8 เม.ย. 2022 เวลา 14:16 • ศิลปะ & ออกแบบ
ช่วงนี้อ่านอะไรบ้าง
หลังจากจบงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ
แต่เราไม่ได้ไปเลย จริงๆแทบไม่ค่อยได้ไปบ่อย
เหมือนสนใจบางอย่างแล้วหาทางให้ได้มา
บางเล่มราคาสูงก็คิดว่าไปค้นคว้าที่หอสมุดแทน
เริ่มที่เล่มแรก ได้มาฟรีจากกิจกรรมที่ร่วมกับ มิวเซียมสยาม เขาแจกให้ทุกคนที่มาชมนิทรรศการช่วงปลายปี พ.ศ.2564 และมีอีกเล่มที่แจกพิเศษ แต่เราไม่ได้ร่วม คงขอยืมทรมอ่าน
เนื้อหาเล่มนี้น่าสนใจที่รวมเรื่องเกร็ดต่างๆที่ไม่ค่อยพบในหนังสือวิชาการเล่มใหญ่ อีกทั้งมีภาพประกอบที่ชัดเจน ส่วนที่แยกประเภทอาคารในยุคต่างไป โดยเฉพาะ shop house นั้นดีมาก เห็นพัฒนาการและการใช้งานอิงกับพืันที่ เทคโนโลยีและรสนิยมในช่วงเวลาต่างๆ มีแยกตามพื้นที่ และมีฝั่งธนบุรีด้วย
...เคยเจอบางความเห็นในเพจของมิวเซียมสยาม ทำนองตัดพ้อว่า ลืมคนฝั่งธนบุรี แต่เราว่าไม่มีใครลืม แค่ข้อมูลมีไม่เพียงพอ และจากการที่อยู่ฝั่งธนฯมาตลอดตั้งแต่เข้า กทม. อีกทั้งเร็วๆนี้เคยมีโอกาสร่วมประขุมเชิงปฏิบัติการแบกเปบี่ยนเรีนนรู้กัยหน่วยวิจัยพัฒนาพื้นที่ย่านสองฝากแม่น้ำเจ้าพระยา ของสถาบันแห่งหนึ่ง มีหลายคนที่ร่วมเห็นตรงกันว่า
ฝั่งธนบุรีมีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น การคมนาคม ระบบขนส่ง หรือส่วนตัวที่เคยลงสำรวจแบบเดินเท้า พบว่ารูปแบบอาคารบ้านเรือนที่มีลักษณะจำเพาะนั้นกระจุกตัว ไม่กระจายเท่าฝากพระนคร และที่คิดว่าน่ากังวลที่สุดคือการดูแลรักษา อีกทั้งรูปแบบชุมชนที่อยู่อาศัยนั้น ตัวอาคารบางแห่งมีการต่อเติมตามรสนิยมเจ้าขอวหรือผู้อาศัยทำให้เกินความงามหรือไม่อิงรูปแบบอย่างน่าตกใจ
ตึกยุคใหม่ที่พบเห็นเอง คาดว่าหลัง พ.ศ.2535 ไปแล้วมีความ ประหลาด เช่น เศษ ผนังกรุกระเบื้อง รั้วสแตนเลสดัดทรงแปลกตา ผังเมืองที่บีบอัดตัวอาคาร หรือการจราจรที่ชวนเวียนศีรษะ ทั้งนี้จะโทษใครตรงๆไปทั้งหมดทีเดียวไม่ได้ เพราะมันมีปัจจัยมากมาย ขอเลี่ยงกล่าวโทษจะดีกว่า
ต่อมาคือเล่มนี้ เราเกิดสนใจในรูปแบบศิลปะทางศาสนา ที่งานเขียนหรือประติมากรรมทางพุทธ อนุมานเองว่าอาจมีอิทธิพลจากทางคริสต์ ท่าทางหรือสิ่งของแฝงสัญญะ มีพบบ้างเมื่อเรียนด้านศิลปะจำพวกวิชาสุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ หรือไปเชิงปรัชญา โดยเฉพาะงานที่อยู่ในยุคกลางหรือรอยต่อยุครุ่งเรืองทางวิทยาการ มีทั้งความหมายและรูปแบบที่ตายตัว จนสุดท้ายเกิดการทลายกรอบความงาม ศิลปะไม่มีเจตจำนงค์รับใช้อำนาจการปกครอง ไม่อิงศาสนา ไม่สะท้อนยุคสมัยหรืออุดมการณ์ มีเพียงเพื่อตัวศิลปะเอง...เราคงพูดมากไม่ได้เพราะไม่เชี่ยวชาญ แต่ชอบคำ Art for artsake อยู่
เล่มนี้ตั้งใจจะอ่านแต่อ่านไม่จบเพราะเหมือนเป็นสารานุกรมทางความหมาย บางอย่างเคยพบ บางสิ่งก็ไม่เข้าใจเพราะต่างประสบการณ์ร่วม แต่ลึกๆว่ามีประโยชน์ หรือคาดหวังแล้วผิดหวังจาก ภาษาดอกไม้ ที่อยากให้มีมากกว่านี้
ถัดไปเป็นงานสีน้ำของเพจ https://www.facebook.com/lllouissketcher
รวมอาคารที่เราสนใจในตระกูล shop house แม้ไม่ทั่ว กทม. แต่คุ้มค่า (เห็นมีชี้แจงเร็วๆนี้ว่า ที่จริงมีเตรียมเขียนสีน้ำไว้มากกว่าที่จัดพิมพ์ แต่ปัจจัยและเวลาจำกัด จึงมีเพียงเท่านี้) มีการใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ย่อย้อมูลทั้งสองภาษา ประกอบด้วยภาพเขียนสีน้ำ(ตอนเรียนหลายคนชอบพูด เขียนรูป มากกว่าวาดรูป ยังสงสัยและหาเหตุผลมารองรับดีๆ ไม่พบ)
ชุดแผนที่ จาก https://www.facebook.com/300173653990409/posts/878530246154744/ เป็นหน่วยงานที่มีกิจกรรมแจกแผนที่สวยๆแบะนำไปใข้อ้างอิงได้ เสียดายที่กำลังจะปิดตัวตามเหตุผลที่หน่วยงานแจ้งไว้ในสถานะสาธารณะของเพจเฟสบุ๊ค
เราได้รับมา ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง ได้มีโอกาสเปิดดูทุกชิ้นก็คราวนี้ ก่อนหน้าตอนได้รับมานั้นเปิดดูบางส่วน
ชุดนี้ไม่แน่ใจว่าเก่าสุดไหม ที่นักวิชาการหลายท่านมักอ่างถึง
ฉบับนี้ก็คล้ายชิ้นบน แต่มันวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง เราเกิดสนใจในแผนที่เพราะงานศึกษาเชิงลึกหลายชิ้นมักอ้างถึง โดยเฉพาะงาน ศ.ชาตรี ประกิตนนทการ เราชอบท่านนี้มากหนังสือหลายเล่มอ.เขียนน่าสนใจเปิดหูเปิดตาจริงๆ
ชิ้นนี้ยับเยินจากการพับ แต่มีสีสวย อัตราส่วนยายของพื้นที่รอบนอก แวดล้อมกระจุกความเจริญ
แอบชอบชิ้นนี้ที่สุดเพราะสีสันและย่านที่เก่าแก่ที่สุด มีความหลากหลายมากมายที่สุด และความน่าค้นหาหรือเดินไม่เบื่อเพราะของกิน เรื่องราวมากที่สุด
ชิ้นนี้ขยายโซนศูนย์กลางการปกครอง อาจมีข้อมูลเฉพาะบางประเด็นให้ศึกษา บางส่วนมักใช้เทียบกับปีอื่นเพื่อดูพัฒนาการ หรือหาที่ตั้งในอดีต
หนังสือที่จองไปแล้ว รอรับ เราสนใจนอกจากอาคาร อาหาร ความเป็นอยู่ที่เปลี่ยน ไหลเวียนของกระแสแห่งกาล เคยดูสารคดีเกี่ยวกับสงครามกลางเมืองอเมริกา ว่าที่ ลินคอร์นชนะได้เพราะรางรถไฟ ยอมลงทุนสร้างเพื่อเชื่อม เกิดความสะดวกและขนถ่ายคน สิ่งของ จนทุกวันนี้รูปแบบการคมนาคมที่ดีน่าจะเป็นอันดับต้นๆคือระบบราง การมีอยู่หรือพัฒนาของรถไฟจึงเป็นสิ่งน่าค้นคว้า
กรุงเทพ หากฟังเทปนี้ https://youtu.be/7W77l-3y0GA
จะทำให้เข้าใจความเป็นอยู่หรือระบบต่างๆที่เป็นไปผ่านย่านและสถานี ทั้งทางบกและทางน้ำ
เพจเฟสบุ๊คของหนังสือที่เกี่ยวข้องกับ สถานีรถไฟกรุงเทพ
สุดท้ายคือเล่มที่เราเคยเห็นเปิดจอง แต่ไม่คิดว่าจะได้ใช้พร้อมความงก จึงไม่ได้สั่ง สุดท้ายพบว่าสนใจอยากศึกษาโรงหนังสแตนด์อโลน ทั้งในกรุงฯและต่างจังหวัด ความเจรอญที่ถัดจากระบบการขนส่ง กระแสวัฒนธรรมต่างชาติ ยุคสงครามเย็น หรือนโยบายความคิดและรูปแบบวิถีชีวิตใหม่
ใครใจดีบอกแหล่งจำหน่ายหรือจะขายต่อ โปรดแจ้ง เพราะเราอาจทำตึกจิ๋วพวกนี้ หน้าปกเป็น ฟ้าสยามของคนสุพรรณฯด้วย
อยากได้แต่หาซื้อไม่มี ใครพบวานแจ้งหรือจะขายต่อก็ยินดีรับ
ขอเพิ่มส่วนท้าย แต่ก่อนอ่านอะไร
ภาพนี้เป็นจุดเริ่มต้นค้นข้อมูลอาคารและที่เกี่ยวข้องประมาณสามปีก่อน
แต่บางเล่มไม่ได้ถ่ายปกหนังสือไว้ หรือบางเล่มแอบเสียดายที่หาหรือจำชื่อไม่ได้ เกี่ยวกับบ้านไม้ชุมชนป้อมมหากาฬที่ขนาดมีงานวิจัยแล้วแต่สุดท้ายโดนรื้อ ในยุคผู้ว่าฯ.44
โดยรวมชอบเล่มปกสีน้ำเงินอักษรขาว เนื้อหาค่อนข้างแน่น
เล่มนี้อยากได้มากที่สุด ละเอียดมาก และเล่มใหญ่มาก เกือบขนาดเท่า A1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา