10 เม.ย. 2022 เวลา 10:03 • การศึกษา
📍 เปิดเส้นทางอาชีพ " อัยการ-ผู้พิพากษา ที่ไม่ได้มาด้วยคำเชิญ"
🌷 จากที่เคยเป็นประเด็นในละครไทยเรื่องหนึ่ง ซึ่งมีฉากที่ตัวละครที่เป็น “อัยการ” เชิญชวนนางเอกที่เป็น “ทนายความ” ให้ไปเป็นอัยการที่สำนักงานตนเอง และอ้างว่า เมื่อเป็นอัยการแล้ว อาจขยับขึ้นเป็น “ผู้พิพากษา” ได้ ทำให้วงการนักกฎหมายและสังคมไทยบางส่วน ถกเถียงกันว่า เนื้อหาในละครอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการเข้าสู่สายอาชีพ "อัยการ" และ "ผู้พิพากษา" เนื่องจากในความเป็นจริง ไม่มีใครสามารถเชิญใครไปทำงาน 2 อาชีพนี้ได้ หากไม่ผ่านการ “สอบคัดเลือก” และ อัยการไม่สามารถขยับขึ้นเป็นผู้พิพากษาได้ โดยไม่ผ่านการสอบคัดเลือกเช่นกัน
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ. (2564). สืบค้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2565
สนามสอบคัดเลือกของพนักงานอัยการและผู้พิพากษาในไทยมีการสอบแยกจากกัน ซึ่งจะแบ่งสนามสอบตามวุฒิการศึกษา 3 สนามเช่นเดียวกัน ได้แก่ สนามใหญ่ สนามเล็ก และสนามจิ๋ว
1. สนามใหญ่
คุณสมบัติผู้มีสิทธิ์สมัครสอบ
- สอบผ่านเนติบัณฑิต
- จบป.ตรี กฎหมาย
- ประกอบอาชีพด้านกฎหมาย 2 ปี
2. สนามเล็ก
คุณสมบัติผู้มีสิทธิ์สมัครสอบ
- สอบผ่านเนติบัณฑิต
- จบป.โท กฎหมาย มหาวิทยาลัยในไทย + ประกอบอาชีพด้านกฎหมาย 1 ปี หรือ เป็นอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัฐ 5 ปี หรือ จบป.ตรี กฎหมาย + จบป.โท/ป.เอก สาขาอื่น ๆ หรือ จบป.ตรี กฎหมาย + จบป.ตรี สาขาอื่น ๆ + ประกอบอาชีพด้านที่จบมา 10 ปี
3. สนามจิ๋ว
คุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัครสอบ
- สอบผ่านเนติบัณฑิต
- จบป.โท กฎหมาย มหาวิทยาลัยต่างประเทศ หลักสูตรไม่น้อยกว่า 2 ปี + ประกอบอาชีพด้านกฎหมาย 1 ปี หรือ จบป.โท กฎหมาย มหาวิทยาลัยต่างประเทศ หลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 ปี
หรือ จบป.เอก มหาวิทยาลัยในไทย
ผู้เขียนมีความเห็นว่า ในการสอบคัดเลือกเข้ารับราชการตำแหน่งอัยการและผู้พิพากษา กว่าจะได้มาต้องใช้เวลาศึกษาในระดับอุดมศึกษา สาขานิติศาสตร์ และอื่นๆ เพื่อให้ครบตามคุณสมบัติของผู้สิทธิ์สอบคัดเลือก มีการแข่งขันที่สูงมากในสนามใหญ่ ทำให้คนส่วนใหญ่เลือกเรียนต่อป. โท เพื่อมีสิทธิ์สอบในสนามเล็กและสนามจิ๋วตามข้างต้น
หากหลายคนมีความฝันอยากเป็นอัยการหรือผู้พิพากษา จงอย่าท้อแท้ และเดินไปข้างหน้าสม่ำเสมอ ผู้พิพากษาหลายคนมาจากคนที่เกิดในครอบครัวฐานะยากจน แสดงให้เห็นว่า ถ้ามีความพยายามมากพอ ความสำเร็จอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแน่นอน
ขอบคุณภาพและข้อมูลจากกรุงเทพธุรกิจ
โฆษณา