Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
P
Paveena kaew
•
ติดตาม
11 เม.ย. 2022 เวลา 16:53 • สุขภาพ
“ต้นไม้บำบัด”
ขอแชร์บทความที่น่าสนใจจาก
อาจารย์ ดร.ภญ.ชญานิน กีรติไพบูลย์
ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Professor Lightman จาก University of Bristol ประเทศอังกฤษ ได้ค้นพบแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในดินชื่อ Mycobacterium vaccae แบคทีเรียชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายมนุษย์โดยผ่านทางเยื่อบุส่วนต่าง ๆ เช่น เยื่อบุผิวช่องจมูกและปาก เมื่อแบคทีเรียนี้เข้าสู่ร่างกายจะทำให้เพิ่มการสร้างสารสื่อประสาทชื่อ serotonin ที่บริเวณสมอง และทางเดินอาหาร รวมถึงลดกระบวนการอักเสบภายในร่างกาย
serotonin เป็นสารสื่อประสาทแห่งความสุข มีฤทธิ์คล้ายกับยาต้านอาการซึมเศร้า ทำให้เราอารมณ์ดี ดังนั้นหากสมองขาด serotonin จะนำไปสู่การเกิดโรคซึมเศร้าได้ ส่วน serotonin ในทางเดินอาหารทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ การสร้างเมือกและกรด ร่วมกับควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อเรียบที่ทางเดินอาหาร นอกจาก M. vaccae ที่เพิ่มการสร้าง serotonin แล้ว ความสงบในจิตใจ และความพึงพอใจที่เกิดขึ้นขณะที่ปลูกต้นไม้ หรือการเห็นต้นไม้ที่เราปลูกเจริญเติบโต จะทำให้สมองหลั่ง serotonin ได้เช่นกัน
การปลูกต้นไม้ทำให้เราผ่อนคลายได้อย่างไร
ผลการวิจัยจากหลายสถาบันที่สรุปว่า กิจกรรมที่ทำให้เราสัมผัสกับดิน ได้แก่ การจัดสวน การดูแลและตกแต่งสวน หรือการปลูกต้นไม้ สามารถทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย ลดความวิตกกังวล และลดอาการซึมเศร้าลงได้ หลังจากนั้นการที่ต้นไม้ค่อย ๆ เจริญเติบโต ออกดอกสีสันสวยงาม หรือออกผลผลิตที่กำลังจะเก็บได้ในไม่ช้าย่อมทำให้เรารู้สึกภาคภูมิใจ ชื่นใจ และมีความสุข ซึ่งในขณะที่เรามีความรู้สึกพึงพอใจจะทำให้สมองหลั่งสารสื่อประสาทแห่งความสุขอีกชนิดหนึ่งชื่อว่า dopamine การที่สมองหลั่ง dopamine จะทำให้เรารู้สึกตื่นตัว กระฉับกระเฉง มีสมาธิมากขึ้น และลดความวิตกกังวล ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจว่าเหตุใดคนที่ชอบปลูกต้นไม้ส่วนมากจะมีอารมณ์ดีนะคะ
ขอขอบคุณบทความดีๆจาก
อาจารย์ ดร.ภญ.ชญานิน กีรติไพบูลย์
ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ต้นไม้
ดูแลสุขภาพจากธรรมชาติ
ธรรมชาติบำบัด
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย