Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
econ.ag
•
ติดตาม
12 เม.ย. 2022 เวลา 13:05 • สุขภาพ
ตอนที่ 2
โอมิรอนทำเศรษฐกิจไทยรอดหรือร่วง ?
เศรษฐกิจไทยในปี 65 มีโอกาสจะฟื้นตัวหรือไม่?
เศรษฐกิจไทยปี 2565 ยังคงฟื้นตัวได้ เนื่องจาการแพร่ระบาดโควิดโอมิครอนไม่รุนแรงเท่ากับการแพร่ระบาดในช่วงก่อนหน้านี้ แต่เมื่อเทียบมูลค่าเศรษฐกิจไทยยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงก่อนการระบาดของโควิด เนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนจากการระบาดที่ยังคงอยู่ โดยคาดว่าการบริโภคของประชาชนจะค่อย ๆ ฟื้นตัวและคาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวราว 3.5% จากปีก่อนหน้า และมูลค่าของเศรษฐกิจจะกลับไปสู่ระดับเดิมก่อนโควิดภายในปี 2566
ด้านการส่งออก
ด้านการส่งออก จะยังถือเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทย เนื่องจากการส่งออกของไทยในปีที่ผ่านมาขยายตัวราว 15% และคาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องราว 10% ในปีนี้ โดยเฉพาะตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกา จีน ยุโรป และญี่ปุ่นที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวหลังการระบาดใหญ่ และที่ผ่านมาสินค้าส่งออกมากกว่า 3 ใน 4 มีการขยายตัวมากกว่าระดับก่อนโควิดแล้ว เช่น อาหารแปรรูป ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ ผลิตภัณฑ์ยาง ยานยนต์และชิ้นส่วน เป็นต้น
ด้านการลงทุน
ในปีนี้ยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเห็นสัญญาณมาจากการลงทุนของบริษัทต่างชาติ บริษัทไทยรวมถึงธุรกิจ sme ที่เริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ปีที่แล้ว อีกทั้งการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศยังได้อานิสงส์จากการย้ายฐานการผลิตจากประเทศจีนโดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ และการบริการคลาวด์ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลพวงจากสงครามการค้าและสงครามเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐฯ และจีน
ด้านภาคการท่องเที่ยว
ภาคการท่องเที่ยวอาจต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 2-3 ปีกว่าที่จะกลับมาเหมือนก่อนโควิด โดยคาดว่าปีนี้จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศราว 5 ล้านคน แม้ว่าจะมากกว่าปีที่แล้วแต่ยังคงอยู่ในต่ำกว่าก่อนโควิดที่เคยมีเกือบ 40 ล้านคนต่อปีเนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ยังคงอยู่ จึงเป็นอุปสรรคต่อการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ด้วยจำนวนเที่ยวบินที่ลดลงและข้อกำหนดในการเดินทางจำนวนมาก ทำให้การเดินทางระหว่างประเทศมีความยุ่งยากและมีราคาแพง อีกทั้งนโยบายโควิดเป็นศูนย์ (Zero-Covid policy) ของรัฐบาลจีนที่เข้มงวดอย่างมาก ทำให้นักท่องเที่ยวชาวจีนซึ่งคิดเป็นหนึ่งในสามของนักท่องเที่ยวต่างชาติยังไม่สามารถเดินทางมาประเทศไทยได้อย่างอิสระ โดยคาดว่านักท่องเที่ยวจีนจะเริ่มเดินทางมาท่องเที่ยวได้ในช่วงปลายปีนี้
ภาคธุรกิจ
ธุรกิจหลายธุรกิจยังไม่ฟื้นตัวสู่ระดับก่อนโควิด โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว แต่ยังมีธุรกิจจำนวนมากที่สามารถเติบโตได้ เนื่องจากการส่งออกที่เริ่มฟื้นตัว เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ การผลิตอาหาร การขนส่งและคลังสินค้า
รวมถึงภาคธุรกิจเริ่มมีการปรับตัวสู่ไปสุ่ยุคดิจิทัลไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ บริการเดลิเวอรี่ ธุรกิจไอที การแพทย์ทางไกล และแพลตฟอร์มสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นต้น
6. ความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยที่ทำให้สามารถฟื้นตัวได้ช้าลง
1) การระบาดของโควิดสายพันธุ์
