12 เม.ย. 2022 เวลา 02:50 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ทำไมเงินล้านต่อไป ถึงมาเร็วกว่า เงินล้านแรก
8
“เงิน 1 ล้านแรก มักสร้างยาก แต่ล้านต่อ ๆ ไป จะสร้างได้ง่ายมากขึ้น”
เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยได้ยินประโยคนี้กันมาบ้าง
แล้วเคยสงสัยไหมว่า ประโยคนี้ เป็นจริงมากแค่ไหน ?
ลงทุนแมน จะเล่าให้ฟัง
7
ต้องบอกว่าเรื่องนี้อธิบายได้ด้วยคำว่า “อัตราผลตอบแทนทบต้น” หรือ Compound Interest
3
อัตราผลตอบแทนทบต้น คือ อัตราผลตอบแทนที่คิดจาก “เงินต้น” บวกกับดอกเบี้ย หรือกำไรที่ได้รับจากงวดก่อนหน้า
เช่น ถ้าเรานำเงิน 100,000 บาท ไปฝากธนาคาร แล้วได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เท่ากับ 3% ต่อปี
เมื่อครบรอบ 1 ปี เงินของเราจะเพิ่มขึ้นเป็น 103,000 บาท (เงินต้น 100,000 บาท บวกดอกเบี้ย 3,000 บาท)
2
ถ้าเราไม่ได้เอาดอกเบี้ยออกมาใช้เลย เงิน 103,000 บาทนี้ ก็จะกลายเป็นเงินต้นของปีที่ 2
และเมื่อครบ 2 ปี เงินของเราจะเพิ่มขึ้นเป็น 106,090 บาท (เงินต้น 103,000 บาท บวกดอกเบี้ย 3,090 บาท)
8
และในปีถัด ๆ ไป ดอกเบี้ยของปีก่อนหน้านั้น ก็จะถูกทบเข้ากับเงินที่เราสะสมมา และกลายเป็นเงินต้นของปีถัดไป เป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ
ทีนี้เรามาดูกันว่า ถ้าเราต้องการเก็บเงินให้ครบ 1 ล้านบาทแรก โดยการลงทุนอย่างสม่ำเสมอทุกเดือน
ภายใต้อัตราผลตอบแทนที่คาดหวังปีละ 10% เราจะใช้เวลานานแค่ไหน ?
- ลงทุนเดือนละ 2,000 บาท ระยะเวลาที่ใช้ 16.5 ปี
- ลงทุนเดือนละ 4,000 บาท ระยะเวลาที่ใช้ 11.3 ปี
- ลงทุนเดือนละ 8,000 บาท ระยะเวลาที่ใช้ 7.2 ปี
- ลงทุนเดือนละ 10,000 บาท ระยะเวลาที่ใช้ 6.1 ปี
 
ทีนี้ เมื่อเราได้เงิน 1 ล้านบาทแรกแล้ว หากเราอยากได้ล้านถัดไป
หรือก็คือ จาก 1 ล้านบาท ไปเป็น 2 ล้านบาท
7
ภายใต้เงื่อนไขการใช้เงินลงทุนต่อเดือนเท่าเดิม และอัตราผลตอบแทนที่คาดหวังเหมือนเดิม แต่ต่างกันที่เรามีฐานเงินลงทุนเดิมของ 1 ล้านบาทอยู่
- ลงทุนเดือนละ 2,000 บาท ระยะเวลาที่ใช้ 5.9 ปี
- ลงทุนเดือนละ 4,000 บาท ระยะเวลาที่ใช้ 5.2 ปี
- ลงทุนเดือนละ 8,000 บาท ระยะเวลาที่ใช้ 4.1 ปี
- ลงทุนเดือนละ 10,000 บาท ระยะเวลาที่ใช้ 3.8 ปี
10
จะเห็นได้ว่า ระยะเวลาในการสร้างล้านที่สองนั้น ลดลงจากล้านแรก
ดังนั้น คำพูดที่ว่า “เงินล้านต่อไป จะเกิดขึ้นได้เร็วกว่าล้านแรก” นั่นคือเรื่องจริง..
1
ซึ่งเบื้องหลังที่ทำให้ล้านถัด ๆ ไปของเรา มาถึงเร็วกว่าล้านแรก นอกจากวินัยในการลงทุนอย่างต่อเนื่องแล้ว อัตราผลตอบแทนทบต้นที่สูง ก็เป็นอีกตัวช่วยสำคัญ
แต่ก็ต้องหมายเหตุว่า ยิ่งผลตอบแทนสูง ความเสี่ยงของการได้มาซึ่งผลตอบแทนนั้น ก็สูงตามไปด้วย
2
นอกจากนั้น ถ้าเรามีเงินลงทุนสะสมสูงแล้ว การใส่เงินลงทุนต่อเดือน ก็อาจลดความสำคัญลงไปเรื่อย ๆ
4
หากเราลองเปรียบเทียบ การสร้างเงิน 1 ล้านบาท ไปเป็น 2 ล้านบาท กับการสร้างเงิน 4 ล้านบาท ให้เพิ่มไปเป็น 5 ล้านบาท ภายใต้อัตราผลตอบแทนที่เราคาดหวัง 10% ต่อปี โดยที่ไม่ใส่เงินลงทุนต่อเดือนลงไปเพิ่มเลย
1
- เงิน 1 ล้านบาท ไปเป็น 2 ล้านบาท ระยะเวลาที่ใช้ จะเท่ากับ 6.9 ปี
- เงิน 4 ล้านบาท ไปเป็น 5 ล้านบาท ระยะเวลาที่ใช้ จะเท่ากับ 2.2 ปี
2
ซึ่งจะเห็นได้ว่า ถ้าเงินต้นยิ่งมาก พลังของผลตอบแทนทบต้น ก็จะยิ่งมากตามไปด้วย
4
อ่านมาถึงตรงนี้ ถ้าในอนาคตมีคนมาถามว่า
“เงินล้านต่อ ๆ ไป มีโอกาสมาถึงได้เร็วกว่าล้านแรก จริงหรือไม่ ?”
1
เราก็คงตอบได้ว่า ถ้าเราลงทุนในสินทรัพย์สินที่ให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว
ล้านต่อ ๆ ไปของเรา ก็จะมาถึงได้เร็วกว่าล้านแรก อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้..
2
โฆษณา