11 เม.ย. 2022 เวลา 05:35 • ประวัติศาสตร์
ข้อมูลพระกรุวัดยางสุทธาราม บางกอกน้อย
จากการลงพื้นที่และสอบถามพระอาจารย์ พิษณุ ไพบูลย์
ซึ่งท่านอยู่ที่วัดยางและเป็นแอดมินในกลุ่มหลวงพ่อบุญเรือนท่านได้กรุณาเล่าให้ฟังและยืนยันการแตกกรุของพระชุดนี้แม้เวลาจะล่วงเลยมานานข้อมูลและหลักฐานหลายอย่างได้สูญหายไปกับกาลเวลาแล้วก็ตาม
4
ข้อมูลจากคำบอกเล่า
ได้รับการยืนยันชัดเจนว่าพระกรุชุดนี้ได้มีการแตกกรุจริง
ปีพศ.ที่กรุแตกนั้นไม่สามารถระบุแน่ชัดบอกได้เพียงช่วงเวลาคราวๆเท่านั้น สันนิษฐานว่ามีการแตกกรุช่วงก่อนปีพศ.2500 อย่างแน่นอนเพราะพระอาจารย์ยืนยันว่าพระชุดนี้มีการแตกกรุก่อนหลวงพ่อบุญเรือนท่านจะมาอยู่ที่วัดยางฯ(วัตถุมงคลชุดแรกที่หลวงพ่อบุญเรือนสร้างออกในนามวัดยางคือช่วงปีพศ.2511) ดังนั้นพระกรุชุดนี้ต้องแตกกรุก่อนปีพศ.2511 อย่างแน่นอน
พระกรุชุดนี้เป็นลักษณะพระเนื้อผง มีปรากฎจากคำบอกเล่าว่าเป็นพิมพ์พระสมเด็จ(มีขึ้นมาหลายพิมพ์)และ
พระเนื้อผงพิมพ์พระสังจายน์ เท่าที่ค้นหาข้อมูลทุกพิมพ์เป็นลักษณะพระที่มีกระบวนการผลิตแบบโบราณ คือทุกองค์จะเป็นการกดและตัดด้วยมือทั้งหมดแต่ละองค์มีความหนาในองค์พระแตกต่างกันในองค์เดียวกัน บางองค์เห็นร่องรอยการปาดแต่งด้านหลังองค์พระอย่างชัดเจน พระชุดนี้ไม่มีใครทราบว่าพระเถระท่านใดเป็นผู้สร้างและมาบรรจุไว้ภายในพระเจดีย์เพื่อสืบทอดพระศาสนา
บทวิเคราะห์และความน่าจะเป็น
พระชุดนี้เป็นพระสายวัดระฆังอย่างแน่นอนเพราะวัดยางนั้นอยู่ในพื้นที่ระแวกบางกอกน้อยใกล้ชุมชนบ้านช่างหล่อซึ่งถือว่าเป็นวัดในระแวกเดียวกับวัดระฆังและยังมีข้อมูลว่าวัดยางแห่งนี้ได้รับความเมตตาจากหลวงปู่หินมาตั้งแต่สมัยหลวงพ่อมุติและหลวงพ่อบุญเรือน เพราะท่านเป็นเกจิสายเขมรเช่นกันและจากการวิเคราะห์เนื้อหาของพระชุดนี้แล้วเชื่อได้ว่ามีความเป็นไปได้สูงมากที่จะเป็นพระของ
สมเด็จพุฒาจารย์โตที่นำมาบรรจุไว้เพราะพระเป็นลักษณะพิมพ์พระแบบโบราณถ้าเราลองค้นหาข้อมูลจะพบพระในลักษณะดังกล่าวปรากฎในเอกสารของ
ท่านวิมล ยิ้มละมัย
ในหนังสือ "สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรํสี) ที่ทำการ
ตีพิมพ์รวมเล่มในปีพศ.2516 ในนามของหนังสือพิมพ์
ไทยรัฐ ซึ่งถือว่ามีความน่าเชื่อถือ ส่วนพิมพ์พระจะตรงกับ
คนที่ตั้งตัวว่าเป็นเซียนซื้อ-ขายกันในปัจจุบันหรือไม่นั้น
ก็ไม่อยากให้ยึดติดสนใจนักเพราะมันจะชวนทะเลาะกันไปเปล่าๆแต่ที่ผมจัดทำเป็นการเก็บข้อมูลเพื่อไม่ให้สูญหายไปกับกาลเวลาเท่านั้น ถ้าจะเล่นหาก็ขอให้เล่นเป็นพระสมเด็จและพระสังกัจจายน์กรุวัดยาง จะดีกว่า
เครดิตข้อมูล
หนังสือสมเด็จพระพุฒาจารย์โต
ผู้แต่ง วิมล ยิ้มะมัย ปีพศ.2516
พระอาจารย์พิษณุ ไพบูลย์ (วัดยางสุทธาราม)
เครดิตภาพ
ข้ออนุญาตินำภาพจากร้าน ศิลป์เจริญพร
มาเป็นตัวอย่างในการศึกษา
โฆษณา