Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
GLOBAL HEAL
•
ติดตาม
12 เม.ย. 2022 เวลา 09:00 • การเกษตร
โรคใบไหม้
โรคใบไหม้(Late blight)
เกิดขึ้นได้กับพืชแทบทุกชนิด
สาเหตุของโรคใบไหม้ เกิดจากเชื้อราหลากหลายชนิด
เช่น Pestalotropsis sp., Magnapothe grisea Barr.
มันระบาดได้ดีในอากาศที่ร้อนและสามารถแพร่กระจายผ่านกระแสลม
จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ควบคุมสาเหตุการเกิดโรคใบไหม้ได้ค่อนข้างยาก
และเราก็ไม่สามารถรู้ได้ว่าต้นพืชของเราได้รับเชื้อมาเมื่อไหร่
หรือเชื้อราฝังตัวอยู่ในพืชนานแค่ไหนจนกว่าอาการจะแสดงออกมา
โรคใบไหม้ มันสามารถเกิดได้กับทุกส่วนของลำต้นพืช
และยังเกิดได้กับทุกระยะการเติบโต
- โดยปกติถ้าเกิดโรคใบไหม้ในช่วงที่ยังเป็นต้นกล้า
จะสังเกตโรคนี้ได้ค่อนข้างยาก
เนื่องจากรอยไหม้ที่เกิดขึ้นจะมีขนาดค่อนข้างเล็ก
และกระจายตัวอยู่ตามขอบใบ บางครั้งมีให้เห็นเป็นจุดๆ
ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นโรคใบจุด แต่ไม่นานก็จะเกิดความเปลี่ยนแปลงของใบ
ได้อย่างชัดเจน
คือ เริ่มจากสีซีดลง เนื้อใบบาง และค่อยๆ แห้ง
จนต้นกล้านั้นล้มตาย ต่อให้ต้นกล้ารอดก็จะเป็นต้นที่เจริญเติบโตโดยไม่สมบูรณ์
มีลำต้นแคระแกร็นกว่าปกติ
และแน่นอนว่าไม่สามารถให้ผลผลิตที่น่าพอใจได้ด้วย
- ส่วนในต้นไม้ที่โตเต็มวัยแล้ว อาการใบไหม้จะสังเกตเห็นได้ง่ายกว่า
คือ มีรอยไหม้บริเวณขอบใบหรือปลายใบ ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่แก้ไข
รอยไหม้นั้นก็จะลุกลามทั่วทั้งใบหรืออาจลามไปยังส่วนอื่นๆ ได้
ทั้งก้านใบ ลำต้น และหัวที่อยู่ใต้ดิน
แต่อาจกล่าวได้ว่าลักษณะอาการหลักของโรคใบไหม้คือความแห้งเหี่ยวเหมือนโดนไฟไหม้ จึงเป็นที่มาของชื่อ โรคใบไหม้
แนวทางการป้องกันเบื้องต้น
- เมื่อพบส่วนที่เกิดโรค ควรตัดแต่งทิ้ง เพื่อลดปริมาณแหล่งกำเนิดเชื้อ
- กำจัดเศษซากของส่วนที่ตัดแต่งกิ่งออกจากแปลงปลูกให้หมด
อย่าปล่อยทิ้งไว้ อาจกลายเป็นแหล่งสะสมโรค และแหล่งแพร่กระจายโรค
โดนเฉพาะอากาศแล้งจัดๆ เศษซากพืชที่เป็นโรคเหล่านี้
จะเป็นแหล่งพักตัวของเชื้อ สาเหตุของโรคต่างๆ
- เมื่อระบาดหนัก แนะนำให้ใช้สารเคมีในกลุ่มรหัส 1(เบนโนมิล, คาร์เบนดาซิม, ไธอะเบนดาโซล, ไทโอฟาเนทเมทิล), สารกลุ่มรหัส 3(ไตรฟอรีน, โพรคลอราช, ไดฟิโนโคนาโซล, อีพ๊อกซีโคนาโซล, เฮกซาโคนาโซล, ไมโคลบิวทานิล, โพรพิโคนา, โซล, ทีบูโคนาโซล และ เตตรานาโซล เป็นต้น), สารกลุ่มรหัส 11(อะซ๊อกซีสโตรบิน, ไพราโคลสโตรบิน, ครีโซซิมเมทิล และ ไตรฟล๊อกซีสโตรบิน เป็นต้น)
และสลับด้วยสารประเภทสัมผัส เช่น สารกลุ่มคอปเปอร์, แมนโคเซ็บ, โพรพิเนป และ คลอโรทาโลนิล
1
เรื่องราวของ พืช, เชื้อราและโรคเกี่ยวกับพืช
รวมทั้งสิ่งที่มีเค้าของความเป็นไปได้ต่างๆ
กำลังรอพวกคุณอยู่อีกมากมายที่นี่ ที่ Global Heal
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก Google ครับ
#GlobalHeal #เกษตร #ความรู้
สามารถติดตามคอนเทนต์ และเนื้อหาสาระดีๆ จากพวกเรา
หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Facebook : Global Heal - โกลบอลฮีล
Blockdit : GLOBAL HEAL
Line : @globalheal
เกษตร
สิ่งแวดล้อม
ความรู้
บันทึก
2
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย