8 เม.ย. 2022 เวลา 12:29 • ประวัติศาสตร์
เสาชิงช้า
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดฯ ให้สร้างเสาชิงช้าคู่แรกขึ้นเมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2327 หลังสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นราชธานีได้สองปี เหตุสำคัญที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นรูปธรรมสื่อแสดงถึงความเป็นศูนย์กลางของพระนคร และเพื่อใช้เสาชิงช้าในการประกอบพิธีตรียัมปวายโล้ชิงช้า ซึ่งเป็นราชพิธีที่พราหมณ์ยึดถือปฏิบัติมาแต่โบราณกาล
แสตมป์วันสหประชาชาติ 2517
เสาชิงช้า ที่ กรุงเทพมหานครแห่งนี้ มีลักษณะเป็นเสาชิงช้าขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนแท่นหินขนาดใหญ่ สูง 21.15 ม. เส้นผ่านศูนย์กลาง ฐานกลมประมาณ 10.50 ม. ฐานกลมก่อเป็นฐานปัทม์ทำด้วยหินล้างสีขาว พื้นบนปูกระเบื้องดินเผาสีแดง มีบันได 2 ขั้น ทั้ง 2 ด้าน ตามแนวโค้งของฐานติดแผ่นจารึกประวัติเสาชิงช้า เสาไม้แกนกลางคู่และเสาตะเกียบ 2 คู่ เป็นเสาหัวเม็ด ล้วนทำด้วยไม้สักกลึงกลม โครงยึดหัวเสาทั้งคู่แกะสลักอย่างสวยงาม กระจังและหูช้างไม้เป็นลวดลายไทย ทั้งหมดทา สีแดงชาด ติด สายล่อฟ้า จากลวดลายกระจังด้านบนลงดิน
กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2492 เสาชิงช้าใช้ใน พิธีโล้ชิงช้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพิธีตรียัมปวาย เป็นการต้อนรับพระอิศวร หนึ่งในเทพเจ้าของของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งจะเสด็จลงมาสู่โลกในวันขึ้น 7 ค่ำเดือนยี่
พิธีโล้ชิงช้ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เดิมจัดในเดือนอ้าย ครั้นเมื่อถึงสมัยรัตนโกสินทร์จึงได้เปลี่ยนมาทำในเดือนยี่ ต่อมาได้ยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 7
1
ที่มาข้อมูล
wikipedia
เสาชิงช้าที่อยู่หน้าศาลากลางกรุงเทพมหานคร ได้บูรณะมาแล้วหลายครั้ง สามารถอ่านได้จากลิงค์ด้านล่างครับ น่าสนใจมาก👇
นอกจากนี้ ในประเทศไทย ยังมีเสาชิงช้าอีกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ที่ หน้าหอพระอิศวร เมืองนครศรีธรรมราช (บ้านผม บ้านผม) ซึ่งมีการประกอบพิธีโล้ชิงช้ามาแต่โบราณเช่นกัน แต่ได้เลิกไปก่อนที่จะมีการก่อสร้างขึ้นใหม่ในภายหลัง โดยจำลองแบบมาจากเสาชิงช้าที่ กรุงเทพมหานคร
รูปการโล้ชิงช้า ในงานแห่นางดาน หอพระอิศวร ช่วงสงกรานต์ 2556
แสตมป์การประชุมทันตแพทย์โลก ปี 2558
แสตมป์ดวงนี้ไม่ได้เกี่ยวกับเสาชิงช้า แค่มีรูปเสาชิงช้า เอามาให้ดูเฉยๆ เป็นแสตมป์วาระ การประชุมทันตแพทย์โลก ปี 2558 ครับ
ขอบคุณที่ติดตามครับ
โฆษณา