Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Right SaRa by Bom+
•
ติดตาม
12 เม.ย. 2022 เวลา 11:22 • ประวัติศาสตร์
การกินอยู่ของคนในสมัยอยุธยา ตอนพิเศษ สงกรานต์
2
สมัยนั้นมีเทศกาลนี้ไหม เค้าทำอะไรกันบ้าง
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดโพธินิมิตร เขตธนบุรี กรุงเทพฯ ที่มา: ฐานข้อมูลจิตรกรรมฝาผนัง สถาบันไทยคดีศึกษา ม.ธรรมศาสตร์
ถ้าพูดถึงวันสงกรานต์ เราก็มักจะนึกถึงวันปีใหม่ไทย เป็นเช่นนั้นหรือไม่ เรามาติดตามอ่านกันครับ
แรกเริ่มตั้งแต่สมัยโบราณ (ก่อนอยุธยาเป็นราชธานีถึงประมาณช่วงอยุธยาตอนต้น) คนไทยถือเอาช่วงเปลี่ยนปีนักษัตร คือวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย (นับแบบจันทรคติ) เป็นวันขึ้นศักราชใหม่ ตรงกับช่วงหลังวันลอยกระทง ถ้านับแบบสุริยคติก็คือ ช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม แต่เราก็ยังไม่มีการเรียกว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่แต่อย่างใด และก็ยังไม่รู้จักกับคำว่าสงกรานต์
2
✓
“สงกรานต์” ท่านเสฐียรโกเศศอธิบายว่ามาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า การเคลื่อนที่ หรือการเคลื่อนย้าย หมายถึงการเคลื่อนย้ายของพระอาทิตย์จากราศีหนึ่งสู่อีกราศีหนึ่ง
✓
ตามความหมายนี้คำว่าสงกรานต์ธรรมดาจึงเกิดขึ้นทุกเดือน ส่วนระยะเวลาที่คนไทยเรียก “สงกรานต์” นั้น เป็นช่วงที่พระอาทิตย์เคลื่อนย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ นับว่าเป็น “มหาสงกรานต์” เพราะเป็นวันและเวลาตั้งต้นปีใหม่ตามสุริยคติ ถือตามแบบอินเดีย ซึ่งนับถือศาสนาพราหมณ์
1
...
ประเพณีวันสงกรานต์นับเป็นการฉลองขึ้นปีใหม่ เนื่องจากเดือนเมษายน (เดือน 5 ถ้านับแบบจันทรคติ) เป็นเวลาที่คนไทยว่างจากการทำนาจึงเป็นการเหมาะสมสำหรับคนไทยที่จะฉลองปีใหม่ในช่วงเวลานั้นด้วย รวมถึงคนพื้นเมืองมีประเพณีเลี้ยงผีบรรพชนกับเลี้ยงผีเครื่องมือทำมาหากิน สืบเนื่องจากยุคก่อนประวัติศาสตร์หลายพันปีมาแล้ว
“สงกรานต์” (เดือน 5 นับแบบจันทรคติ หรือ เดือน 4 นับแบบสุริยคติ) จึงเป็นประเพณีของพราหมณ์ที่เรารับมาจากอินเดีย โดยเริ่มรับเข้ามาในราชสำนัก แล้วค่อยๆกลมกลืนเป็นประเพณีของพุทธในช่วงสมัยอยุธยา โดยมีหลักฐานที่ปรากฏไล่ตามลำดับเวลาดังต่อไปนี้
★
พ.ศ. 2011 (รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ) มีการระบุในกฎมณเฑียรบาลซึ่งอยู่ในกฎหมายตราสามดวงที่จัดตั้งขึ้นในสมัยนี้ ได้มีการเอ่ยถึงพระราชพิธีที่จัดขึ้นในแต่ละเดือน เรียกว่า “พระราชพิธี 12 เดือน”
1
โดยมีการระบุว่าไม่ได้ใช้เดือนอ้ายเป็นหลักในการเปลี่ยนศักราชแล้ว เพราะกำหนดไว้ว่า (นับแบบจันทรคติ) เดือน 4 การสัมพรรษฉินคือพิธีสิ้นปี หมายถึงตรุษ และเดือน 5 การพระราชพิธีเผด็จศก ลดแจตร ออกสนาม ซึ่งหมายถึงขึ้นปีใหม่นั้นเอง โดยพิธีต่างๆในเดือน 5 มีรายละเอียดที่ระบุดังนี้
...
