Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องราวจากของเก็บ
•
ติดตาม
14 เม.ย. 2022 เวลา 09:20 • อาหาร
ร้อนมั้ยครับ 🥵🔥🥵
กระผมร้อนมากครับ ร้อนตังค์บ้างอยู่บ่อยๆ🥹
2
4
ช่วงนี้อากาศภาคใต้ โดยเฉพาะแถวที่ผมอยู่ ร้อนมาก ลมที่พัดมาจากพัดลม เป็นลมอุ่นๆ
แต่ถึงยังนั้น ถ้าร่างกายส่วนไหนออกนอกแนวกระแสลม คือร้อนเหงื่อออกเป็นเม็ดเลยครับ
คนไทยเราเก่งครับ สรรหาของกินของทานที่ช่วยผ่อนคลายบรรเทาความร้อนได้ครับ (แสตมป์น้ำแข็งไม่มีนะครับ)
เริ่มที่ของเย็นๆ อย่างแรกครับ
ต้องย้อนกลับไปช่วงรัชกาลที่ 3 นั่นคือ “ข้าวแช่”
ข้าวแช้ของไทยได้รับอิทธิพลสืบเนื่องมาจากตำนานสงกรานต์มอญ โดยตามตำนานว่ากันว่า เดิมทีข้าวแช่เป็นอาหารของชาวมอญ ถูกเรียกว่า “เปิงด้าจก์” เป็นเมนูอาหารที่ไม่ได้ทำกินกันทั่วๆ ไป เพราะถูกปรุงขึ้นเพื่อใช้เซ่นไหว้ประกอบพิธีบูชาเทวดาในการขอพรให้ได้ลูก หรือมีทายาทสืบสกุลใน “วันมหาสงกรานต์” ของมอญ
ต่อมาข้าวแช่เริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นในช่วงรัชกาลที่ 4 เนื่องด้วย “เจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่น” เจ้าจอมเชื้อสายมอญทางเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนี) พระสนมเอกในรัชกาลที่ 4 ได้นำข้าวแช่ขึ้นถวายเป็นเครื่องต้น จนทำให้เมนูนี้แพร่หลายและนิยมเสวยกันในวัง
แสตมป์อุทยานประวัติศาสตร์ พระนครคีรี
แต่ต่อมาไม่นานอาหารชาววังก็กลายเป็นอาหารชาวบ้าน เมื่อเจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่นติดตามไปถวายงานพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ที่พระราชวังพระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี และได้ถ่ายทอดการทำข้าวแช่ชาววังไปยังห้องเครื่อง จากห้องเครื่องแพร่ไปสู่ชาวเมืองเพชรบุรี ไปจนกระทั่งช่วงรัชกาลที่ 5 “หม่อมหลวงเนื่อง นิลรัตน์” ข้าหลวงประจำห้องเครื่องในสมัยนั้น เป็นผู้แพร่กระจายข้าวแช่ชาววังสู่สาธารณชนวงกว้าง และได้รับความนิยมมาจนถึงทุกวันนี้แล…
แสตมป์ชุดนี้ออกมาในวาระปีใหม่ 2565 เป็นภาพขนมหวานของไทย 4 อย่าง ได้แก่ ส้มฉุน ลอดช่อง ไอศกรีม และน้ำแข็งไส
จำหน่ายวันแรก 15 พฤศจิกายน 2564 ครบชุดมี 4 แบบ ทุกแบบเป็นชนิดราคา 3 บาท จัดพิมพ์ บบละ 500,000 ดวง โดยบริษัท ที.เค.เอส. เทคโนโลยี จำกัด ประเทศไทย
4
แสตมป์ปีใหม่ 2565
ตบท้ายด้วยของหวานๆ เย็นๆ ที่มาจากแสตมป์ปีใหม่ 2565 ด้วยขนมหวาน 4 ชนิดคือ
ส้มฉุน
ในบรรดาของหวานทั้ง 4 ชนิดบนแสตมป์ ผมยังไม่เคยได้เคยลิ้มลองส้มฉุน เพราะเข้าใจมาตั้งแต่แรกว่า ส้มฉุนเป็นชื่อพันธุ์ของส้มชนิดหนึ่ง พอมาเห็นบนแสตมป์ก็รู้สึกสะดุดตา พอได้ทราบที่มาที่ไป ทราบได้ทันทีว่าน่าจะหาทานยากพอสมควร
2
ส้มฉุน จัดเป็นของหวานประเภทลอยแก้ว คือของหวานที่ทำด้วยเนื้อผลไม้รสเปรี้ยวลอยในนํ้าเชื่อมเจือเกลือเล็กน้อย เช่นเดียวกับส้มลอยแก้ว กระท้อนลอยแก้ว แต่มากเครื่องตามตำรับชาววัง
3
