10 เม.ย. 2022 เวลา 05:52 • ปรัชญา
การที่เราเป็นตัวของตัวเองได้ เพราะรู้จักตัวเราเอง ว่าจิตใจเราต้องการอะไร เช่นเราต้องการให้มีสุขภาพแข็งแรง เราก็ดูแลร่างกายเราให้เป็น เมื่อมีสุขภาพแข็งแรง ร่างกายมีกำลัง เราก็สามารถใช้ร่างกายนี้ไปวิ่ง ไปทำอะไรได้ ด้วยความมั่นใจ นั้นก็เป็นเรื่องของกาย เราก็ลองเทียบเคียง ดูเด็กที่กำลังหัดเดินหัดคลาน ว่าทำไมเค้าต้องค่อยหัดคลาน หัดเดิน หกล้ม ล้มแล้วล้มอีก ก็ยังพยายามจนร่างกายแข็งแรงแรงวิ่งเล่นได้ ด้วยความมั่นใจว่า ไม่หกล้มเหมือนแต่ก่อน แล้วก็หลงลืมเรื่องตอนหัดเดินหัดคลานตอนเด็กจนแก่เฒ่าชรา ร่างกายก็เสื่อมลงไปเรี่ยวแรงถดถอยเหมือนตอนเด็กที่หัดเดินหัดคลานเหมือนกัน เหมือนถดถอยต้องไปหาที่เกิดใหม่แล้วน่ะ นี่ก็เรื่องของกายที่ต้องดูแลไปตลอดจนหมดลม
ในส่วนของเรื่องราว ของจิตใจ เมื่อเรามีทัศนะคติที่ดี ปราศจากเรื่องอคติ ถ้าใจเราสามารถที่จะเห็นใจเห็นอกเห็นใจกัน สามารถที่วางจิตใจ ไม่เห็นผู้ใดผิดเลย ไม่เห็นว่าตัวเองดีแล้ว ไม่มีความอวดเก่งอวดดี เพราะเห็นว่าทุกคนเกิดมาต่างก็มีกรรมเป็นของตน ต่างก็มีอารมณ์ทิฐิความคิดเห็น ชอบใจไม่ชอบใจ เกิดขึ้นในตน นั้นก็เป็นเรื่องราวที่จะช่วยให้เรารู้จัก ทั้งกาย อารมณ์ ที่จิตมาอาศัย ใช้กระทำเรื่องราวต่างๆที่ต้องใช้กายวาจา เมื่อเราสามารถเข้าใจในสิ่งที่จิตเรามาอาศัย เราก็จะเข้าใจผู้อื่น เหมือนเรื่องราวใบไม้ในกำมือเรา นั้นก็คือ สิ่งที่เราควรศึกษาให้เข้าใจตัวเราเอง
เราไม่สามารถจะเอาใบไม้ทั้งป่ามาศึกษาได้ ต้องศึกษาให้เข้าใจในตัวตนของเรา แล้วเราก็เทียบเคียงกับใบไม้ทั้งป่าได้ว่าเป็นอย่างไร แล้วเราจะรู้จักตัวตนของเราเอง ว่าจะต้องทำอะไร ต้องการอะไร มีอะไรต้องแก้ไขบ้าง จับผิดตัวเราเองที่เรากระทำนั้นดีหรือไม่ดี ไม่ใช่ไปจับผิดผู้อื่นให้เกิดเป็นอารมณ์ที่ตัวเราเอง เพื่อป้องกับมิให้ตัวทิฐิมันออกมาวุ่นวายกับใจเรา เพื่อให้ทั้งกายและใจเราเป็นสุข มีความมั่นใจในสิ่งเราทำ.
เรื่องราวของตัวทิฐิความคิดเห็น เราลองนึกถึงคนที่เราไม่ชอบก็ได้ แค่นึกอารมณ์มันก็มาแล้ว ความคิดเห็นอะไรก็ไหลเข้าเป็นอารมณ์ปรุงแต่ง มีทั่งยุยงส่งเสริม ยอมไม่ได้ ..อะไรมากมายก่ายกอง..ที่จะผลักให้เรามีกรรม ถ้ามันเป็นเช่นนี้มันดีมั้ย เราจะเชื่ออารมณ์ทิฐิความคิดเห็นที่ปรุงแต่งขึ้นมามั้ย เค้าถึงบอกว่า เขื่ออารมณ์ เชื่อทิฐิความคิดเห็นที่เกิดในตน ระวังจะมีกรรม เฉพาะฉะนั้น เค้าถึงบอกให้เรามีสติเท่าทันอารมณ์ แล้วก็หยุดยั่งอารมณ์นั้นออกไป จิตเราก็จะเป็นจิตของตัวเอาเอง ไม่ไปเป็นทาสของอารมณ์ อารมณ์นั้นมันจำต้องไม่ได้ ต้องอาศัยเรื่องราวของสติ ที่ต้องฝึกให้สจชติมีความแข็งแรงขึ้น เพราะปกติสติของคนเรามันเป็นสติของอารมณ์ มิใช่สติของจิตที่ต้องฝึกหัดขึ้นมาให้สตินั้นเข้มแข็งขึ้น แล้วเราจะแยกแยะเรืองราวของอารมณ์ได้ขัดเจนขึ้นด้วยจิตของตนเอง
โฆษณา