5 เม.ย. 2022 เวลา 15:12 • ความคิดเห็น
เพราะคนไทย ถือว่าชื่อจริง เป็นเรื่องต้องตั้งให้มีความหมายที่เป็นมงคล ขานชื่อแล้วเกิดความหมายที่ดี
เนื่องจาก คำไทยแท้ นั้น มีจำกัด และเป็นคำโดด คือคำออกเสียงพยางค์เดียว เช่น ดำ แดง ตา มา ขา สา ทา มีคำจำกัด จึงต้องยืมคำมาจากภาษาต่างประเทศ ก็ บาลี สันสกฤต บ้าง ก็ มีคำจากเพื่อนบ้าน อินเดีย เขมร จีน ซึ่งได้จากการติดต่อค้าขาย การย้ายถิ่นฐานของผู้คนไปมา
อย่างสมัยโบราณการเริ่มอาณาจักร ตามพรลิงค์ เชื่อว่า คนได้เริ่มอพยพมาจากอินเดีย เพราะ การพัดพาสำเภาของพายุ ของกษัตริย์อินเดีย จนมาพบดินแดน ซึ่งเป็น จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลาง กินอาณาเขตมาถึงจังหวัดชุมพร
ภาษาโบราณ ที่อาณาจักรตามพรลิงค์ ใช้ เรียกว่าภาษาปาละวะ ถือว่า ภาษาปาละวะ ได้ถูกนำมาประดิษฐ์ภาษาไทย ในสมัยพ่อขุนด้วย เนื่องจาก ขรัว หรือพระ นักบวช ได้ถูกพ่อขุนรามเชิญมาร่วมสร้างภาษาไทย ซึ่งในสมัยนั้น ถือว่า เป็นนักปราชญ์ หรือผู้รอบรู้
ภาษาไทยจึงมีการนำภาษาอื่นๆมาใช้ มากขึ้น และได้รับการตั้งชื่อ ที่หลากหลาย
อันนี้คงเป็นที่มาของการนำคำมารวมกัน เพื่อสร้างคำใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น แล้วเริ่มจากชนชั้นกษัตริย์ในการเปลี่ยนชื่อ เพิ่มคำ ให้มีความหมายที่ดี
หลังจากนั้นก็ เป็นที่นิยมของผู้คนที่ต้องให้ ขรัว ปราชญ์ นักบวช หรือปัจจุบัน คือ พระ ตั้งชื่อให้ เพราะถือว่าได้บวชเรียน รู้จักตัวอักษร ตัวหนังสือมากกว่าชาวบ้านทั่วไป
จึงเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมานานมากแล้วค่ะ ที่ชื่อคนไทยจึงต้องมีคำที่มีความหมาย และเป็นสิริมงคล
ซึ่งตามกฏระเบียบการตั้งชื่อ ก็ใช้เป็นไปตามนี้ด้วยค่ะ
ถ้าไม่มีคำมาเพิ่มเติม ชื่อคนก็จะเรียกกันซ้ำไปมา แล้วผู้คนก็เพิ่มขึ้นมากมาย ตอนนี้เป็นหลายสิบล้านคนแล้ว
ขนาดมีชื่อหลากหลายขนาดนี้ ยังมีคนชื่อซ้ำ นามสกุลซ้ำในเมืองไทย ทั้งๆที่ไม่ใช่ญาติกันก็เยอะนะคะ
โฆษณา