โอมิครอน ที่สร้างความไม่แน่นอนต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย เนื่องจากการแพร่ระบาดเป็นจำนวนมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีผู้ติดเชื้อสูงในทุกประเทศ ถึงแม้อาการจะไม่รุนแรงเมื่อเทียบกับการแพรร่ระบาดก่อนหน้า แต่ถ้าหากมีการติดเป็นจำนวนมากในธุรกิจไม่ว่าจะเป็นในธุรกิจขนาดเล็กจนไปถึงในโรงงานก็ตาม อาจส่งผลทำให้ธุรกิจต้องหยุดชะงัก จากการที่แรงงานต้องกักตัว
2) สงครามการค้าและสงครามเทคโนโลยี ระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่กลายเป็นข้อจำกัดของการค้าโลก ซึ่งส่งผลให้เกิดการหยุดชะงักในห่วงโซ่อุปทานการผลิต
3) สงครามระหว่างยูเครนและรัสเซีย
เป็นที่น่าจับตามองเนื่องจากสงครามนี้ได้ส่งผลกระทบต่อทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน โดยสงครามนี้ส่งผลทำให้ราคาพลังงานสูงขึ้นในทุกสัปดาห์ ไม่ว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติ หรือน้ำมัน เนื่องจากประเทศรัสเซียเป็นผู้ส่งก๊าซธรรมชาติอันดับ 1 ของโลก และเป็นผู้ส่งออกน้ำมันอันดับ 2 ของโลก เมื่อเกิดสงครามทำให้รัสเซียไม่ส่งออกก๊าซธรรมชาติ และ น้ำมัน ออกนอกประเทศจึงส่งผลกระทบเป็นอย่างมาทำให้สินค้าต่างๆราคาสูงขึ้น จากการที่ต้นทุนอย่างน้ำมันสูงขึ้น ซึ่งเรียกได้ว่ากระทบเป็นวงกว้าง อีกทั้งยังส่งผลทำให้ค่าไฟในประเทศไทยปรับตัวสูงขึ้นด้วย เนื่องจากราคาพลังงานที่สูงขึ้น ถ้าหากสงครามยังไม่จบเร็วๆนี้อาจส่งผลต่อประเทศไทยในระยะยาว โดยอาจกระทบต่อจีดีพีลดลง 0.5% และสิ่งที่น่ากังวลเพิ่มเติมคือผลกระทบจะผ่านมาทางเศรษฐกิจโลก ทั้งเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย
บทสรุปและข้อเสนอแนะ
การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนจะทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง และเศรษฐกิจไทยมีโอกาสรุ่งเนื่องจากการแพร่บาดในครั้งนี้ ไม่ได้รุนแรงเมื่อเทียบกับครั้งก่อน และรัฐบาลเริ่มมีมาตรการผ่อนคลายทางเศรษฐกิจที่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปิดประเทศให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยว ซึ่งเป็นผลดีต่อภาคบริการ ภาคการท่องเที่ยว และภาคธุรกิจเป็นอย่างมาก อีกทั้งประชาชนเริ่มหันกลับมาทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจและเข้าสู่การใช้ชีวิตปกติ อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้มากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆด้วย ไม่ว่าจะเป็นอัตราเงินเฟ้อ ราคาพลังงาน และการแพร่ระบาดโควิด-19 ถ้าหากมีการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ใหม่ที่มีความรุนแรงมากกว่าการแพร่ระบาดในปัจจุบัน อาจจะส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจให้แย่กว่าเดิม
ข้อเสนอแนะ รัฐบาลควรมีมาตรการรับมือที่ใหม่มากขึ้น ควรเตรียมความพร้อมทางด้านสาธารณสุขให้เข้มแข็งมากกว่านี้ อีกทั้งไม่ควรผลักภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าPCR รวมถึงรัฐบาลยังควรเน้นย้ำมาตรการรักษาระยะห่าง และ การใส่หน้ากากอนามัย ให้กับประชาชนอยู่สม่ำเสมอรวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ควรออกรูปแบบใหม่ ปรับให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น จะทำให้เศรษฐกิจเดินหน้าได้
อ้างอิง
https://www.krungsri.com/th/research/research-intelligence/omicron-scenario-impact-22
https://thestandard.co/why-open-the-city-and-the-economy-is-still-broken/
http://econ.nida.ac.th/2022/02/โอไมครอน-ณ-ก-พ-65-และเศรษฐกิ
https://www.bangkokbiznews.com/columnist/982464
https://www.prachachat.net/finance/news-863265
https://www.prachachat.net/finance/news-792095
https://marketeeronline.co/archives/238323
โควิด
เศรษฐกิจ
บันทึก
2
3
2
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย