Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ECON.SOSO
•
ติดตาม
12 เม.ย. 2022 เวลา 04:03 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ตอนที่2
อุตสาหกรรมบันเทิงขับเคลื่อนเศรษฐกิจเกาหลีใต้?
3. การพัฒนานวัตกรรมของเกาหลีใต้
Credit photo : SM True
เกาหลีใต้เคยเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก ในช่วงปี ค.ศ. 1962 ประชากรมีรายได้ต่อหัวอยู่ที่ 87 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อมาในปี ค.ศ. 1995 ประชากรมีรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นเป็น 11,432 ดอลลาร์สหรัฐ และในปี ค.ศ. 1996 ได้เข้าเป็นประเทศสมาชิกขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และในอนาคตมีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของเกาหลีใต้จะยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากการสร้างนวัตกรรมเพื่อให้ประเทศและผลิตภัณฑ์ของประเทศกลายเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
1) บทบาทของภาครัฐและภาคเอกชน
เกาหลีใต้มีการดำเนินนโยบายการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในโครงการลงทุนของภาครัฐ โดยการร่วมมือ PPP รัฐร่วมเอกชนของเกาหลีใต้ ที่ไม่ได้จำกัดเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ แต่เอกชนขนาดเล็กก็มีโอกาสในการสร้างธุรกิจของตนเอง ผ่านการทำงานร่วมกับภาครัฐ เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินโครงการและบริการสาธารณะต่าง ๆ อีกทั้งยังเกิด SMEs อีกมากมาย โดยกลุ่มธุรกิจ SMEs ที่ผ่านกระบวนการเหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญที่ช่วยในการพัฒนาชาติให้แก่เกาหลีในอนาคต
2) การวิจัยและพัฒนา(R&D)
เกาหลีใต้มีอัตราการลงทุนงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนา(R&D) อยู่ที่ 4.35% ของ GDP ซึ่งถือว่าสูงที่สุดของโลก นอกจากนี้สถาบันการวิจัยและพัฒนาต่างก็มีความเป็นอิสระและมีความหลากหลาย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อการสร้างองค์ความรู้
3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
เกาหลีใต้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้วยการปลูกฝังวัฒนธรรมแห่งการรักการเรียนรู้ ตั้งแต่เด็ก และมีการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการพัฒนาของความคิดสร้างสรรค์ ด้วยการสร้างความเชื่อ ค่านิยมของสังคมที่เปิดกว้างยอมรับแนวความคิดใหม่ ๆ เพื่อให้ความคิดสร้างสรรค์ของคนในประเทศเกิดได้อย่างรวดเร็ว มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นกลไกพื้นฐานในการพัฒนา รวมไปถึงการจัดการพื้นฐานความรู้ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประกอบกับจุดเด่นที่สำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของเกาหลีใต้คือ การวางแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเป็นระบบ ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศตามที่กฎหมายบังคับอย่างชัดเจน มีการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และยังมีการปรับเปลี่ยนหน่วยงานที่รับผิดชอบตามความต้องการในแต่ละสถานการณ์ตลอดเวลา
4. อุตสาหกรรมบันเทิงของเกาหลีกับนวัตกรรมแห่งโลกอนาคต
ค่ายบันเทิงของเกาหลีใต้ได้ร่วมมือกับสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงในประเทศ ทำวิจัยเพื่อผลิต Culture Technology หรือเทคโนโลยีวัฒนธรรม สำหรับการตีตลาดความบันเทิงในอนาคต โดย SM Entertainment และสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงแห่งเกาหลี ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือสำหรับการวิจัย Metaverse หรือพื้นที่ดิจิทัลที่ถูกสร้างขึ้นให้เหมือนจริงโดยใช้เทคโนโลยี AR และ VR
1
ในปี ค.ศ. 2020 ทาง SM Entertainment ได้เปิดตัว aespa ศิลปิน K-pop วงแรกที่ประกอบไปด้วยสมาชิกจริง 4 คน และสมาชิก æ อีก 4 คน สมาชิก æ ถูกสร้างขึ้นมาจากข้อมูลส่วนตัวที่สมาชิกได้อัปโหลดลงบนโซเชียลมีเดีย และจะอาศัยอยู่ใน ‘FLAT’ ซึ่งเป็นชื่อเรียกของสถานที่ที่ æ อาศัยอยู่ในโลกเสมือนจริง การมีส่วนร่วมของ æ กับศิลปินในวง คือ การปรากฏตัวมาทำกิจกรรมร่วมกับสมาชิก
ทั้งการร้อง การแร็ป การเต้น และการถ่ายภาพร่วมกัน
ศิลปินวง aespa และ สมาชิก æ, Credit photo : allkpop
การสร้าง SM CULTURE UNIVERSE โลกความบันเทิงแห่งอนาคตที่เชื่อมโยงกับวัฒนธรรม SMCU เป็นการแบ่งปันเรื่องราวของศิลปิน บนพื้นที่ของโลกแห่งความจริง และพื้นที่เสมือนจริง ที่มีชื่อเรียกว่า “กวังยา” เพื่อการสัมผัสประสบการณ์
คอนเทนต์รูปแบบใหม่แห่งอนาคตอย่างสมบูรณ์
ค่ายบันเทิงรายใหญ่ของเกาหลีใต้หลายแห่งจึงเริ่มนำ Metaverse เข้ามาใช้ในการผลิตสื่อบันเทิง เพื่อเข้าถึงแฟนคลับจากทั่วโลกมากขึ้น
อย่างเช่น HYBE Entertainment ต้นสังกัดของวง BTS ที่ได้ร่วมมือกับ Dunamu บริษัทตลาดเทรดคริปโตเคอร์เรนซีที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้ ในการสร้างสินค้า NFT หรือ สินค้าที่มีความแตกต่างเฉพาะตัวขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าในอุตสาหกรรมบันเทิง
สรุป
อุตสาหกรรมบันเทิงของเกาหลีใต้ประสบความสำเร็จอย่างมาก จากการสอดแทรกวัฒนธรรมเกาหลีลงไปในผลงาน และส่งออกไปยังผู้คนทั่วโลก นอกจากจะเป็นการสร้างรายได้ให้กับประเทศแล้ว ยังทำให้วัฒนธรรมเกาหลีเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ความสำเร็จในการส่งออกนี้ยังดำเนินมาอย่างต่อเนื่องผ่านความร่วมมือของทางภาคอุตสาหกรรมบันเทิง และภาครัฐ ในการผลิตสื่อบันเทิงที่สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับเกาหลีผ่านการการันตีจากการคว้ารางวัลระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นผลงานด้านดนตรีของวง BTS ผลงานภาพยนตร์เรื่อง Parasite และผลงานล่าสุด Squid Game ที่ทำให้กระแสวัฒนธรรมเกาหลีได้รับความนิยมอย่างมากอีกครั้ง
จากความสำเร็จที่ผ่านมาแสดงให้เห็นแล้วว่าเกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีศักยภาพทั้งในด้านบุคลากร เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการสร้างสรรค์ผลงาน และแน่นอนว่าในอนาคตเกาหลีใต้จะสามารถยกระดับสื่อบันเทิงไปอีกขั้นด้วยการนำนวัตกรรมแห่งอนาคตเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าในอุตสาหกรรมบันเทิง
References :
https://www.researchgate.net
https://www.thairath.co.th/entertain/news/2164995
https://www.bangkokbiznews.com
อุตสาหกรรมบันเทิง
นวัตกรรม
metaverse
บันทึก
8
2
11
8
2
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย