6 เม.ย. 2022 เวลา 12:00
ถ้าเหมือนเรา เขาก็ไม่น่าจะผิด? (Defensive attribution hypothesis)
เชื่อมั้ยว่า เรามักจะชอบคนที่มีลักษณะคล้าย ๆ เรา
อันนี้อาจจะดูไม่แปลก ใคร ๆ ก็ชอบคนที่เหมือน ๆ กัน
แต่ที่น่าแปลกคือ บางครั้ง เรามักจะไปหาข้อแก้ตัวให้กับเขา
เพียงเพราะว่าเขามีลักษณะคล้าย ๆ กันกับเรา!?
อาการแบบนี้เป็น “ความลำเอียง”
ที่เรียกว่า “Defensive attribution hypothesis”
คือคนเรามีกลไกในการคิดป้องกันตัวอยู่
ถ้ามันมีอะไรที่ไม่ดีเกิดขึ้นกับใครคนใดคนหนึ่ง
แล้วคน ๆ นั้น มีลักษณะคล้าย ๆ กับเรา
ยิ่งคล้ายมากเท่าไร เรายิ่งมองว่า มันไม่ใช่ความผิดของเขามากเท่านั้น
จากการศึกษาของ Grubb และ Harrower
แห่ง มหาวิทยาลัย Coventry ประเทศอังกฤษ ในปี 2008
พบว่า ในคดีข่มขืนนั้น ผู้ชาย (ที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดี)
มีแนวโน้มในการกล่าวโทษผู้ข่มขืนที่เป็นผู้ชายด้วยกันน้อยกว่าผู้หญิง
(ที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดี) !!
ทั้ง ๆ ที่เราทุกคนก็รู้ว่า การข่มขืนเป็นสิ่งที่ผิด
แต่เนื่องจากผู้ชายเป็นเพศเดียวกันกับผู้ข่มขืน (มีลักษณะคล้ายกัน)
ผู้ชายจึงมักจะมีกระบวนการในการปกป้องตัวเองในลักษณะนี้
รู้แบบนี้แล้ว ก็คอยระวังตัวกันดี ๆ นะ
เพราะความลำเอียง มันมาหาเราได้ทุกทางจริงๆ
ดังนั้นก่อนที่จะเชื่ออะไรง่ายๆ
ลองดูก่อนว่า เราเชื่อเพราะข้อมูลมันถูกต้อง
หรือเพียงเพราะว่า ผู้พูดดูมีส่วนคล้ายเรากันแน่?
ยังมี “ความลำเอียง” อีกหลายแบบ ที่คุณควรรู้ทันมัน
เพราะถ้ารู้ไม่ทัน มันจะทำให้การตัดสินใจของคุณเสี่ยงที่จะผิดพลาด
2read เรื่อง “ที่เราแย่เพราะโชคร้าย เขาสบายเพราะโชคดี”
เขียนโดย “ดร.นภดล ร่มโพธิ์”
จะมาเผย 72 ความลำเอียงในการตัดสินใจ
ที่อาจทำให้คุณเลือกเดินทางผิด
พร้อมแนวทางการควบคุมอารมณ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ
ถ้าคุณรู้และเข้าใจ 72 ความลำเอียงเหล่านี้
คุณจะตัดสินใจได้ดีขึ้น และรู้เท่าทันคนอื่น
คุณจะมีสกิลในการมองคน
และเฉลียวฉลาดมากพอที่จะไม่ให้ใครมาหลอกลวงหรือเอาเปรียบ
ชีวิตคุณจะดีขึ้น นี่ไม่ได้ลำเอียงนะ
📌อ่าน “ที่เราแย่เพราะโชคร้าย เขาสบายเพราะโชคดี”
จิ้มภาพปกด้านล่างเลย!👇
อยากเติมอาหารสมองด้วยคอนเทนต์สาระความรู้ในด้านการลงทุน ธุรกิจ
พัฒนาตนเอง และไลฟ์สไตล์ รวมทั้งเติมพลังใจด้วยแรงบันดาลใจ
กดถูกใจและกดติดตามเพจ 2read ไว้ได้เลย! 👍
โฆษณา