ำลงไปอีก สมมติว่า ถ้าใครโปะได้อีก 1 เท่าจากงวดปกติ พร้อมทำรีไฟแนนซ์ทุก ๆ 3 ปี จะช่วยทำให้เราผ่อนบ้านหมดในระยะเวลาเพียงแค่ 8 ปีเท่านั้น
3
จากตัวอย่างในกรณีข้างต้น หากซื้อบ้านมูลค่า 3,000,000 บาท และใช้บริการกู้สินเชื่ออยู่ที่ 2,400,000 บาท เราจะต้องชำระเงินทั้งหมดเพียง 28,800 x 12 เดือน x 8 ปี เท่ากับ 2,764,800 บาท เท่านั้น
จะเห็นได้ว่าการรีไฟแนนซ์ช่วยให้เราผ่อนหนี้บ้านได้ไวขึ้นมาก แถมจำนวนเงินที่จ่ายรวมยังลดลงถึง 1,728,000 บาท และเมื่อเรารีไฟแนนซ์พร้อมกับโปะเพิ่ม 1 เท่าตัว ก็จะทำให้ประหยัดเงินไปได้เกือบ 2,420,000 บาทเลยทีเดียว
1
  • ภัยมืดที่ทุกคนอาจจะมองข้าม
1
ลองนึกภาพ เสาหลักของครอบครัวหาเงินมาชำระหนี้ค่าบ้านคนเดียว หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันภาระที่เหลืออยู่ก็จะตกมาสู่คนข้างหลังแล้วก็มีหลายต่อหลายเคสที่ต้องถูกยึดบ้านหาที่อยู่ใหม่ จะดีกว่าไหมหากเรามีหลักประกันที่มั่นใจได้ว่า ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเราเองก็ยังเป็นเจ้าของบ้านอยู่ประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อ เป็นเครื่องมือที่คอยป้องกันความเสี่ยงจากความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ส่วนใหญ่ลูกค้าจะไม่ค่อยอยากซื้อเพราะคนซื้อไม่ได้ใช้ ส่วนคนที่ใช้ก็ไม่ได้ซื้อ กลับรู้สึกว่าเป็นการซื้อทิ้งบ้าง แต่อยากฝากให้คิดว่าความเสี่ยงนั้นอยู่ในตัวเราทุกคน หากเราสามารถซื้อความเสี่ยงนั้นด้วยเงินคุณสนใจที่จะซื้อหรือเปล่า
2
แนะนำว่าในตอนที่ขออนุมัติสินเชื่อบ้าน เราสามารถทำประกันชีวิตแบบคุ้มครองสินเชื่อ (MRTA) เพื่อป้องกันความเสี่ยงไม่ให้เป็นภาระกับคนข้างหลัง ซึ่งเราสามารถเลือกทยอยจ่ายค่าเบี้ยประกันพร้อมกับค่างวดบ้านได้ ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินก้อน
ที่สำคัญ คือ การ “ทำประกันชีวิตแบบคุ้มครองสินเชื่อ (MRTA)” จะช่วยทำให้อัตราดอกเบี้ยถูกลงด้วย นอกจากนี้ “ค่าเบี้ยประกัน” ยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ โดยจะมีระยะเวลาคุ้มครองมากกว่า 10 ปีขึ้นไป ซึ่งสามารถหักลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
โฆษณา