7 เม.ย. 2022 เวลา 01:44 • หุ้น & เศรษฐกิจ
✅Morning Update 07.04.2022
🇺🇸🇪🇺ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เปิดปรับตัวลดลงแรง ในขณะที่ช่วงบ่ายตลาดมีความพยายามที่จะปรับตัวฟื้นขึ้น ส่งผลให้เกิดความผันผวนสูง โดย Nasdaq 100 ปิดลบสูงสุดใน 3 ดัชนีหลักกว่า 2%
- ตัวเลข PMI ของสหราชอาณาจักรยังคงขยายตัวได้ดี
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการของสหรัฐฯ ชะลอตัว
- Fed เผยอาจเร่งระยะเวลาการลดขนาด Balance sheet หรือลดการปล่อยกู้ลงเร็วกว่าแผนเดิม
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ คืนวันพุธที่ 06.04.2022 ดัชนี Dow Jones -144.67 จุด -0.42% S&P 500 -43.97 จุด -0.97% และ Nasdaq 100 -321.75 จุด -2.17% โดยมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้
1. ค่ำวานอังคารที่ 05.04.2022 ด้านสหราชอาณาจักรมีประกาศตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจ 2 ตัว
(1.1) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อมวลรวมที่สำรวจโดย Markit หรือ Composite Purchasing Managers' Index ประจำเดือนมีนาคม (ฉบับปรับปรุง) ขยายตัวที่ 60.9 จุด สูงขึ้นจากประกาศเดือนก่อนหน้าที่ 59.9 จุด ดีกว่าคาดที่ 59.7 จุด
(1.2) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อบริการที่สำรวจโดย CIPS หรือ Services Purchasing Managers Index ประจำเดือนมีนาคม (ฉบับปรับปรุง) ขยายตัวได้ดีที่ 62.6 จุด สูงกว่าคาดที่ 61.0 จุด และยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่องสูงขึ้นจากประกาศเดือนก่อนหน้าที่ 60.5 จุด
2. ค่ำวานที่ผ่านมา ด้านสหราชอาณาจักรมีประกาศตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากวันก่อนหน้าคือ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการก่อสร้างของสหราชอาณาจักร (PMI) ประจำเดือนมีนาคมที่ผ่านมา หรือ UK Construction PMI ซึ่งสำรวจโดย Markit ขยายตัวดีที่ 59.1 เท่ากับเดือนก่อนหน้า และสูงกว่าที่คาดไว้ที่ 57.8
แสดงให้เห็นถึงการเติบโตในด้านกิจกรรมภาคการก่อสร้างที่ยังสามารถขยายตัวแม้ว่าเงินเฟ้อจะยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยงานก่อสร้างภาคพาณิชย์ขยายตัวสูงสุดที่ 60.8 จุด ตามมาด้วยงานด้านวิศวกรรมโยธาที่ 56.3 จุด และการก่อสร้างภาคที่อยู่อาศัยที่ 54.9 จุด
ตลาดหุ้นฝั่งยุโรปปรับตัวลดลงต่อเนื่องตั้งแต่เปิดตลาด โดย Stoxx 600 ปิดที่ 455.97 จุด (-1.53%)
3. ค่ำวานอังคารที่ 05.04.2022 ด้านสหรัฐฯ มีรายงานตัวเลขดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการสำรวจโดย ISM หรือ Non-Manufacturing PMI ประจำเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ขยายตัวลดลงที่ 58.3 จุด น้อยกว่าคาดเล็กน้อยที่ 58.4 จุด แต่เป็นการขยายตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวถึง 56.5 จุด
โดยส่วนมากเหล่าผู้จัดการที่ตอบแบบสอบถามยังคงตระหนักถึงปัญหา เงินเฟ้อ, ราคาพลังงานและค่าแรงที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้น
รวมถึงเริ่มมีความกังวลถึงปัญหาห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเฮลท์แคร์ที่อุปสงค์ยังคงสูงกว่าอุปทาน เนื่องจากความสามารถในการเพิ่มอุปทานของกลุ่มเฮลท์แคร์ยังตามไม่ทันอุปสงค์ที่ขยายตัวต่อเนื่อง
4. คืนที่ผ่านมา มีการเปิดเผยรายละเอียดของการประชุม FOMC เมื่อเดือนมีนาคาที่ผ่านมาหรือ Fed Minutes คณะกรรมการต่างให้โทนเสียงไปในทิศทาง Hawkish หรือการดำเนินนโยบายทางการเงินที่ตึงตัวขึ้น
Fed หรือธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จริงเตรียมจะขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา แต่เพราะมีสงครามรัสเซีย-ยูเครน จึงชะลอการขึ้นไปก่อน
นอกจากประเด็นการเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยซึ่งตลาดคาดไปแล้วว่าในการประชุมรอบที่จะถึงนี้ มีโอกาสสูงที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ยอีกราว 50 Basis point หรือ 0.50%
Fed ยังมีแนวโน้มที่จะลดขนาด Balance sheet หรือลดการถือครองพันธบัตรและ MBS โดย Fed มีแผนจะลดขนาด Balance sheet ลงเดือนละ 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน แบ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาลจำนวน 6 หมื่นล้านและ MBS (Mortgage-Backed Securities) หรือตราสารหนี้ที่ค้ำประกันด้วยอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 3.5 หมื่นล้าน โดยอาจเริ่มดำเนินการได้เร็วที่สุดหลังมีการประชุม FOMC Meeting ช่วงเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้
5. หุ้นกลุ่มเชิงรับปิดบวกสวนทิศทางตลาดใน 3 อันดับสูงสุด โดยหุ้นกลุ่มผู้ให้บริการสาธารณูปโภค +2.00% กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ +1.55% และกลุ่มเฮลท์แคร์ +1.55%
Duke Energy +2.34% Southern +2.91% Exelon +4.00% American Electric Power +3.14%
กลุ่ม REITs ปรับตัวขึ้นได้ดี
American Tower +2.17% Prologis +2.30% Crown Castle +2.31% Equinix +0.55% Public Storage +3.25%
ขณะที่กลุ่มผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวลดลงเล็กน้อย
Howard Hughes -0.09% Colliers International -3.30% JLL -0.47% CBRE -2.11%
หุ้น Moderna ปรับตัวลดลงแรงสวนทิศทางกลุ่ม Healthcare หลังจากมีข่าวว่าลูกค้าสำคัญรายปฏิเสธที่จะใช้สิทธิสั่งซื้อ Spikevax เพิ่ม ซึ่งเป็นวัคซีนภายใต้บริษัท Moderna
Johnson & Johnson +2.60% Pfizer +3.18% Moderna -4.58%
United Health +2.70% Abbot Labs +0.39% AbbVie +3.35% Thermo Fisher +0.54%
6. หุ้นที่ underperform ตลาด 3 อันดับสูงสุดได้แก่หุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย -2.63% กลุ่มเทคโนโลยี -2.55% และกลุ่มผู้ให้บริการสื่อสาร -2.11%
หุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยและกลุ่มเติบโตเป็นกลุ่มที่ได้รับแรงกดดันโดยตรงหากมีการขึ้นดอกเบี้ยเร็วขึ้น
Ralph Lauren -4.27% PVH -2.84% Tapestry -2.52%
Nike -2.98% Lowe’s -2.06% Home Depot -2.07% Target +0.54% TJX +1.91% McDonald +1.19% Starbucks -0.90%
Twitter -0.41% Pinterest -6.47% Snapchat -4.65% Walt Disney -2.25%
7. หุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ปรับตัวลดลง
Apple -1.85% Alphabet -2.88% Microsoft -3.66% Amazon -3.23% Meta -3.68% Netflix -3.10% Adobe -3.11% Salesforce -4.44% Visa -3.13% Mastercard -2.69%
หุ้น Innovation ปรับตัวลดลงรุนแรง
โดย Tesla และกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้าได้รับแรงกดดันเพิ่มเติมจากกรณีโรงงานในเซี่ยงไห้ปิดตัวชั่วคราวจากมาตรการล๊อคดาวน์
Tesla -4.17% Lucid Group -3.12% Roku -6.31% Teladoc Health -4.94% Block (Square) -5.26% Zoom -4.86% Spotify -2.20% Twilio -7.43% Coinbase -5.83% Robinhood -3.99% Affirm Holdings -6.77% Unity Software -7.02% Shopify -6.59%
หุ้น Semiconductor ปรับตัวลดลงรุนแรงเช่นกัน
Nvidia -5.88% AMD -2.95% Intel -1.23% Micron -1.11% Qualcomm -4.25% Broadcom -1.97%
8. ETF ด้าน Technology & Innovation ปรับตัวลดลงแรง
ARK Innovation (ARKK) -4.63% ARK Fintech (ARKF) -4.68% PowerShares WilderHill Clean Energy (PBW) -4.45% iShares PHLX Semiconductor (SOXX) -2.49% SPDR S&P Kensho Smart Mobility (HAIL) -3.64% VanEck Vectors Video Gaming and eSports (ESPO) -2.88% Global X Cybersecurity (BUG) -2.69% และ KraneShares CSI China Internet (KWEB) -2.94%
9. หุ้นจีนและเอเชียที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงตามหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและนวัตกรรมสหรัฐฯ
Alibaba -2.99% Baidu -3.19% Coupang +1.20% iQIYI -1.87% JD -3.04% Didi Global -1.89% KE holdings +1.30% Luckin Coffee -3.05% NetEase -1.38% Pinduoduo -3.27% SEA -3.28% TAL Education +2.97% TSMC -1.29% Nio -3.52% Xpeng -1.56%
10. S&P500 VIX Index ผันผวนรุนแรง โดยปรับตัวขึ้นสูงในช่วงเช้าเข้าใกล้ระดับที่ 25 จุด ก่อนปรับตัวลดลงต่อเนื่องในช่วงบ่าย โดยปิดที่ 22.10 จุด (+5.09%)
ด้าน Nasdaq 100 VIX ผันผวนแรงเช่นกันและปรับตัวขึ้นทะลุระดับ 30 จุด ก่อนปรับตัวลดลงเล็กน้อย โดยปิดที่ 28.91 จุด (+5.51%)
ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น โดยล่าสุดอยู่ที่ 99.64 จุด
ราคาทองคำผันผวนในกรอบราคาที่แคบลง ระหว่าง 1,915-1,935 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยล่าสุดอยู่ที่ 1,924 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง โดยราคาล่าสุดอยู่ที่ 33.59 บาทต่อดอลลาร์
ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลดลงไปในระดับต่ำกว่า 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยราคาล่าสุดอยู่ที่ 96.78 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ที่มาภาพ :
#LHBankAdvisory

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา