12 เม.ย. 2022 เวลา 12:59 • สุขภาพ
ตอนที่ 1
โอมิรอนทำเศรษฐกิจไทยรอดหรือร่วง ?
สถานการณ์โควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน การแพร่ระบาดในแต่ละปีมีจุดเปลี่ยนที่สำคัญโดย เฉพาะการแพร่ระบาดของเชื้อโอไมครอนเนื่องจากการแพร่ระบาดในครั้งนี้กลับมีตัวเลขผู้ติดเชื้อสูงขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับปีก่อน แต่ในขณะเดียวกันมาตรการทางเศรษฐกิจของรัฐบาลกลับผ่อนคลาย ไม่ว่าเป็นการเปิดรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ
 
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบทำถึงทำไมเศรษฐกิจไทยยังไม่ดีขึ้นถึงแม้จะมีมาตรการผ่อนคลายเศรษฐกิจแล้วก็ตาม เนื่องจากการท่องเที่ยวของไทยเป็นหลายได้หลักของประเทศแต่การท่องเที่ยวของไทยยังไม่กลับมาเหมือนเดิม อีกทั้งยังมีการวิเคราะห์ถึงผลกระทบของโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจไทย รวมถึงวิเคราะห์ถึงโอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะกลับมาฟื้นตัว หรือความเสี่ยงที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยไม่ฟื้นตัว
2.สถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19
ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ ณ วันที่ 5 มี.ค.2565 มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 22,818 ราย เสียชีวิต 52 ราย ผลตรวจ ATK พบผู้ติดเชื้อเข้าข่ายเพิ่มอีก 33,085 ราย รวม 55,903 โดยจำแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 22,681 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 137 ราย มีผู้ป่วยอาการหนักจากปอดอักเสบ 1,124 ราย ในจำนวนนี้ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ 355 คน โดยหากติดเชื้อแต่อาการไม่รุนแรงจะใช้ระบบ Home isolation
3.ผลกระทบของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนต่อเศรษฐกิจไทย
ภาคการท่องเที่ยว
ผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของไทย เมื่อเทียบกับในช่วงการระบาดของก่อนหน้า การท่องเที่ยวของไทยในช่วงนั้นหยุกชะงัก จากการมาตรการล๊อคดาวน์ประเทศ อีกทั้งยังไม่รับนักท่องเที่ยวทำให้ภาคการท่องเที่ยว ซึ่งสถานการณ์โควิดและการล็อกดาวน์ที่ผ่านมา ทำให้รายได้การท่องเที่ยวติดลบ -100% เทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว หลังจากมาตรการคลายล๊อคดาวน์ เริ่มเปิดประเทศโดยใช้โครงการ Phuket sandbox มีจำนวนนักท่องเที่ยวสะสมถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 จำนวน 38,699 คนในขณะที่จำนวนการจองที่พัก SHA+ Phuket Sandbox ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2564 ถึงกุมภาพันธ์ 2565 อยู่ที่ 716,898 คืน มูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นสำหรับโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ณ วันที่ 27 กันยายน 2564 อยู่ที่ประมาณ 2,254 ล้านบาท
โครงการสมุยพลัสอยู่ที่ 66.58 ล้านบาท และสำหรับโครงการส่วนขยายของภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์อยู่ที่ 12.16 ล้านบาท รวมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 2,330 ล้านบาท และโครงการ Test & Go (T&G) หรือ (ยกเว้นการกักตัว) เป็นหนึ่งในโครงการใหม่เพื่อต้อนรับผู้เดินทางเข้าประเทศไทยโดยโปรแกรม Test & Go เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 แต่โครงการนี้ได้หยุดลงในช่วงเดือนธันวาคมเนื่องจากการแพร่ระบาดของโอไมครอน และกลับมาเปิดใหม่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา เนื่องจากรัฐบาลได้เล็งเห็นว่าการแพร่ระบาดของโอไมครอนไม่ได้มีความรุนแรงเมื่อเทียบกับการแพร่ของเชื้อเดลต้าในช่วงกลางปี 2564 แต่อย่างไรก็ตามการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนที่ส่งผลทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจส่งผลทำให้นักท่องเที่ยวค่อนข้างหวั่นใจในการเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย
ภาคการส่งออก
การส่งออกของไทยยังไม่ฟื้นตัวเนื่องจากนโยบาย Zero Covid ของจีน ส่งผลให้ส่งออกของไทยลดลง -0.7% โดยผลกระทบที่ไทยจะได้รับคือ การขนส่งที่ต้องใช้ระยะเวลาในการผ่านด่านต่างๆมากขึ้น มีรถติดสะสมบริเวณด่าน ปริมาณรถเข้าออกด่านลดลงกว่าช่วงปกติ 50% และสินค้าส่งออกที่ได้รับผลกระทบ เช่น ผลไม้ (สด แช่เย็น แช่แข็ง แห้ง) ยางพารา ไม้แปรรูป และเครื่องคอมพิวเตอร์
รายจ่ายเพื่อการบริโภค
การแพร่ระบาดของโอมิครอนส่งผลทำให้ภาคประชาชนมีภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นค่า Atk ค่าหน้ากากอนามัย รวมถึงค่าแอลกอฮอล์อีกทั้งตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมารัฐบาลได้ประกาศมาตรการโควิด 19 ออกมาใหม่ โดยหากใครติดโดวิดจะต้องรักษาตัวเองที่บ้าน หรือ ใช้มาตรการ Home isolation ซึ่งเป็นการผลักภาระให้ภาคประชาชนเนื่องจากรัฐบาลไม่รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการรักษาตัวถ้าหากไม่เข้าข่ายตามเงื่อนไขที่มี ซึ่งประชาชนบางกลุ่มไม่มีพื้นที่กักตัวที่เป็นส่วนตัว เนื่องจากประชาชนบางกลุ่มอยู่อาศัยรวมกัน 3-4 คน ซึ่งทำให้บางคนต้องออกเงินตัวเองมาเช่าห้อง เพื่อแยกกักตัว ทำให้ประชาชนมีรายจ่ายในการบริโภคลดลง อีกทั้งมาตรการของรัฐบาลมีความไม่ชัดเจนส่งทำให้เกิดความกังวลของภาคประชาชน
4. ทำไมถึงเปิดประเทศแล้วเศรษฐกิจยังคงฟื้นตัวช้า
ประเทศไทยเริ่มเปิดประเทศให้นักท่อง เที่ยวเข้ามาในประเทศตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ในรูปแบบของภูเก็ตแซนด์บอกซ์ และเริ่มผ่อนคลายให้ให้ผู้ฉีดวัคซีนครบโดสแล้วจาก 45 ประเทศ เดินทางเข้าเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565โดยมาตรการผ่อนคลายที่มากขึ้นนับเป็นสัญญาณเชิงบวกต่อเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะภาคบริการต่างๆ การบริโภคภาคเอกชนจะขยับดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าได้ แต่ในความเป็นจริงกลับไม่ดีอย่างที่วางแผนตามเป้าหมายของรัฐบาลโดยมีสาเหตุหลักทั้งหมด 4 ประการ
ประการแรก คือ ประเทศไทยพึ่งพาการท่องเที่ยวสูง ก่อนสถานการณ์โควิด สัดส่วนการท่องเที่ยวคิดเป็น 13-14% ของ GDP โดยการท่องเที่ยวยังมีบทบาทในการจ้างงานมาก โดยการจ้างงานคิดเป็น 1 ใน 6 ของแรงงานในระบบเศรษฐกิจ และเมื่อเจาะเป็นรายประเทศในปี 2562 จำนวนนักท่องเที่ยวจากจีนมากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาได้แก่ มาเลเซีย อินเดีย เกาหลี และลาว โดยมีนักท่องเที่ยวจากจีนมาไทยมากถึง 10.99 ล้านคน หรือกว่า 1 ใน 4 ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด จึงกล่าวได้ว่านักท่องเที่ยวจากจีนมีบทบาทที่สำคัญอย่างมากต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย โดยในปี 2564 จากสถานการณ์โควิดทำให้นักท่องเที่ยวจีนเดินทางมาไทยลดลงถึง 88.6% เมื่อเทียบกับปี 2562
โดยสาเหตุที่ทำให้นักท่องเที่ยวชาวจีนไม่เข้ามาเที่ยวในประเทศไทย เนื่องจาก ประเทศจีนดำเนินนโยบายโควิดเป็นศูนย์ทำให้นักท่องเที่ยวชาวจีน ไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศได้เนื่องจากมาตรการของรัฐบาลจีนที่ให้ผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศต้องกักตัวตั้งแต่ 14-21 วัน ทั้งค่าใช้จ่ายในการกักตัว ผู้เดินทางต้องรับผิดชอบเอง ค่าใช้จ่ายที่สูงและระยะเวลากักตัวที่นาน จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวชาวจีนไม่เดินทางมาท่องเที่ยวในไทย ทำให้เศรษฐกิจไทยไม่ฟื้นตัว
ประการที่ 2 การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน เป็นความเสี่ยงที่สำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย เนื่องจากการส่งออกสินค้าไทยยังพึ่งพาตลาดจีนสูงถึง 14% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด หรือคิดเป็น 6% ของ GDP และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนที่มีแนวโน้มช้าลงจาก สภาพคล่องทางการเงินในภาคธุรกิจ และวิกฤตในภาคอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในหลายรวมถึงการส่งออกสินค้าเกษตร สินค้าแปรรูป และสินค้าขั้นกลาง ที่ไทยส่งออกไปจีนในสัดส่วนสูง
ประการที่ 3 คือ เงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นถึงแม้เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นก็ตาม โดยอัตราเงินเฟ้อในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 พุ่งสู่ระดับสูงสุดในรอบกว่า 13 ปี และยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเนื่องจากวิกฤตราคาพลังงานที่ได้รับผลกระทบจากสงครามรัสเซียและยูเครน โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 5.28% เพิ่มขึ้นจาก 3.23% ในเดือนมกราคม โดยสาเหตุมาจากการปรับขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานเป็นสำคัญไม่ว่าจะเป็น ค่ากระแสไฟฟ้า แลน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศที่ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องกระทบค่าครองชีพ ต้นทุนสินค้าและบริการของไทย และยังมีผลต่อเนื่องไปยังค่าขนส่งและราคาสินค้าและบริการอื่น
ประการที่ 4 อัตราการว่างงาน ถึงแม้จะเริ่มมีการเปิดประเทศแล้ว แม้สถานการณ์การว่างงานในไตรมาสนี้จะมีแนวโน้มในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ยังต้องจับตามองปัญหาการว่างงานระยะยาว อีกทั้งอัตราการว่างงานที่ยังคงสูงกว่าสถานการณ์ในช่วงก่อนโควิดจึงส่งผลทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ช้า
อ้างอิง
โฆษณา