●
พระราชพิธีเผด็จศกพิธีลดแจตร ตั้งการพระราชพิธีในพระปรัศซ้ายพระที่นั่ง มีตำหนักอาบน้ำพระสงฆ์ มีการกั้นม่านฝ่ายในฝ่ายหน้า พระที่นั่งสรงน้ำปักไม้พุ่มต้นหุ้มผ้าแดง มีที่นั่งตามบรรดาศักดิ์ลดหลั่นกันไป มีการสรงน้ำทั้งเช้า กลางวันและเย็น ขุนนางเตรียมผ้านุ่ง 3 สำรับเพื่อลงน้ำตามเสด็จ
...
●
พระราชพิธีออกสนามใหญ่ จัดในเดือน 5 ขึ้น 5 ค่ำ มีการแห่ขบวนช้างขบวนม้าและขบวนทหารต่างๆ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับในพระบัญชรชั้นสิงห์ เข้านายจัดที่นั่งชมลดหลั่นกันไป หลังการเดินขบวนมีการละเล่นสมโภช เช่น ล่อช้าง แข่งระแทะ วัวชน กระบือชน ชุมพาชน ช้างชน คนชน ปรบไก่ คลีชงโคน มวยปล้ำ เป็นต้น
1
★
รัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีกล่าวถึงในพระราชพงศาวดารว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเคยตรัสเมื่อได้ทราบข่าวพระเจ้าแปรยกทัพมาประชิดชายแดนไทยว่า “จะไปเล่นตรุษเมืองละแวก สิสงกรานต์ชิงมาก่อนเล่า จำจะยกออกไปเล่นสงกรานต์กับมอญให้สนุกก่อน” แสดงว่าการเล่นสงกรานต์คงมีแน่แล้วในสมัยนั้น
1
★
รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีการแต่งวรรณกรรมที่ชื่อ “โคลงทวาทศมาส” เป็นนิราศที่เขียนถึงคนรักโดยมีภาพของสถานที่และประเพณี 12 เดือนปรากฏอยู่อย่างชัดเจน เริ่มตั้งแต่เดือน 5 เรื่อยไปจนกระทั่งถึงเดือน 4 กล่าวถึงสภาพอากาศ ฤดูกาลต่างๆ ซึ่งมีการกล่าวถึงประเพณีสงกรานต์ไว้ แต่ไม่ปรากฏว่ามีการสาดน้ำต่อกันให้เห็น
1
★
ช่วงอยุธยาตอนปลาย “นิราศธารโศก” วรรณกรรมที่แต่งโดยเจ้าฟ้ากุ้ง เป็นกาพย์ห่อโคลง ได้พรรณนาถึงประเพณีหลวงในเดือนห้า มี 2 งาน ได้แก่ ออกสนาม กับ สงกรานต์ ดังนี้
เดือนห้าอ่าโฉมงาม การออกสนามตามพี่ไคล
สงกรานต์การบุญไป ไหว้พระเจ้าเข้าบิณฑ์ถวาย
เดือนห้าอ่ารูปล้ำ โฉมฉาย
การออกสนามเหลือหลาย หลากเหล้น
สงกรานต์การบุญผาย ตามพี่
พระพุทธรูปฤๅเว้น แต่งเข้าบิณฑ์ถวาย
“นิราศธารโศก” โดย เจ้าฟ้ากุ้ง
1
...
●
“ออกสนาม” (มีปรากฏในกฎมณเฑียรบาลเช่นกัน) หมายถึงงานพระราชพิธีมีการละเล่นกลางแจ้ง (เป็นรัฐนาฏกรรม) ในสนามหน้าจักรวรรดิ ซึ่งเป็นพื้นที่ว่างในกำแพงวังหลวงชั้นนอก ด้านทิศตะวันออก พระเจ้าแผ่นดินเสด็จออกประทับในพระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์
●
“สงกรานต์การบุญไป ไหว้พระเจ้าเข้าบิณฑ์ถวาย” หมายถึง เมื่อเข้าสู่สงกรานต์ พากันไปทำบุญเลี้ยงพระในวัด เป็นหลักฐานสำคัญอย่างยิ่งว่าพิธีพราหมณ์ในเทวสถานถูกทำให้เป็นงานบุญในพุทธสถาน (คือวัด) ไปแล้วตั้งแต่ก่อนแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ แต่เป็นพิธีของหลวงเท่านั้น
1
★
คำให้การชาวกรุงเก่า มีการพูดถึง “พระราชพิธีละแลงสุก (เถลิงศก)” ในกฎมณเฑียรบาลเรียกว่า เผด็จศกพิธีลดแจตร กล่าวว่าจัดเมื่อสงกรานต์ สรงน้ำพระศรีสรรเพชญ พระพิฆเนศวร โปรดให้นิมนต์พระสงฆ์ราชาคณะเข้ามาสรงน้ำแลรับพระราชทานอาหารบิณฑบาต ก่อพระเจดีย์ทรายวัดพระศรีสรรเพชญ ตั้งโรงทานเลี้ยงพระแลราษฎรที่มาแต่จตุรทิศ 3 วัน
2
...
จากบันทึกดังกล่าวบอกให้เราทราบว่า พิธีสงกรานต์ยังจัดภายในราชวัง มีการนิมนต์พระสงฆ์เข้ามา เป็นพิธีทางพุทธที่ผสมผสานกับทางพราหมณ์ มีแค่การสรงน้ำพระ ก่อเจดีย์ทราย ไม่มีการเล่นหรือสาดน้ำใดๆ
■
บทสรุป:
●
สงกรานต์นำเข้ามาจากอินเดีย เริ่มเข้ามาในสยามในช่วงประมาณอยุธยาตอนต้น เป็นพระราชพิธีภายในราชสำนักเท่านั้น ไม่มีเข้าถึงชาวบ้านทั่วไป โดยเป็นต้นแบบแพร่หลายลงสู่ชาวบ้าน คือการทำบุญเลี้ยงพระวันสงกรานต์ในยุครัตนโกสินทร์ หลัง ร.3
2
...
●
สงกรานต์เป็นพิธีที่แสดงถึงการเปลี่ยนศักราชใหม่ เริ่มแรกเข้ามาเป็นพิธีทางพราหมณ์ก่อน แล้วค่อยๆผสานกลมกลืนกับพิธีทางพุทธ ส่งต่อมาจนถึงปัจจุบัน
3
...
●
สมัยนั้นไม่มีการเล่นน้ำหรือสาดน้ำกันใดๆ มีเพียงการทำบุญ สรงน้ำพระ ก่อเจดีย์ทราย การแสดงกลางแจ้ง อาจเนื่องมาจากเป็นพิธีภายในวัง การเล่นน้ำเพิ่งมีการปรับเข้ามาในประเพณีเมื่อสมัยรัตนโกสินทร์นี่เอง
2
6
จบแล้ว ตอนพิเศษ
ติดตามได้ในตอนต่อไป…
...
ติดตามตอนที่ 10 ก่อนหน้า จากด้านล่างนี้
อ่านเพิ่มเติม
blockdit.com
[Right SaRa by Bom+] การกินอยู่ของคนในสมัยอยุธยา ตอนที่ 10
การกินอยู่ของคนในสมัยอยุธยา ตอนที่ 10
■
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
ส.พลายน้อย, ศิลปวัฒนธรรม (กรุงเทพฯ: มติชน) ฉบับมกราคม 2529
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม, ประเพณีสงกรานต์ (กรุงเทพ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์) หน้า 1.
กฎหมายตราสามดวง เล่ม 1. (2548). (กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ).
วินัย พงศรีเพียร. (2548). กฎมณเฑียรบาล ฉบับเฉลิมพระเกียรติ. (กรุงเทพฯ: ด่านสุธาการพิมพ์).
สุจิตต์ วงษ์เทศ, สาดน้ำสงกรานต์ ไม่มีและไม่มาจากอินเดีย (กรุงเทพฯ มติชนรายวัน, 2563), ตีพิมพ์ 14 เมษายน 2563
สุจิตต์ วงษ์เทศ, เลี้ยงผี เดือน 5 เมษายน สงกรานต์ของแขกพราหมณ์ ถูกแปลงเป็นไทยพุทธ สมัยอยุธยา (กรุงเทพฯ: มติชนรายสัปดาห์) ฉบับวันที่ 20-26 เมษายน 2561
คำให้การชาวกรุงเก่า. (2544). กรุงเทพฯ: จดหมายเหตุ. หน้า 247-248
ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ไทย
สงกรานต์
2 บันทึก
24
33
19
2
24
33
19
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย