7 เม.ย. 2022 เวลา 03:20
ถ้านายกฯจ้างเราพีอาร์ผลงาน สื่อที่ดีมีจริยธรรมเค้าจะรับงานมาทำไงหนอ????
4
หลายคนจะรีบบอกเลยว่า "ไม่รับ" ซึ่งอันนี้ผิดหลัก media function ทันที แต่ถ้ารับมันก็นะ!!! ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าเป็นสื่อที่มีวิชา ลงเรียนจริยธรรมสื่อแบบให้เข้าถึงสักหน่อยก็ค่อยมีหลักคิดว่า เรารับงานตามหน้าที่คนทำพีอาร์ แต่ทว่า จะมีจุดยืนในหน้าที่สื่อมวลชนอย่างไร แบบนี้ชีวีชีวิตเราก็ต้องไม่ขายตัว
1
การยืนหยัดความเป็นสื่อมืออาชีพแบบนักวิชาชีพสื่อที่แท้นั้นเค้าทำกันอย่างไร media function เราอยู่ในสิขาชีพสื่อเพื่อทำหน้าที่อะไร gatekeeper คัดสรรเรื่องราวดีๆสู่สังคม หรือมุ่งมั่นส่งผ่านค่านิยม(values transmission)ที่ดีงามระหว่างกัน หรือจะเป็นหลักประกันตรวจตราความถูกต้องเหมาะกับสังคม(watchdog) etc,,
หลักนี้หนึ่งละที่เราจะสร้างสรรค์ใส่ลงไปในผลงานสื่อพีอาร์ที่เรารับทำในครั้งนี้หรือครั้งไหนๆก็ตาม โดยอาจต้องใช้ฝีมือสื่อสารให้คนมีอำนาจบาตรใหญ่เค้ายอมรับและดีตาม
ที่สำคัญต้องรู้ด้วยว่า สื่อประชาสัมพันธ์มันทำหน้าที่อะไร มันไม่ใช่สื่อข่าว และมันไม่ใช่สื่อโฆษณา สื่อ พีอาร์ มีหน้าที่ สื่อสารสร้าง Public Consent ระหว่างองค์กรที่ทำงาน กับผู้บริโภค ลูกค้า หรือว่า ประชาชน ไม่ใช่เร่งเร้าให้ Buy in แบบนักโฆษณา ต้องสื่อให้ประชาชนพอใจบนพื้นฐานข้อเท็จจริง แม้ว่าอาจไม่ใช่ความจริงทั้งหมด (Fact กับ Truth มันต่างกันนะ)
1
เมื่อรู้หน้าที่ ที่นี่ต้องรู้จริยธรรม กับ จรรยาบรรณ ละนะ จริยธรรมสื่อ ไม่ว่าสื่ออะไร แบบไหน เมื่อเข้ามาใช้ช่องทางการสื่อสารมวลชน แล้วล้วนต้องยึดถือเหมือนกันเป็นหลักๆ ทั้ง เรื่องการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ศรัทธาต่อเสรีภาพ ยึดมั่นในหลักเหตุและผลเป็นสำคัญ อะไรต่อมิอะไร ประมาณนี้นี่เป็นอุดมการณ์หลักของสื่อ
1
ไอ้อุดมการณ์สื่อนี้เอาไปใช้ยัง มาลองดูกัน ถ้านายกฯมาจ้างพีอาร์ แรกรับเราต้องเอาหลักเสรีภาพของเรามาเป็นที่ต้อง เสรีภาพจากอำนาจเงิน อำนาจนายกฯ ก่อน เพื่อคุยกันให้รู้เรื่องตกลงกันให้ชัด ว่าฉันไม่ใช่ขี้ข้าที่จะเอาเงินมาฟาดหัว แต่ฉันคือนักพีอาร์ มืออาชีพ ที่จะสื่อสารไปในหัวใจคนไทย แต่ขณะเดียวกัน เราก็ต้องเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ของทั้งตัวเรา ตัวนายกฯ ตัวประชาชน(ที่ไม่ได้กินแกลบให้เราแอบเนียนสร้างให้เค้าซึ้งนายกฯ)
1
ถ้าใครเรียนจริยธรรมสื่อแบบดี ไม่มีมั่วแบบพวกที่อ้างตัวเป็นสมาคมวิชาชีพโน้น นี่นั้น หรือพวกนักวิชาการที่ลอกตำรากันมา ก็จะรู้ว่า หลักจริยธรรมสื่อ ในเชิงปฏิบัติการเมื่อต้องลงมือทำงาน ซึ่งตรงนี้แหละคือส่วนสำคัญเวลา จะตั้งคำถามของนักข่าว หรือ การออกแบบเนื้อหาสื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือ การเขียนบทภาพยนตร์ ซึ่งมีอยู่สองสามประการสำคัญ
