5 เม.ย. 2022 เวลา 12:00 • การตลาด
เรียนรู้การตลาดฉบับ “เต่าบิน” ที่ทำให้หลายคน ถึงกับออกตามหาตู้
2
หากพูดถึงกระแสเครื่องดื่มที่มาแรงมาก ๆ ในประเทศไทยช่วงปีที่ผ่าน ๆ มานี้
คงหนีไม่พ้น “ชานมไข่มุก” ที่ผุดขึ้นมาทั้งราคาถูก ราคาแพง จนมองไปทางไหนก็เจอ
หรืออีกอย่าง ก็น่าจะเป็นกระแสเครื่องดื่มกัญชง ที่ทำเอาเหล่าบริษัทใหญ่ ๆ ลงมาเล่นกันเพียบ
1
แต่เมื่อไม่นานมานี้ เพิ่งมีเครื่องดื่มแบรนด์หนึ่ง ที่ไม่ได้ขายชานมไข่มุก หรือเน้นขายเครื่องดื่มในกระแสเพียงอย่างเดียว
เพราะแบรนด์นี้ ขายเครื่องดื่ม (แทบ) ทุกอย่าง ผ่านตู้อัตโนมัติ
แต่มันกลับทำให้หลายคน ถึงกับต้องเซิร์ชหาโลเคชันใกล้บ้าน
เพื่อจะขอไปลองอุดหนุนเจ้าตู้เครื่องดื่มนี้ดูสักครั้ง..
3
ตู้เครื่องดื่มที่ว่า ก็คือ “เต่าบิน”
สำหรับคนที่ยังไม่รู้จักตู้เต่าบิน อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ
เต่าบิน คือ “ตู้ขายเครื่องดื่มอัตโนมัติ” ที่สามารถทำเครื่องดื่มสด ๆ แก้วต่อแก้วได้กว่า 170 เมนู ในราคาเริ่มต้นเพียง 15 บาท/แก้ว
1
ทำให้เข้าถึงได้ง่าย และที่สำคัญคือ ตู้เต่าบินเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง
1
ตัวอย่างเมนูยอดฮิต เช่น บ๊วยเย็น, โอริโอปั่นภูเขาไฟ, มัจฉะลาเต้เย็น, โกโก้เย็น, เป๊ปซี่ปั่น
และเมนูสุดแหวก ที่เพิ่งเป็นกระแสล่าสุดอย่าง โจ๊กถ้วย
3
ที่น่าสนใจคือ ถึงแม้ว่าเต่าบิน เพิ่งเปิดตัวมาได้เพียง 1 ปี
แต่ปัจจุบัน มีจำนวนตู้มากกว่า 800 ตู้ทั่วประเทศไทยแล้ว
และทางบริษัท ยังเคลมว่า ตู้เต่าบิน จะขยายกองทัพไปกว่า 20,000 ตู้ ภายใน 3 ปีต่อจากนี้..
1
ซึ่งมากกว่าจำนวนสาขาของ 7-Eleven ในประเทศไทยในปัจจุบัน ที่มีอยู่ประมาณ 13,134 สาขา
(โดย 7-Eleven ในไทย ขยายสาขาปีละประมาณ 700 กว่าสาขา)
1
พอเห็นแบบนี้ หลาย ๆ คนคงสงสัยแล้วว่า ใครคือเจ้าของตู้เต่าบิน ?
คำตอบก็คือ บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ FSMART ซึ่งจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
หรือถ้าใครไม่คุ้นชื่อ บริษัทนี้ก็คือเจ้าของ “ตู้บุญเติม” สีส้ม ที่อยู่หน้าร้านสะดวกซื้อทั่วไทยนั่นเอง
2
นอกเหนือจากความน่าดึงดูดของตู้เต่าบิน ที่ดูน่าตื่นตาตื่นใจ
เต่าบินยังถึงกับกลายเป็นที่สนใจของสื่อต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเพจรีวิวอาหารใน Facebook และ Instagram, ช่อง YouTube ที่ทำคอนเทนต์รีวิวเต่าบิน
และแฮชแทก #ตู้เต่าบิน ใน Twitter ที่ถูกพูดถึงกันเป็นอย่างมาก
3
ซึ่งบางคน ก็ถึงกับประกาศตามหาตู้เต่าบินใน Twitter หรือบางคนก็โพสต์ว่า “ในที่สุดก็ได้กินเต่าบิน” ซึ่งล้วนแสดงถึงกระแสความฮอตของเต่าบินในตอนนี้
5
พอเห็นแบบนี้ หลาย ๆ คนคงเกิดความสงสัยเหมือนกันว่า
อะไรคือเบื้องหลังความสำเร็จในการตลาดของเต่าบิน ?
