8 เม.ย. 2022 เวลา 14:03 • ธุรกิจ
“แซลมอนปลูก”
1
โดย Startup ร่วมทุนโดย Leonardo Dicaprio และ Jeff Bezos
1
เครดิตภาพ: Pixabay by omisido
แซลมอน เป็นปลาที่นิยมฮิตแพร่หลายมากเพื่อนำมาทำอาหาร ผู้เขียนเชื่อว่าหลายคนชอบกิน ไม่ว่าจะเป็นแบบย่างให้สุกหรือ Yaki ลนไฟที่ผิวให้หอมหรือ Aburi หรือรมควัน หรือกินแบบดิบได้ความนุ่มฉ่ำมัน และนำมาประยุกต์ได้กับอาหารหลายชาติ อย่างยำแบบไทยๆ หรือโปเก้โบวล์อาหารแบบฮาวาย
  • ดังนั้นแซลมอนจึงเป็นปลาที่เรียกได้ว่าเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity) ที่มีความต้องการของตลาดอย่างสูงอันดับต้นๆของโลก
ความนิยมนี้นำมาซึ่งปัญหาตามมา จากผลสำรวจของ UN พบว่าจำนวนประชากรของแซลมอนตามธรรมชาติในย่านน้ำแอตแลนติกเหนือลดลงกว่าครึ่งในช่วงปี 1983 – 2016 จากการทำประมงที่เกินความต้องการและไม่ปล่อยให้เกิดการหมุนเวียนของวัฏจักรตามธรรมชาติของปลา
การทำฟาร์มแซลมอนเพื่อเชิงพาณิชย์ก็เป็นอีกทางหนึ่งในการช่วยลดปัญหาการขาดแคลนตามธรรมชาติ และมีราคาถูกลงมากเมื่อเทียบกับแซลมอนจากแหล่งธรรมชาติ ฟาร์มใหญ่ที่เลี้ยงเพื่อส่งออกหลักๆก็คือนอร์เวย์ แต่ก็มีข้อเสียที่สำคัญคือ สารพิษตกค้างจำนวนมากในแซลมอนที่เลี้ยงจากฟาร์ม
1
...
การเลี้ยงอย่างแออัดทำให้ต้องใส่สารเคมีและยาปฏิชีวนะลงในบ่อปริมาณมาก เพื่อกำจัดปรสิตและแบคทีเรียหลายชนิด มีรายงานว่าเนื้อปลาแซลมอนที่ขายในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ มีสาร polychlorinated biphenyls (PCB) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งขณะที่เนื้อปลาแซลมอนในธรรมชาติที่มีสีชมพูเนื่องจาก ปลากินกุ้งตัวเล็กๆและสาหร่ายทะเล แต่ปลาแซลมอนจากฟาร์มกินอาหารที่ให้สีจำพวก astaxanthin และ canthaxanthin ซึ่งเป็นอันตรายต่อระบบประสาท
1
...
  • และยังมีรายงานว่าเนื้อปลาแซลมอนจากฟาร์ม มีกรดไขมัน โอเมกา-3 น้อยกว่าเนื้อปลาแซลมอนธรรมชาติถึง 3 เท่า แต่มีสารก่อมะเร็งจากฟาร์มเลี้ยงสูงกว่าเนื้อปลาแซลมอนธรรมชาติถึง 16 เท่า และมากกว่าเนื้อวัว 4 เท่า
1
  • Wildtype เป็นบริษัทสตาร์ทอัพจากแคลิฟอร์เนีย โดยผู้ร่วมก่อตั้ง 2 คน คือ
ผู้ร่วมก่อตั้ง 2 คน เครดิตภาพ: https://www.wildtypefoods.com
  • Justin Kolbeck เป็นหมอหัวใจ (คนใส่แว่น)
  • Aryé Elfenbein เป็นนักชีววิทยาโมเลกุล
เป้าหมายของบริษัทนี้คือ การผลิตเนื้อปลาแบบยั่งยืน โดยมองเริ่มต้นที่แซลมอนเกรดสำหรับทำซูชิ จากการเพาะเลี้ยงเซลล์ที่สกัดมาจากไข่ปลาแซลมอน
เมื่อ ก.พ. 2022 บริษัทได้รับการระดมทุนช่วยเหลือจำนวน 100 ล้านดอลลาร์ จาก 2 คน คือ
Leonardo Dicaprio ที่มา: Facebook by Leonardo Dicaprio
Leonardo Dicaprio ดารานักแสดงชายชื่อดัง และนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
Jeff Bezos ที่มา: FRANZISKA KRUG/GETTY IMAGES
Jeff Bezos นักธุรกิจ ผู้ก่อตั้ง CEO ของ Amazon
หลังจากได้เงินทุนก้อนดังกล่าว ผู้ร่วมก่อตั้ง Justin Kolbeck ได้ออกมากล่าวว่าบริษัทเล็งที่จะเป็นเจ้าแรกในการผลิตหรือปลูกเนื้อปลาจากในห้องแล็ปเพื่อส่งขายในตลาด
...
  • บริษัททำการเพาะเลี้ยงเซลล์ด้วยกระบวนการที่เน้นถึงคุณค่าโภชนาการ โดยใช้ถังทรงกระบอกทำจากโลหะ คล้ายกับถังหมักในอุตสาหกรรมผลิตเบียร์ โดยมีสารที่เรียกว่า Scaffold ซึ่งทำจากพืช นำมาใช้ในกระบวนการเพาะเลี้ยง เพื่อใช้สร้างเส้นใยและเนื้อเยื่อคล้ายไขมันในเนื้อปลาที่ปลูกขึ้นมา เพื่อให้สัมผัสใกล้เคียงกับแซลมอนแท้
2
ลักษณะถังที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงเซลล์แซลมอน เครดิตภาพ: https://www.wildtypefoods.com
เขายังกล่าวอีกว่า แซลมอนปลูกนี้ไม่ใช่การทดแทนเนื้อสัตว์หรือทำเลียนแบบให้ใกล้เคียงด้วยพืช หรือที่เรียกว่า Plant-based ซึ่งไม่สามารถนำไปใช้ประกอบอาหารได้ถ้าร้านนิยามว่าเป็นร้านซูชิ คุณจะใช้วัตถุดิบที่เป็น Plant-based ได้อย่างไร
Aryé Elfenbein ผู้ร่วมก่อตั้งอีกคน ให้ข้อมูลว่าเนื้อปลาที่ได้จากการเพาะเลี้ยงของ Wildtype “ไม่มีสารเคมีและยาปฏิชีวนะ ไม่มีโลหะปนเปื้อน ไม่มีไมโครพลาสติก” เหมือนกับที่เจอส่วนมากในปลาที่มาจากการเลี้ยงแบบฟาร์ม ไม่มีการทิ้งส่วนที่ไม่จำเป็น เพราะกระบวนการสร้างเนื้อจากเซลล์จะทำเพื่อให้ได้ส่วนของเนื้อปลาโดยเฉพาะ พวกหัวหาง เครื่องใน ส่วนที่ไม่จำเป็นไม่มีเหลือทิ้ง
2
...
  • ระยะเวลาการเพาะเลี้ยงและผลิตปลูกแซลมอน ใช้เวลา 4-6 สัปดาห์ จนได้ผลิตภัณฑ์พร้อมขาย เมื่อเทียบกับแซลมอนที่ต้องเลี้ยงจนเติบโตพร้อมขายจะใช้เวลา 2-3 ปี ดูเหมือนตรงนี้จะเป็นการบอกนัยๆว่า turnover ของธุรกิจเร็วกว่าหลายเท่า
2
หลายคนอ่านถึงตรงนี้แล้ว ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ดูค่อนข้างไกลตัวหรือไม่ค่อยน่าเชื่อ แต่จริงๆแล้วเรื่อง “เนื้อสัตว์ปลูก” มีนักวิจัยคิดค้นกันมาตั้งแต่ยุค 90 แล้ว แต่ไม่สามารถทำออกมาแบบเชิงอุตสาหกรรมได้ เพียงแค่ทำในห้องแล็ป จริงๆก่อนหน้านี้ก็มีบริษัทสตาร์ทอัพจาก Silicon Valley ที่ชื่อ Hampton Creek ว่าสามารถผลิตเนื้อสัตว์ปลูกออกมาแบบทีละมากๆพร้อมสำหรับทำเชิงพาณิชย์ได้แล้ว
...
แน่นอนย่อมมีความเห็นแตกออกเป็น 2 ฝ่าย ชัดเจน คือ
...
  • ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย แน่นอนคือคนที่เสียประโยชน์ ไม่ใช่ใครอื่นก็คนที่อยู่ในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์จริงๆ ออกมาบอกว่าอย่างนี้เป็นการทำลายหรือ disrupt วิถีชีวิตการเลี้ยงสัตว์เพื่อทำเป็นอาหารของคนที่สืบต่อกันมาหลายพันปี และยังเน้นเรื่องถึงอาหารดัดแปลงพันธุกรรมหรือ GMOs อีกว่าจะมั่นใจในความปลอดภัยต่อร่างกายได้อย่างไรในระยะยาว
2
...
  • ฝ่ายที่เห็นด้วย มองว่าเนื้อสัตว์ปลูกเป็นทางเลือกที่เวิร์คมาก สำหรับ Demand ที่มากกว่า Supply ในอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์หลายชนิด ประชากรโลกเพิ่มขึ้นเยอะจนกระบวนการผลิตไม่เพียงพอ
2
เรียบเรียงโดย Right SaRa
8th Apr 2022
  • แหล่งข่าวอ้างอิง:
  • แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
โฆษณา