2
อย่างแรกเลยคือ หลักเสมือนหนึ่งพี่น้องกัน (self determination) จะสื่อสารอะไรให้ต้องคิดว่า คนต้นเรื่องและคนรับเรื่อง (sources and receivers) เป็นเหมือนพี่น้องของเราเอง จะทำข่าวผู้วายชนม์ก็ต้องคิดว่า เค้าคือพี่น้องของเรา จะรายงานข่าวก็ต้องคิดว่า ผู้ชมผู้ฟัง คือ พ่อแม่ญาติโกโหติกาของเราเช่นกัน
1
ถ้าประชาสัมพันธ์นายกฯ ตอนคิดบทก็ต้องใจเย็นลดอคติ วางก่อนนะ แล้วอาจมองหรือคิดให้เสมือนว่า นายกฯ คือ พ่อแก่ๆ หรืออาจเป็นตาของเรา ที่ยังนึกว่าตัวเองเก่งทำอะไรต่ออะไรได้ แต่ท้ายที่สุดก็เหนื่อยนะ แต่วลี "นั่งโง่ๆ ที่ชายหาด"เค้าจะรับผิดชอบต่ออนาคตประชาชาติและเยาวชนคนรุ่นใหม่ไหวเหรอ??? อันนี้โจทย์แรก
1
โจทย์ต่อมา ภายใต้หลักจริยธรรมนี้ คือ ผู้รับสาร สื่อประชาสัมพันธ์นี้ คือใครอยู่ที่ไหน ถ้าเป็นคนรุ่นใหม่ ก็เปรียบเสมือน เค้าคือ เพื่อนพี่น้อง ที่ชอบท่องเน็ตของเรา ที่มักอยู่ใน echo chamber ที่มีแต่ Pro กับ Anti คุณตานายกฯคนนี้ตลอด
เห็นเช่นนี้ ต้องทำการบ้านด้วยหลัก ทางสายกลาง (Golden mean) กับความสากล (Categories) มาตั้งมองเทียบดูว่าสื่อในโลกนี้ที่ดีๆ เค้าพีอาร์ ผู้นำกันอย่างไร
1
แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า เราต้องยึดหลัก "ถ้วนทั่ว" สื่อสารให้ถึงผู้คนชาวบ้านร้านตลาดที่อาจอยู่กับสื่อดั้งเดิมอย่างวิทยุ ทีวี อันนี้ต้องดึงเอา3 หลักจรรยาบรรณสื่อทีวีวิทยุมาร่วมสร้างสรรค์ คือ การยึดมั่นในหลัก "ความดี ความงาม ความมีประโยชน์"
1
เนื่องจากสื่อวิทยุ ทีวี หรือ motion picture นั้น เป็นช่องทางที่สร้างสรรค์แต่งเติมได้มากมายไร้ขีดจำกัดเมื่อมาผสานกับงานประชาสัมพันธ์ที่ไม่ได้เน้นความจริง แต่ต้องยืนอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริง แต่สำคัญคือในเนื้อหาต้องสร้างสรรค์ความดีงามเพื่อจรรโจงจริงใจผู้รับสารไปพร้อมกันด้วย
แต่หัวใจสำคัญของนักประชาสัมพันธ์คือ เราจะสื่อสารเรื่องนี้ออกไปอย่างไรที่ให้ประโยชน์กับคนในสังคม หรือการยึดถือหลักอรรถประโยชน์สูงสุดของสังคม (Social Utility) ถ้าคิดเช่นนี้ เราอาจจะหรือแทบจะไม่จำเป็นต้องมีภาพนายกฯ อยู่ในเนื้อหาของเราเลยก็ได้ คล้ายๆ แบบที่นักโฆษณาชั้นเลิศ มักแอบบแฝงฝัง การสื่อสารด้วยหลัก "ไม่ต้องทำให้เค้ารัก แค่ทำให้เค้ารู้สึกว่า ขาดเราไม่ได้ก็พอ"???
4
อันนี้เป็นเบื้องต้นของหลักคิดด้วยหลักจริยธรรมสื่อนะครับ ยังมีอีกสองสามหลักโดยเฉพาะ หลักจริยธรรมสื่อในเชิงปฏิบัติการ ที่เชื่อมโยงกับระบบจรรยาบรรณของสื่อ ที่ถือว่าเป็นแก่นกลางในการลงมือเขียนเนื้อหาสื่อ
เพื่อนผู้อ่าน พอเห็นหลักเหล่านี้ เมื่อเจอโจทย์ให้เขียนบทพีอาร์ รัฐบาลลุงตู่แบบไร้อคติ ก็น่าคิดนะครับว่าจะเป็นไปหรือ ไว้จะเอาตัวอย่างที่นักเรียนจริยธรรมสื่อตอบกันมานำเสนอให้แลกเปลี่ยนกันนะครับ โอกาสหน้าว่ากันต่อ
1
โฆษณา