2
ถ้ามาวิเคราะห์ผ่านเครื่องมือการตลาด “4P”
ซึ่งได้แก่ Product (ผลิตภัณฑ์), Price (ราคา), Place (ช่องทางจัดจำหน่าย) และ Promotion (การส่งเสริมการขาย)
1
1. ความหลากหลายของเมนู (Product)
ถ้าหากเราพูดถึงร้านขายน้ำที่มีคนทำ เราคงจะไม่แปลกใจกับการมีเมนูให้เลือกเยอะ ๆ
1
แต่สำหรับตู้เต่าบินที่เป็นตู้คาเฟอัตโนมัติ แล้วสามารถทำได้มากกว่า 170 เมนู
นับเป็นเรื่องที่ใครฟังก็ต้องตื่นเต้น แล้วก็คงอยากสั่ง พลางคิดตามว่าข้างในนั้นมีระบบจัดการอย่างไร กับเมนูที่มากขนาดนี้
1
เพราะก็ต้องยอมรับกันตรง ๆ ว่าคาเฟ หรือร้านเครื่องดื่มส่วนใหญ่
น่าจะมีเมนูไม่ถึง 50 เมนูเลยด้วยซ้ำ..
1
ซึ่งในอนาคต เต่าบินก็น่าจะทำได้มากกว่าเครื่องดื่ม
เพราะอย่างล่าสุด ตู้เต่าบินที่ตึก Forth มีทดลองขายโจ๊กจริง ในราคา 25 บาทแล้ว..
1
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของรสชาติ ที่เหล่านักรีวิวบนโซเชียลมีเดียต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “อร่อยทุกเมนู”
พอเห็นกันแบบนี้ ก็ยิ่งทำให้หลายคนไม่ลังเลที่จะไปต่อคิวรอ
2
อย่างไรก็ดี ทางเต่าบินก็ดูจะคิดมาแล้ว ว่าถ้าหากมีเมนูให้เลือกเยอะเกินไป คนจะเลือกไม่ถูก
2
ดังนั้นเมนูของเต่าบิน จึงมาพร้อมกับหน้าเมนูแนะนำ ที่คอยแนะนำเมนูขายดี หรือเมนูใหม่ ๆ มาช่วยลูกค้าในการตัดสินใจด้วย
2
2. ราคาที่ใคร ๆ ก็เข้าถึงได้ (Price)
เต่าบิน มีราคาเริ่มต้นเพียง 15 บาท และเฉลี่ยอยู่ที่ 20-45 บาท/แก้วเท่านั้น ซึ่งเป็นราคาที่ถูกกว่าร้านคาเฟทั่วไปหลาย ๆ ร้าน
1
ด้วยราคากับคุณภาพที่ได้ จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่ใครหลาย ๆ คน ยอมไปต่อคิวรอเพื่อจะได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ที่จะได้ซื้อเครื่องดื่มจากตู้อัตโนมัติ
2
3. สถานที่ที่เข้าถึงได้ง่าย (Place)
ตู้เต่าบิน เลือกที่จะไปตั้งตามสถานที่ ที่มีคนชุกชุม เช่น สถานี BTS หรือบริเวณห้างสรรพสินค้า, ตึกสำนักงาน และใต้คอนโดมิเนียม
1
จึงทำให้กลุ่มเป้าหมายของเต่าบิน ที่เป็นคนวัยรุ่นและวัยทำงานนั้น “เข้าถึงได้ง่าย” ซื้อแล้วสามารถเดินทางต่อได้เลย
1
อีกทั้ง ถ้าหากใคร Add Line เต่าบิน ก็จะมีฟีเชอร์ให้ค้นหาได้ทันทีว่า เราอยู่ใกล้กับตู้เต่าบินตรงไหนบ้าง
1
4. ส่วนส่งเสริมการขาย (Promotion)
เต่าบิน ไม่เพียงแต่สะดวก หาเจอง่าย และราคาไม่แพงเท่านั้น แต่ยังคงคอนเซปต์ความเป็นคาเฟ ที่มีระบบสมาชิกเข้ามาช่วยในการส่งเสริมการขาย และสร้างความภักดีในระยะยาวด้วย
3
โดยเต่าบิน จะมีสมาชิกทั้งหมด 4 ระดับ ได้แก่ เต่าขี้อาย, เต่าเตาะแตะ, เต่าติดปีก และผู้เฒ่าเต่า
มีการเก็บข้อมูลสมาชิกด้วยการใช้เบอร์โทรศัพท์เพื่อความสะดวก ไม่ต้องลงทะเบียนให้ยุ่งยาก
นอกจากนี้ ในการสมัครสมาชิกครั้งแรก เต่าบินยังมีส่วนลดให้ 50% อีกด้วย
นอกจาก 4P ที่พูดมาทั้งหมดนี้ เต่าบิน ยังได้รับอานิสงส์เต็ม ๆ จากสิ่งที่เรียกว่า eWOM (Electronic Word-of-mouth) หรือการบอกต่อ/รีวิว ผ่านทางโซเชียลมีเดีย จนเกิดเป็นกระแสออกไปตามหาตู้เต่าบินขึ้นมา
2
ซึ่งหากมองแค่ผิวเผิน เราอาจจะคิดว่านี่เป็นเพียงกระแสของการเปิดตัวช่วงแรก เหมือนกับร้านขนม หรือร้านชานมไต้หวันหลาย ๆ เจ้า ที่คนยอมต่อคิว เพราะเห่อของใหม่แค่เพียงช่วงแรก ๆ
3
แต่ถ้าหากว่ามองดี ๆ แล้ว เต่าบินมีอะไรที่ต่างออกไป
เพราะสำหรับธุรกิจที่ใช้ Machine ทุก ๆ คำสั่งซื้อที่เข้าระบบ จะถูกบันทึกไว้ทั้งหมด
ทำให้บริษัทรู้ได้ว่า พื้นที่ไหน คนชอบกินอะไรเป็นพิเศษ หรือพื้นที่ไหน เมนูไหนขายแทบไม่ได้
1
ซึ่งบางทีการเก็บข้อมูลลักษณะนี้ ร้านคาเฟหรือร้านกาแฟทั่วไป ที่มีเพียงไม่กี่สาขา หรือเป็นรายเล็ก ๆ อาจทำได้ยากกว่า
เทียบกับเต่าบินที่ตอนนี้สามารถเก็บข้อมูลได้จากตู้กว่า 800 ตู้ ที่อย่างน้อยใน 1 วัน ต้องขายได้ประมาณ 50 แก้ว/ตู้
แถมต่อไปก็มีแผนขยายจำนวนตู้เพิ่มอีกมากมาย ซึ่งก็หมายถึงจำนวนยอดขายและข้อมูลที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
3
อีกทั้ง บริษัทยังสามารถใช้ประโยชน์จากความเป็นไวรัล ด้วยการเก็บข้อมูลผ่านโซเชียลมีเดีย หรือที่เรียกว่า “Social Listening” ทั้งบน Facebook, Instagram, Twitter, YouTube และอื่น ๆ
2
เพื่อดูว่าลูกค้าแต่ละคน เจอกับประสบการณ์อะไรบ้าง (Customer Journey) ในการใช้ตู้เต่าบิน แล้วนำไปปรับปรุงการให้บริการของตู้ให้ดีที่สุด
2
อย่างใน Facebook ของทางเต่าบิน หากมีลูกเพจเข้าไปคอมเมนต์ถึงปัญหาที่เกิดจากการใช้งาน ก็จะมีแอดมินคอยตอบ และแก้ไขปัญหาให้ทันที
สำหรับที่เล่ามา ก็คือตู้เต่าบินนั้น ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลอยู่เสมอ ซึ่งจะทำให้มีโอกาสพัฒนาสินค้าและบริการให้ตรงใจผู้บริโภคได้อีกมากในอนาคต
1
ซึ่งจริง ๆ แล้ว ความน่าสนใจของเต่าบิน คือมันอาจไม่ได้จบลงแค่ที่ตู้คาเฟอัตโนมัติ
แต่อาจเป็นเจ้าของตู้ที่ขายทุกอย่างครอบจักรวาล
อย่างที่ประเทศญี่ปุ่นก็มีตู้ Yo-Kai Express ขายราเม็นแบบร้อน ๆ ออกมาให้กินแก้หนาว
1
ไม่แน่ว่าในอนาคต เต่าบินอาจแตกไลน์เป็นตู้ขายบะหมี่, ตู้ขายอาหารตามสั่ง
หรือตู้ขายอะไรสักอย่างที่เราไม่คิดว่า “ตู้อัตโนมัติ” จะทำได้..
5
โฆษณา