9 เม.ย. 2022 เวลา 02:09 • ประวัติศาสตร์
อักษรขอมในประเทศไทยถือเป็นอักษรศักดิ์สิทธิ์ ใช้ในงานด้านศาสนาเป็นส่วนใหญ่…⁉️
1
พบหลักฐานการใช้อักษรขอมโบราณเขียน ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร ในบริเวณภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ ของประเทศไทยปัจจุบัน ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๔-๑๖ แต่จะไม่พบเอกสารโบราณประเภทจารึกที่ใช้อักษรขอมโบราณ ในแถบภาคเหนือตั้งแต่จังหวัดตากขึ้น ไป หลักฐานทำนองนี้รวมไปถึงโบราณสถาน ที่เรียกว่า ปราสาทหิน ปราสาทอิฐ และพระปรางค์แบบกัมพูชา หรือลพบุรีที่มีอยู่ทั่วไปในภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคใต้ แต่ไม่เคยปรากฏอยู่ทางภาคเหนือ
1
ศิลาจารึกอักษรขอมโบราณ ที่เสาในปราสาทโลเลย
ในประเทศไทย อักษรขอมถือเป็นอักษรศักดิ์สิทธิ์ ใช้ในงานด้านศาสนาเป็นส่วนใหญ่
อักษรขอมที่ใช้เขียนภาษาบาลีเรียก อักษรขอมบาลี ส่วนที่ใช้เขียนภาษาไทยเรียก อักษรขอมไทย ซึ่งมีอักขรวิธีต่างจากอักษรขอมกลุ่มอื่นๆ ต่อมา อักษรขอมไทยถูกแทนที่ด้วยอักษรไทย ส่วนอักษรขอมบาลียังคงใช้เขียนภาษาบาลีเรื่อยมา แม้จะมีการพัฒนาอักษรไทยและอักษรอริยกะมาเขียนภาษาบาลีก็ตาม อักษรขอมบาลีถูกยกเลิกไปในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม
2
พยัญชนะมีทั้งหมด 35 ตัว โดยแต่ละตัวมีทั้งรูปตัวเต็มกับตัวเชิงหรือพยัญชนะซ้อน มีการจัดแบ่งเป็นวรรคตามระบบภาษาสันสกฤต
อักษรขอมพัฒนามาจากอักษรขอมโบราณ ซึ่งพัฒนามาจากอักษรหลังปัลลวะ และอักษรปัลลวะอีกทีหนึ่ง เป็นตัวอักษรของราชวงศ์ปัลลวะในอินเดียใต้ ภายหลังได้มาติดต่อกับภูมิภาคอุษาคเนย์จึงได้ถ่ายทอดวัฒนธรรมซึ่งรวมถึงตัวอักษรปัลลวะไว้ให้กับกลุ่มคนที่อาศัยอยู่บริเวณนี้อีกด้วย อักษรปัลลวะเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในภูมิภาคนี้ และมีวิวัฒนาการจากอักษรปัลลวะเป็นอักษรหลังปัลลวะ และแตกแขนงเป็นสองสาขาใหญ่ ๆ คืออักษรมอญโบราณ และอักษรขอมโบราณ
1
อักษรขอมโบราณใช้ในอาณาจักรต่างๆ สองฝั่งแม่น้ำโขงตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพระนคร ต่อมาจึงกลายเป็นอักษรท้องถิ่นในสมัยพระนคร และเป็นต้นแบบของอักษรไทยและอักษรเขมรในปัจจุบัน
1
เอกลักษณ์ของอักษรขอม คือ เปลี่ยนบางอักษรของอักษรปัลลวะเป็นศกหรือหนามเตย อักษรนี้พัฒนาไป 2 ทิศทาง คือ เป็นอักษรขอมในประเทศไทย (ใช้เขียนภาษาไทย ภาษาบาลี ภาษาเขมร) และอักษรขอมในประเทศกัมพูชา (ใช้เขียนภาษาเขมร ภาษาบาลี)
รูปแบบ
รูปแบบของอักษรขอมในประเทศไทยทั้งขอมไทยและขอมบาลี แบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ
1
อักษรบรรจง เป็นรูปสี่เหลี่ยม ทรงมน ใช้เขียนคัมภีร์ทางศาสนา
อักษรตัวเกษียณ เป็นตัวเฉียงทแยง เอียงขวา ใช้บันทึกคำอธิบาย หรือเขียนหวัด
อักษรเฉียงขอมหรือเฉมเขม คล้ายอักษรเขมรแบบตัวเชรียง รูปสระและการประสมสระต่างไปจาก 2 แบบ ข้างต้น
1
ในจำนวนรูปภาพที่นำมาเขียนเป็นยันต์ทั้งหมด ยันต์ที่ขึ้นชื่อที่สุดและถือว่าศักดิ์สิทธิ์ที่สุด คือ ยันต์พระพุทธนิมิตร เป็นยันต์ที่เขียนเป็นรูปองค์พระทั้งองค์ แล้วลงด้วยคาถาพุทธคุณพระพุทธเจ้า ๕๖ และเรียกสูตรด้วย อิติปิโสรัตนมาลา เสกด้วยพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ รวมทั้ง คาถาพระพุทธนิมิตร สำหรับ ผ้ายันต์พระพุทธ ที่จะยกมาเป็นตัวอย่างการอธิบาย คือ ผ้ายันต์หน้าพระ ของ หลวงปู่แย้ม ปิยวณฺโณ วัดตะเคียน อ.บางกรวย จ.นนทบุรี โดยท่านได้ทำผ้ายันต์ไว้เมื่อกว่า ๑๐ ปีที่แล้ว ทั้งนี้ได้ทำเป็นรูปเฉพาะส่วนที่เป็นพระพักตร์เท่านั้น หรืออาจจะเรียกว่า “ยันต์หน้าพระ” ก็ได้ แม้ว่าจะมียันต์เพียงไม่กี่ตัว
แต่ถือเป็นการรวมสุดยอดแห่งยันต์เอาไว้ โดยมีอักขระเลขยันต์ที่น่าสนใจดังนี้ คือ ยันต์พระเจ้า ๕ พระองค์ นะ โม พุท ธา ยะ โดยตำแหน่งของแต่ละตัว คือ นะ (หูขวาของพระพุทธรูป) โม (หูซ้ายของพระพุทธรูป) พุท (ตรงเศียร) ธา (หน้าฝาก) ยะ (ปาก
หมายเหตุ :
 
"อย่าเข้าใจว่า อักขระขอมนี้ เป็น
ภาษาเขมร เพราะอักขระที่เรียนนี้เขา
เรียกว่า "ขอมไทย" เป็นจารึกของคน
ไทยรุ่นก่อน ของปู่ย่าตายายที่สั่งสอน
ต่อกันมา หนังสือสำคัญ ตำราของคน
ไทยสมัยก่อน ล้วนแล้วเขียนเป็นตัว
หนังสือขอมไทย ที่นำไปให้คนเขมร
อ่านจะไม่มีทางอ่านออกและเข้าใจได้
ดังนั้น หากคนรุ่นเรา ไม่สืบทอด
เรียนรู้การเขียน อ่านอักขระนี้แล้ว ก็
เท่ากับว่าละทิ้งหนังสือของคนรุ่นก่อน
มองข้ามภูมิ ปัญญาของบรรพบุรุษ
โฆษณา