ส้มฉุนประกอบด้วยผลไม้รสเปรี้ยวหวานอย่างลิ้นจี่ และผลไม้ตามฤดูกาลอื่นๆ อีก 2-3 ชนิด กับน้ำลอยแก้วที่ปรุงกลิ่นให้หอมด้วยการใช้น้ำลอยดอกมะลิที่แช่ทิ้งไว้ข้ามคืน ก่อนนำไปเคี่ยวกับน้ำตาล จนได้น้ำเชื่อมหรือน้ำลอยแก้วที่มีกลิ่นหอม แล้วบีบน้ำส้มซ่าให้กลิ่นหอมเย็นสดชื่นใส่ลงไป นำผลไม้แช่น้ำลอยแก้วทิ้งไว้ข้ามคืนจนซึมเข้าเนื้อ ก่อนกินโรยด้วยถั่วลิสงคั่ว หอมเจียวและขิงอ่อนซอย
ให้รสสดชื่นหวานเปรี้ยวจากผลไม้และน้ำลอยที่กลิ่นหอมเย็นจากผลส้มซ่าและขิงซอยอวลไปกับหอมเจียว สัมผัสกรุบเล็กน้อยจากถั่วลิสงคั่วบุบ เป็นความสดชื่นของกลิ่นและรสที่ออกจะซับซ้อน เกินกว่าจะชวนให้ทุกคนจินตนาการได้ อยากให้ได้ลิ้มลองสัมผัสความสดชื่นด้วยตัวเอง
📌https://krua.co/food_story/somchun/
ลอดช่อง
ลอดช่อง (น้ำกะทิ)
เป็นขนมไทยแท้แต่โบราณดั้งเดิม มีหลายคนยังสับสนคิดว่ามันคือ ขนมที่มาจาก ชวา มาเลย์ สิงคโปร์ ที่เรียกว่า เจ็นดล (cendol) หรือชวา เรียก ดาเวต (dawet) ที่จริงมันคนละชนิดกัน
ลอดช่อง ทำมาจากแป้ง โดยบีบให้น้ำแป้งลอดช่องวงกลมตกลงไปในน้ำร้อนจนได้ก้อนแป้งสุกที่มีลักษณะเป็นเส้นสั้นๆ ยาว 2-2.5 นิ้ว ให้เนื้อเหนียวนุ่ม นิยมทำทั้งสีขาว สีธรรมชาติจากแป้ง และสีเขียวจากน้ำใบเตย รับประทานคู่กับน้ำกะทิหวานมันเข้มข้น ที่เคี่ยวจนหอมจากหัวกะทิ และน้ำตาลมะพร้าว
ไม่ว่าจะในงานพิธีต่างๆ เช่น งานแต่ง, งานบวช, งานขึ้นบ้านใหม่ หรือแม้กระทั่งงานสวดศพ ลอดช่อง มักได้รับความนิยมถูกจัดให้เป็นเมนูสำรับหวานอยู่เสมอมา
ขนมชนิดนี้มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยโบราณ เริ่มที่ สมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ช่วงปี พ.ศ. 2215-2220 มีการขุดสระเก่าแก่แห่งหนึ่ง พบหลักศิลาจารึกในสระ ระบุว่า ได้ทำ "ขนมไข่กบ นกปล่อย บัวลอย ไอ้ตื้อ" เลี้ยงคนในวันขุดสระแห่งนี้
ผู้ค้นพบอ่านดูแล้วไม่เข้าใจว่าคือขนมอะไร จึงไปให้ผู้ใหญ่ตีความให้ ได้รับคำตอบว่า
ไข่กบ หมายถึง เม็ดแมงลัก
นกปล่อย หมายถึง ลอดช่อง
บัวลอย หมายถึง ข้าวตอก
ไอ้ตื้อ หมายถึง ข้าวเหนียว
ผู้ใหญ่ที่ตีความ
ขนมทั้ง 4 อย่างนี้ ใช้น้ำกระสายอย่างเดียวกัน คำว่า น้ำกระสาย คือ น้ำกะทิผสมกับน้ำตาลมะพร้าวหรือน้ำตาลปี๊บ นั่นเอง
📌https://www.thebangkokinsight.com/news/lifestyle/70336/
ไอศกรีม
ไอศกรีม
ไอศกรีม เป็นชื่อขนมอย่างหนึ่งทำด้วยครีม นม น้ำตาลเป็นต้น ผสมกัน แล้วปั่นให้ข้นในอุณหภูมิต่ำอาจเติมรส สี และกลิ่นต่างๆ ได้ตามชอบ
ในประเทศไทยนั้น ไอศกรีมเริ่มเข้ามาในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นหนึ่งในวัฒนธรรมตะวันตกที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำมาเผยแพร่ในสยาม หลังเสร็จประพาสอินเดีย ชวาและสิงคโปร์
น้ำแข็งในตอนแรกๆ ก็ยังไม่สามารถผลิตในประเทศได้ จึงต้องนำเข้าจากประเทศสิงคโปร์ เมื่อไทยสั่งเครื่องทำน้ำแข็งเข้ามาก็เริ่มมีการทำไอศกรีมกินกันมากขึ้น ถือว่าไอศกรีมเป็นของเสวยเฉพาะสำหรับเจ้าขุนมูลนายเท่านั้น ซึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพบันทึกไว้ว่า
ไอศกรีมเป็นของที่วิเศษในเวลานั้น เพราะเพิ่งได้เครื่องทำน้ำแข็งอย่างเล็กที่เขาทำกันตามบ้านเข้ามา ทำบางวันน้ำก็แข็งบางวันก็ไม่แข็ง มีไอศกรีมบ้างบางวันก็ไม่มี จึงเห็นเป็นของวิเศษ
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ไอศกรีมในพระราชวังนั้นจะทำจากน้ำมะพร้าวอ่อน ใส่เม็ดมะขามคั่ว จนต่อมาถึงแม้มีโรงงานทำน้ำแข็งเอง แต่ไอศกรีมก็ยังถือเป็นของชั้นดี แต่ก็ยังมีไอศกรีมระดับชาวบ้านทำเองด้วย วิถีการกินของผู้คนจะนิยมกินอาหารกันในเรือนแพ เหมือนที่สมัยนั้นจะขายก๋วยเตี๋ยว หรือกาแฟกันบนเรือ
ลักษณะของไอศกรีมกะทิใส่ถ้วย โรยด้วยถั่วลิสงคั่วก็มีมาตั้งแต่สมัยนั้น ซึ่งต่อมาไอศกรีมกะทิก็มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาขึ้น จากกะทิใสๆ ก็มีความเข้มข้น มีการใส่ลอดช่อง เม็ดแมงลัก และขนุนฉีกเข้าไป โดยคนไทยได้ดัดแปลงไอศกรีมของต่างชาติมาเป็นไอติมกะทิ โดยใช้กะทิสดผสมกับน้ำตาลนำไปปั่นให้แข็ง เนื้อไอศกรีมค่อนข้างใสเป็นเกล็ดน้ำแข็งละเอียด
📌https://th.m.wikipedia.org/wiki/ไอศกรีม
น้ำแข็งไส
น้ำแข็งไส
2
ในประเทศไทย น้ำแข็งไส หวานเย็น หรือ จ้ำบ๊ะ (มักเขียนผิดเป็น น้ำแข็งใส) คือ อาหารว่างชนิดหนึ่ง ที่ใช้น้ำแข็งก้อนใหญ่ไสจนเป็นเกล็ด แล้วอัดลงในถ้วยให้เป็นแท่ง ราดด้วยน้ำหวาน รับประทานพร้อมกับขนม อาทิ ลอดช่อง เผือก ลูกชิด ซ่าหริ่ม ทับทิมกรอบ ฟักทองเชื่อม เฉาก๊วย ข้าวโพด ถั่วแดง ลูกบัว วุ้น ขนมปังหั่นก้อน เป็นต้น ราดน้ำกระทิลอยดอกมะลิ หรือขนุนในน้ำเชื่อม มีขายตั้งแต่รถเข็น แผงลอย ไปถึงห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วไป
น้ำแข็ง เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 สั่งมาจากสิงค์โปร์ จนกระทั่งมีการตั้งโรงน้ำแข็งสยามขึ้นมา สิ่งที่นิยมคือ นำน้ำแข็งมาทำให้เป็นเกล็ด อัดเป็นแท่งเสียบไม้ ราดด้วยน้ำหวาน
ส่วนจ้ำบ๊ะ มีต้นกำเนิดจากชาวจีนในจังหวัดเพชรบุรี คิดค้นจากการนำของกินที่เหลือตอนเช้า คือ ปาท่องโก๋ ไปทอดกรอบแล้วใส่น้ำแข็งไส และเทน้ำหวานสีแดง
จุดเริ่มต้นยังไม่เรียกว่า จ้ำบ๊ะ จนปี พ.ศ. 2490 มีการบริโภคนมข้นหวานอย่างแพร่หลาย จึงมีการราดนมข้นหวานลงไป มีลำดับองค์ประกอบคือ
ชั้นฐานประกอบด้วย ปาท่องโก๋ทอด/ขนมปังหัวกะโหลก หั่นเป็นชิ้นพอคำ
ต่อมาคือชั้นน้ำแข็งไสในลักษณะพูนคล้ายทรงภูเขาหรือกะลาครอบ
และชั้นที่ 3 คือ ชั้นน้ำเชื่อม และชั้นยอด โรยนมข้นหวาน
จากนั้นจ้ำบ๊ะมีความแพร่หลายในจังหวัดขอนแก่นราวปี พ.ศ. 2525 จนเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยม
ที่มาของชื่อ จ้ำบ๊ะ น่าจะมาจาก น้ำแข็งไสสีขาวที่พูนขึ้นคล้ายหน้าอกของนางระบำจ้ำบ๊ะ🤤🤤
📌https://th.m.wikipedia.org/wiki/น้ำแข็งไส
เล่าขานผ่านแสตมป์
แสตมป์ที่ระลึก
ของสะสม
6 บันทึก
22
47
7
6
22
47
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย