10 เม.ย. 2022 เวลา 06:20 • การศึกษา
ภาษาคำติดต่อ คืออะไร
เมื่อเราพูดถึง ลักษณะของภาษา เราแบ่งภาษาออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ภาษาคำโดด (isolating language) ภาษามีวิภัตติปัจจัย (infectional language) ภาษาคำควบกล้ำมากพยางค์ (polysynthetic language) และภาษาคำติดต่อ (agglutinative language)
บทความนี้ จะพูดถึง ภาษาคำติดต่อ
ภาษาคำติดต่อ (agglutinative language) หมายถึง น. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการเติมอุปสรรค อาคมหรือปัจจัย ซึ่งเป็นหน่วยคำไม่อิสระและไม่มีความหมาย ผสานเข้ากับคำบางคำซึ่งเป็นคำตั้ง ทำให้เกิดเป็นคำใหม่ แต่จะมีรูปและความหมายเกี่ยวเนื่องกับคำตั้งนั้น เช่น ภาษาเขมร ภาษาญี่ปุ่น ภาษาตุรกี ภาษาฮังการี ภาษาฟินแลนด์ ภาษาเอสโตเนีย ภาษามอญ ภาษาเกาหลี ภาษาทมิฬ ภาษาชวา ภาษามองโกเลีย ภาษาทิเบต
ภาษามีคำเดิม (base word) เป็นตัวตั้ง แล้วเอาคำเติม (affix) เติมหน้า (prefix) เติมกลาง (infix) เติมหลัง (suffix) เพื่อให้ได้ความหมายใหม่
ภาษามลายู มีคำเติมหน้าและเติมหลัง
ภาษาเขมร มีคำเติมหน้าและเติมกลาง
ภาษาตากาลอก มีคำเติมหน้า เติมกลาง และเติมหลัง
ตัวอย่าง
ภาษาเขมร
คำเดิม เกิด
เติมหน้า บังเกิด หมายถึง ทำให้เกิด
เติมกลาง กำเนิด หมายถึง ทำให้เกิดขึ้น
รูปลักษณะของภาษา เป็นลักษณะโครงสร้างของภาษา การสร้างคำ การเรียงคำ การประกอบคำเข้าประโยค ลักษณะเด่นของภาษาคำติดต่อ คือ การเติมคำแล้วคำนั้นมีความเปลี่ยนไป
Indy Writer
คำยืมภาษาตะวันตกในนวนิยายไทย https://research.ku.ac.th/forest/Publish.aspx?PublishID=16067
ติดตามผลงานในช่องทางอื่นที่
Facebook : Fb.me/omnibonga
Line : omnibonga

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา