10 เม.ย. 2022 เวลา 13:19 • การเมือง
#10เมษา53 | ครบรอบ12ปี
เหตุการณ์สลายการชุมนุมคนเสื้อแดง
TW// เสียงปืน ความรุนแรง อาวุธสงคราม เสียงระเบิด
"ไม่มีใครคิดเลยว่าจะเจอทหารเป็นกองพัน
ไม่ได้ตั้งหลักเลย
นอกจากนี้ เราอยากรู้ว่าใครเป็นคนที่สั่งฆ่าประชาชน
เราไม่รู้เลยว่าเป็นใคร
ที่สั่งการบ้าๆที่บดขยี้ประชาชนมือเปล่า"
-นักข่าวประชาไท
.
"พ่อผมรบเวียดนามมา พ่อผมยังไม่เคยฆ่าประชาชนอย่างนี้เลย
เกิดมาตั้งแต่ท้องพ่อท้องแม่ ตั้งแต่ประเทศไทยมีนายกมาหลายคนเนี้ย
ผมยังไม่เคยเห็นใครคือนายกที่เหี้ยที่สุด คืออภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ.."
-คุณลุงเสื้อแดง
“..เอาทหารอีสานมาฆ่าพ่อแม่พี่น้องเขา ทำได้ยังไง
ทีไอ้พวกพันธมิตร ยึดสนามบิน ยึดทำเนียบ ไม่เป็นอะไร..”
-คุณป้าเสื้อแดง
.
*สัมภาษณ์นักข่าวประชาไท
*คุณลุงและคุณป้าเสื้อแดงจากเหตุการณ์จริงที่ถูกนำเสนอในหนังDemocracy After Death
[ #ยุติธรรมไม่มี12ปีเราไม่ลืม
#HISTORYonthisDay x #ภาคีนักเรียนkkc
#ประวัติศาสตร์ที่หายไปจากหนังสือเรียน ]
.
อ่านต่อ
____
+ทำไมต้องชุมนุม?
: คนเสื้อแดงเรียกร้องการเลือกตั้งใหม่ที่โปร่งใส
เป็นการชุมนุมเพื่อขอให้อภิสิทธิ์ยุบสภา
เนื่องจากมีงูเห่า(เนวิน) ย้ายไปอยู่กับอภิสิทธิ์(พรรคประชาธิปัตย์)
//บทสัมภาษณ์นักข่าวประชาไทที่เป็นประจักษ์พยาน
[เริ่มใช้ความรุนแรงครั้งแรกเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2553]
สมัยก่อนประชาชนยังไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่ายเหมือนสมัยนี้
ทำให้ประชาชนชาวเสื้อแดงที่อยู่นอกกรุงเทพฯ
ต้องรับชมข่าวสารผ่านสัญญาณทีวี
มีการถ่ายทอดผ่านสถานีไทยคมลำลูกกา
ซึ่งเป็นช่องของคนเสื้อแดงโดยเฉพาะ
แต่เมื่อวันที่ 9 เมษายน
ทหารเข้าไปยึดสถานีไทยคมลำลูกกา
ทำให้คนเสื้อแดงเหมือนโดนตัดการสื่อสาร
ประชาชนคนเสื้อแดงพยายามกลับไปยึดสถานีคืน
แต่เกิดการปะทะกันขึ้น
ทหารมียิงกระสุนยาง โยนแก๊สน้ำตา
สุดท้ายไทยคมถูกทหารยึดคืนเหมือนเดิม
กลายเป็นสถานการณ์ที่โดนตัดช่องทางสื่อสำหรับประชาชนเสื้อแดง
(ก่อนยุคสมัยสื่ออิสระ ปชชยังไม่สามารถเข้าถึงสื่อได้ง่าย
ที่จะทราบถึงข้อเรียกร้องของคนเสื้อแดง)
[10 เมษา เริ่มมีการปะทะช่วงกลางวัน]
มีการปะทะกันที่แรกกับทหาร
ตั้งแต่ตอนสายที่หน้ากองทัพบก ลานบรมรูปทรงม้า
คนโดนยิงด้วยอาวุธสงครามตั้งแต่ช่วงกลางวันของวันที่10
คุณเกรียงไกร คำน้อย ชาวร้อยเอ็ด
ถูกยิงด้วยอาวุธสงครามที่บริเวณกระทรวงศึกษาฐิการ ที่ถนนราชดำเนินนอก
ต่อมาศาลตัดสินว่าเป็นการยิงมาจากฝั่งของทางทหาร
คนที่สอง วินัย ดิษขจร ช่างภาพอิสระที่ไปถ่ายภาพ
โดนยิงด้วยกระสุนปืนจากฝั่งทหารเช่นกัน
ช่วงเที่ยงมีการเคลื่อนกำลังทหาร รถหุ้มเกราะ gmc ทหารติดอาวุธ
เข้าล้อมโดยรอบชาวเสื้อแดง
[ก่อวินาศกรรมกลางกรุงยามราตรี 10เมษา]
ตามหลักการสลายการชุมนุมสากล
ถ้าจำเป็นต้องสลายจะต้องเป็นตอนกลางวันเท่านั้น
เพราะการสลายการชุมนุมตอนกลางคืนอาจจะทำให้มีการใช้ความรุนแรง
และจะทำให้บันทึกหลักฐานไม่ชัดเจน
มีสองจุดที่คนเสื้อแดงชุมนุมคือ ราชประสงค์และราชดำเนิน
จากช่วงเย็นที่โดนไล่ล้อมมาจากหลายที่
บางส่วนมาที่ถนนตะนาว
บางส่วนไปที่จุดชุมนุมใหญ่
ทหารมากันเป็นกองพันเริ่มปิดล้อม
ทั้งทิ้งใบปลิว ประกาศชื่อแกนนำว่ามีใครมีความปิดอะไร
ขับเฮลิคอปเตอร์บินวนทิ้งแก๊สน้ำตา
ควันกระจายคุ้งเละเทะไปหมด
จนมีคนเสียชีวิต คือคุณมนชัย แซ่จอง ชาวสมุทรปราการ
ทหารเริ่มขยับรถหุ้มเกราะ
มีการล้อมรอบพื้นที่ชุมนุม
“ไม่เคยมีใครคิดว่าจะเจอทหารมาเป็นกองพัน
ไม่ได้ตั้งหลักเลย”
ประชาชนพยายามรักษาจุดชุมนุมราชดำเนิน
ทหารกจึงพยายามขยับมาที่แยกคอกวัว แยกสตรีวิทย์
คนเสื้อแดงพยายามเจรจาว่าอย่าเข้ามา
เริ่มมีอาวุธปืนยิงมาจากฝ่ายเจ้าหน้าที่
“ผมไม่เห็นกับตาว่ามีผู้ชุมนุมใช้ปืนยิงสวนไหมนะ
ผมจึงพูดข้อเท็จจริงนี้ไม่ได้
แต่ผมเห็นทหารยิงปืน เห็นแสงจากปืน
ยิงประชาชนมือเปล่า
คนเสื้อแดงพยายามหาอาวุธที่ใกล้ตัวปะทะกับทหารหลังถูกยิง
ใช้กรวด ถังแก๊สปิกนิค ระเบิดเพลง(ขวดน้ำมัน/กระทิงแดงขว้าง)”
ที่สำคัญนอกจากมีอาวุธปืนยิงประชาชนแล้ว
ยังมีการใช้สไนเปอร์ซุ่มยิงประชาชน
“คือถ้าคุณเห็นคนข้างๆที่คุณคิดว่าเขายังมีชีวิตอยู่
แต่ถ้าคุณมองไปที่ข้างหลังเขา จับศีรษะมาดู
จะพบว่าเขาถูกยิงไปแล้ว”
ปกติการยิงเพื่อสลายการชุมนุมต้องยิงที่ส่วนล่างเพื่อยับยั้งการเคลื่อนไหว
แต่มีการใช้สไนเปอร์ยิงประชาชน
โดยเล็งที่ศีรษะ และส่วนสำคัญของร่างกายที่เป็นจุดตาย
นี่ไม่ใช่การยิงเพื่อยับยั้งการเคลื่อนไหว
แต่เป็นการยิง.. ‘เพื่อเอาชีวิต’
+เหตุการณ์นี้มีความสำคัญอย่างไร?
: “ความจำเป็นที่ต้องจำที่มาของความตกต่ำลงของระบอบประชาธิปไตย
เป็นจุดที่ทำให้ทหารเข้ามาแทรกแซงการเมืองไทยเข้ามาเรื่อยๆ
มีการบิดเบือนโดยสื่อของรัฐที่ทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียง
จนประชาชนที่ไม่ใช่คนเสื้อแดงคิดว่าข่าวที่ถูกบิดเบือนเป็นความจริงไป”
+จับตา ศอฉ!***
: ศอฉ หรือศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จัดตั้ง
เป็นหน่วยงานพิเศษของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553
เพื่อการควบคุมการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(แดงทั้งแผ่นดิน)
โดยให้สุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย
+ศอฉกับขั้วอำนาจไทยในปัจจุบัน***
: เพราะคณะกรรมการศอฉกับกลายประกอบด้วยขั้วอำนาจใหญ่ทางการเมืองในปัจจุบัน
นาย สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ผู้อำนวยการ
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองผู้อำนวยการ
พลเอก อภิชาต เพ็ญกิตติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ 1
พลเอก ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ 2
พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้ช่วยผู้อำนวยการ 3
หัวหน้าผู้รับผิดชอบสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ 7 เมษายน 2553 ถึง 15 เมษายน 2553
พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา 16 เมษายน 2553 ถึง 4 ตุลาคม 2553
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา 5 ตุลาคม 2553 ถึง 21 ธันวาคม 2553
+คำถามที่ไร้คำตอบนานนับ12ปี
: “ใครเป็นคนที่สั่งฆ่าประชาชน
เราไม่รู้เลยว่าเป็นใคร
ที่สั่งการบ้าๆที่เอาชีวิตคน
ในเหตุการณ์การสังหารในวันที่10เมษายนและ19พฤษภาคม
คือการที่ประชาธิปัตย์-ศอฉ-และกองทัพ
ไม่สามารถแยกออกจากการเมืองได้
กลับกลายเป็นยุ่งเกี่ยวมากขึ้น
เพราะว่าถ้ามีคนตายระดับนี้
ถ้าหลุดออกจากขั้วอำนาจ
ต้องมีคำตอบการบอกว่าใครเป็นคนสั่งยิง
เป็นการใช้กำลังทหารด้วย”
.
ขอบคุณนักข่าวประชาไทผู้อยู่ในเหตุการณ์ที่ให้สัมภาษณ์
ขอบคุณคลิปจากหนัง Democracy After Death
ขอบคุณความกล้าหาญเหล่าประชาชนคนเสื้อแดง
พวกเราขอแสดงความเสียใจกับการจากไปที่ไม่มีวันกลับ
กับความสำคัญทุกชีวิตของประชาชน
#ภาคีนักเรียน KKC เรียบเรียง
โฆษณา