8 เม.ย. 2022 เวลา 17:54 • สุขภาพ
💎เมารถ​ เมาเรือ​ motion sickness
🎢อาการเมารถ เมาเรือ เกิดจากประสาทการทรงตัวทำงานได้ไม่สมดุล ซึ่งความไม่สมดุลนี้อาจเกิดจากการได้รับแรงกระตุ้นที่มากเกินไป เช่น นั่งรถที่เหวี่ยงนานเกินไป หรือนั่งเรือที่โยนไปมาตามลูกคลื่น โคลงไปโคลงมานานเกินไป จนไปกระตุ้นประสาทการทรงตัวของเรา
ถ้าประสาทการทรงตัวของเราไม่มีความไวผิดปกติ ก็อาจไม่รู้สึกอะไร แต่ถ้าหากประสาทการทรงตัวไวเป็นพิเศษ หลังจากนั่งรถหรือเรือไปได้สักพัก จะรู้สึกเวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน
📣การป้องกัน เริ่มตั้งแต่ก่อนออกเดินทาง ควรกินอาหารตามปกติ อย่ารีบร้อน กินช้าๆ และควรเว้นระยะพักสักครึ่งชั่วโมงก่อนออกเดินทาง เรื่องนี้มีหลายคนเข้าใจผิดว่า ถ้ากินอาหารเข้าไป อาจทำให้อาเจียนกลางทาง ความจริงแล้ว ยิ่งท้องว่างก็จะทำให้เมารถเร็วยิ่งขึ้น
🛣️เมื่อเดินทางด้วยรถ ถ้ารู้ตัวว่าตัวเองเมา ควรมานั่งด้านหน้า แทนด้านหลัง เพื่อให้สายตาเรามองตรงไปข้างหน้า เพราะการที่เราเห็นถนนตรงหน้า เห็นต้นไม้ที่ไม่มีการเคลื่อนไหว จะทำให้เราเมาช้ากว่านั่งด้านหลังที่เห็นสิ่งต่างๆ จากด้านข้างเคลื่อนไหวผ่านหน้าเราไปอย่างเร็วๆ
ผู้ที่เมาเรือก็เช่นกัน ถ้าคลื่นลมไม่แรง ก็คงไม่เมา แต่ถ้าคลื่นโยนตัวแรงมาก ก็ให้ นั่งอยู่กลางลำเรือ ไม่ควรนั่งเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง
💊นอกจากนี้อาจกินยาแก้เมารถ 1 เม็ด ก่อนออกเดินทางอย่างน้อยครึ่งชั่วโมงเพื่อให้ตัวยาถูกดูดซึมไปควบคุมให้ประสาทการทรงตัวมีความไวน้อยลง จนไม่เกิดการเสียสมดุลของประสาทการทรงตัว เราก็อาจจะเดินทางหรือเที่ยวให้สนุกได้ดังใจ
.
.
‼️ยาที่มีอาการข้างเคียงทำให้เกิดคลื่นไส้อาเจียนซึ่งอาจทำให้อาการเมารถเมาเรือเพิ่มมากขึ้น
ยาคลอโรควิน​
ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียอะซิโทรมัยซิน​ อิริโทรมัยซิน
ยาคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมน​สูง
ยารักษากระดูกพรุน​ Bisphosphonate​
ยาดิจ็อกซิน​ สำหรับรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
ยารักษาโรคพาร์คินสัน​ เลโวโดปา
แผ่นปิดแก้ปวดอ็อกซี่โคโดน​ ไฮโดรโคโดน​ มอร์ฟีน
ยาแก้ปวดลดการอักเสบ​ ไอบูโพรเฟน​ นาพร็อกเซน
ยารักษาโรคหืด​ อะมิโนฟิลลีน
ยาต้านเศร้าพาโรซีไทน์​ (paroxetine) ฟลูโอซีไทน์​ (fluoxetine) ​เซอทราไลน์​ (Sertraline)​
.
.
Prevention and Treatment of Motion Sickness
July 2014
American Family Physician 90(1):41-46
.
.
.
.
.
.
POSTED 2022.04.08
บทความ​อื่น
เมารถ
โฆษณา