Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ข่าวชายขอบ
•
ติดตาม
6 เม.ย. 2022 เวลา 12:34 • ข่าว
ไร้สัญชาติมากว่า 70 ปี 2 แม่เฒ่าอมก๋อยยิ้มออก-หลายฝ่ายร่วมกันแก้ปัญหาจนได้รับบัตรประชาชน “ครูแดง” ชื่นชมเสนอให้เป็นโมเดลแก้ปัญหาผู้เฒ่าไร้สัญชาติทั่วประเทศ 1.1 แสนคน
transbordernews.in.th
ไร้สัญชาติมากว่า 70 ปี 2 แม่เฒ่าอมก๋อยยิ้มออก-หลายฝ่ายร่วมกันแก้ปัญหาจนได้รับบัตรประชาชน “ครูแดง” ชื่นชมเสนอให้เป็นโมเดลแก้ปัญหาผู้เฒ่าไร้สัญชาติทั่วประเทศ 1.1 แสนคน
เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2565 นางเตือนใ
เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2565 นางเตือนใจ ดีเทศน์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา และกรรมการผู้ก่อตั้งมูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) เปิดเผยว่า มีเรื่องที่น่ายินดีดังปาฏิหาริย์ ที่แม่เฒ่าชาวกะเหรี่ยงซึ่งเป็นชาวเขาดั้งเดิมติดแผ่นดิน แต่ตกหล่นจากการสำรวจในระบบทะเบียนราษฎร หมู่บ้านกะเบอะดิน ต.อมก๋อย อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านตามระเบียบการทะเบียนราษฎรพ.ศ. 2535 ข้อ 93 หลังจากที่มูลนิธิ พชภ. ทำหนังสือหารือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เมื่อเดือนธันวาคม 2564
ซึ่งปลัดจังหวัดเชียงใหม่ (นายประสงค์ หล้าอ่อน) ได้รับมอบหมาย โดยประสานนายอำเภออมก๋อยดำเนินการให้ผู้เฒ่าได้สิทธิ์ในสัญชาติไทยโดยเร็ว
นางเตือนใจกล่าวว่าความสำเร็จเกิดจากโครงการความร่วมมือบูรณาการระหว่างกรมการปกครอง โดยจังหวัดเชียงใหม่ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ภาคประชาสังคม คือ องค์การแพลน มูลนิธิเครือข่ายสถานะบุคคล เครือข่ายสตรีชนเผ่าอำเภออมก๋อย และผู้ใหญ่บ้าน กำนันในพื้นที่ ซึ่งทำการสำรวจรายชื่อและประวัติของคนที่ตกหล่นจากทะเบียนราษฎร เด็ก เยาวชนที่ไม่ได้แจ้งเกิด แต่มีพ่อ แม่ ปู่ย่าตายาย หรือพี่น้องร่วมสายโลหิต เป็นบุคคลสัญชาติไทย โดยมีการดำเนินโครงการตรวจสารพันธุกรรม DNA อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 21 -22 มีนาคม 2565 ซึ่งมีผู้ได้ตรวจ DNA รวม 204 ราย เป็นผู้ประสบปัญหา 131 รายบุคคลอ้างอิง 73 ราย โดยอำเภอจะทำการตรวจสอบหลักฐานเพิ่มเติม ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน จากนั้นบุคคลผู้ประสบปัญหา 131 รายก็จะได้รับการรับรองสัญชาติไทย ทำบัตรประจำตัวประชาชน เป็นพลเมืองไทยอย่างสมบูรณ์
สำหรับ 2 กรณีผู้เฒ่าไร้สัญชาติคือ นางกลีสอ โชดกดิลก อายุ 72 ปี และนางแลพะ กือลวย อายุ 75 ปี ซึ่งไม่ได้เข้าร่วมโครงการตรวจ DNA เนื่องจากพี่ซึ่งเป็นคู่ตรวจ ได้สัญชาติไทยด้วยเหตุส่วนตน ทำให้ไม่ส่งผลถึงผู้ร่วมสายโลหิต แม้ตรวจดีเอ็นเอก็ไม่สามารถดำเนินการในส่วนต่อไปได้ จึงมีการหารือ กับนายอดิศักดิ์ ดวงจินดา อำเภออมก๋อย และนายอังสุเกติ์ วิสุทธิ์วัฒนศักดิ์ และผู้อำนวยการสำนักสหวิทยาการคดีพิเศษ DSI และมอบ
มอบให้ปลัดฝ่ายทะเบียนเป็นผู้ดำเนินการ (นายนพรัตน์ จันทะอินทร์) ซึ่งเป็นชาติพันธุ์ลัวะ ทำงานในพื้นที่ชุมชนชาติพันธ์มาแล้ว 18 ปี จึงเห็นใจและเข้าใจสภาพปัญหาของชาวบ้าน คือความยากจน การอยู่ในพื้นซึ่งเดินทางยากลำบาก การไม่รู้ภาษาไทย จึงใช้วิธีสอบสวนแม่เฒ่าทั้ง 2 และพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือ 4 ราย คือกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลอมก๋อย รวมทั้งมอบให้ผู้ใหญ่บ้านกะเบอะดินทำประชาคมหมู่บ้าน เพื่อรับรองว่าแม่เฒ่าทั้ง 2เป็นคนดั้งเดิมที่เกิดและมีภูมิลำเนาในหมู่บ้านมาตลอดชีวิต เมื่อรวบรวมหลักฐานทั้งหมดพร้อมความเห็นแล้ว ปลัดจึงทำเรื่องเสนอนายอำเภอ เพื่อพิจารณาอนุมัติ
ต่อมานายอำเภอพิจารณาแล้วอนุมัติ โดยเป็นไปตามตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎรพ.ศ. 2535 ข้อ 93 ซึ่งระบุว่า “คนสัญชาติไทย ไม่มีชื่อและรายการบุคคลอยู่ในทะเบียนบ้าน(ท.ร.14) เพราะตกสำรวจ ตรวจสอบ ทะเบียนราษฎรพ.ศ. 2499 ความประสงค์จะขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน(ท.ร.14) ให้ยื่นคำร้องตามแบบพิมพ์ที่กำหนดต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ในปัจจุบัน และได้รับบัตรประชาชนไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
“ความร่วมมือของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น เครือข่ายชาวกะเหรี่ยงอำเภออมก๋อย ภาคประชาสังคม ความสำเร็จจึงเกิดขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์ เป็นแบบอย่างที่ดีของการบูรณาการทำงานข้ามกระทรวง” อดีตสมาชิกวุฒสภา กล่าว
นางเตือนใจกล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้เฒ่าไร้สัญชาติ 1.1 แสนคน ถ้ามีการบูรณาการเช่นนี้จะทำให้คนทำงานในพื้นที่มั่นใจ ซึ่งดีเอสไอได้ทำหน้าที่อำนวยความเป็นธรรม อยากเห็นความร่วมมือเช่นนี้เกิดขึ้นทุกพื้นที่ บางอำเภอผู้เฒ่าเป็นชาวเขาดั้งเดิมเกิดและอยู่ในประเทศไทยต่อเนื่องเป็นผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และบางพื้นที่ผู้เฒ่าย้ายเข้ามาใหม่แต่อยู่มาอย่างน้อย 40 ปีซึ่งต้องแปลงสัญชาติแต่กลไกเป็นไปอย่างล่าช้า ควรยกเครื่องพัฒนากลไกให้มีประสิทธิภาคมากขึ้น
สถานะบุคคล
สัญชาติ
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย